สื่อท็อปในอัฟกานิสถาน – วันที่ 4 ก.ย. เอเอฟพี รายงานสถานการณ์สื่อในอัฟกานิสถาน ผ่านสถานีโทรทัศน์โตโล เครือข่ายทีวีเสรีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่ยังออกอากาศท่ามกลางความหวาดกลัวกลุ่มตาลิบัน

In this picture taken on September 3, 2021, a man sits in a restaurant with a television showing a live broadcast of the Tolo News channel, in Kabul. – As Taliban fighters entered Kabul on the evening of August 15, executives at Afghanistan’s biggest independent TV network had a tough decision to make: stay on-air or go dark. (Photo by WAKIL KOHSAR / AFP) / To go with ‘Afghanistan-conflict-media’, FOCUS

เป็นไปตามการตัดสินใจของคณะผู้บริหารของโตโล หลังกลุ่มตาลิบันเข้ากรุงคาบูลเมื่อเย็นวันที่ 15 ส.ค. แต่สถานีโทรทัศน์แห่งนี้กำลังเผชิญอนาคตไม่แน่นอน เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์และวิทยุอื่นๆ ภายใต้ระบอบตาลิบัน 2.0 ที่กลับมาปกครอง และส่งสัญญาณแห่งความหวาดกลัวไปถึงสื่อ

เนื่องจากอัฟกานิสถานภายใต้ระบอบตาลิบันยุคแรกระหว่างปี 2539-2544 ห้ามรายการโทรทัศน์และรายการบันเทิงส่วนใหญ่ และไม่มีสื่อเป็นพื้นที่พูด อีกทั้งตลอด 20 ปีที่ก่อความไม่สงบหลังจากนั้น นักรบติดอาวุธสังหารและข่มขู่นักข่าวไปหลายคน

(FILES) In this file photo taken on September 11, 2018 In this photograph taken on September 11, 2018 Afghan presenter Zarmina Mohammadi for Tolo News takes part in a live broadcast at Tolo TV station in Kabul. – As Taliban fighters entered Kabul on the evening of August 15, executives at Afghanistan’s biggest independent TV network had a tough decision to make: stay on-air or go dark. (Photo by WAKIL KOHSAR / AFP) / To go with ‘Afghanistan-conflict-media’, FOCUS

นายล๊อตฟุลเลาะห์ นาจาฟีซาดา ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์โตโล ให้สัมภาษณ์เอเอฟพีทางโทรศัพท์ว่า การเข้ายึดของกลุ่มตาลิบันทำให้สื่อตกที่นั่งลำบากอย่างยิ่งที่จะทำงานของตัวเองต่อไปหรือไม่ “ในฐานะสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เราไม่มีเวลาที่จะหยุดพักและทบทวนแม้แต่ชั่วโมงเดียว”

ส่วนสาเหตุที่โตโลออกอากาศต่อไป เพราะมีหน้าที่นำเสนอข่าว อีกทั้ง เพราแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะเจรจากับกลุ่มตาลิบันเพื่อขอกลับมาออกอากาศใหม่หากสถานีเลือกจอดำไป

 

แม้ว่าผู้นำกลุ่มตาลิบันจะขอให้สื่อในอัฟกานิสถานทำหน้าที่ตามปกติ อีกทั้ง ปรากฏภาพที่เจ้าหน้าที่ตาลิบันให้สัมภาษณ์กับผู้ประกาศข่าวหญิงในรายการข่าว โตโล นิวส์ เพื่อทำให้คนเชื่อว่า กลุ่มตาลิบานจะนุ่มนวลกว่าครั้งที่ผ่านมา แต่ชาวอัฟกันหลายคนรวมถึงสื่อเองกลับไม่เชื่อ

นายซาอาด โมฮ์เซนี ซีโอเอแห่งโมบี กรุ๊ป (Moby Group) บริษัทแม่ของสถานีโทรทัศน์โตโล แจ้งต่อคณะกรรมการคุ้มครองนักข่าว หรือซีพีเจ (CPJ) ถึงความรู้สึกกลัวและประหม่าว่า “ทุกคนต่างนอนไม่หลับ แต่สิ่งที่ผู้ชมกำลังประสบนั้นไม่ได้แตกต่างกันมากนัก”

 

“ครอบครัวฉันจะถูกคุกคาม”

ชัยชนะของกลุ่มตาลิบันทำให้สื่อเสรีของอัฟกานิสถานอยู่ในขั้นวิกฤต องค์นักข่าวไร้พรมแดน หรืออาร์แอสแอฟ (RSF) ระบุว่า สื่อเอกชนราว 100 แห่งต้องปิดตัว

สำนักข่าวปัจฮ์วอก สื่ออิสระอัฟกานิสถานอีกแห่ง กล่าวว่า สื่อหลายแห่งปิดตัวเนื่องจากวิกฤตทางการเงินจากการยึดอำนาจของกลุ่มตาลิบัน

อีกทั้ง เป็นการบีบให้สตรีหลายคนต้องออกจากอุตสาหกรรมสื่อด้วย ตามที่อาร์แอสแอฟระบุว่า เหลือนักข่าวหญิงเพียง 76 คน ในกรุงคาบูล เมืองหลวง จากเดิมเมื่อปีที่แล้วที่มีมากถึง 700 คน ส่วนนอกเมืองหลวง นักข่าวหญิงส่วนใหญ่ถูกบีบเลิกทำงานด้วย

 

 

นอกจากนี้ มีรายงานการข่มขู่ การล่วงละเมิด และความรุนแรงนักข่าวด้วย เช่น เหตุการณ์ช็อกที่กลุ่มนักรบตาลิบันบุกห้องส่งสถานีโทรทัศน์เอกชน ยืนเรียงหน้ากระดานถือปืนไรเฟิลด้านหลังโต๊ะผู้ประกาศข่าว ขณะที่ผู้บัญชาการกลุ่มนักรบอ่านแถลงการณ์ขอให้ผู้ชมอย่าหวาดกลัว

ภัยคุกคามเช่นนี้ทำให้นักข่าวอัฟกันหลายคนหลบหนีออกนอกประเทศ รวมถึง น.ส.เบเฮชตา อาร์กันด์ ผู้ประกาศข่าวหญิงแห่งรายการข่าวโตโล นิวส์ ที่สัมภาษณ์สดตัวต่อตัวกับตัวแทนกลุ่มตาลิบัน

“เป็นเพราะดิฉัน ครอบครัวดิฉันจะถูกกลุ่มตาลิบันคุกคาม” น.ส.อาร์กันด์แจ้งต่อนักการทูตในประเทศกาตาร์เมื่อวันพุธที่ 1 ก.ย.

 

ปฏิวัติวัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้เกิดขึ้นหลังสื่อเสรีอัฟกานิสถานเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ระบอบการปกครองของตาลิบันยุคแรกถูกโค่นล้มในปี 2544 โทรทัศน์หลายสิบช่อง และวิทยุมากกว่า 160 สถานี เกิดขึ้นมาด้วยความช่วยเหลือจากชาติตะวันตก และการลงทุนของเอกชน

(FILES) In this file photo taken on September 25, 2019 Afghan presidential candidates Abdullah Abdullah (L) and Gulbuddin Hekmatyar take part in a presidential debate at Tolo News TV station in Kabul. – As Taliban fighters entered Kabul on the evening of August 15, executives at Afghanistan’s biggest independent TV network had a tough decision to make: stay on-air or go dark. (Photo by WAKIL KOHSAR / AFP) / To go with ‘Afghanistan-conflict-media’, FOCUS

รวมถึงสถานีโทรทัศน์โตโล และรายการข่าวโตโล นิวส์ ของโมบี กรุ๊ป ช่องที่มีผู้ชมมากที่สุดในอัฟกานิสถาน กลายเป็นตัวตนของการปฏิวัติวัฒนธรรม เนื่องจากนำเสนอรายการที่เกิดขึ้นไม่ได้ภายใต้ร่มเงาของกลุ่มตาลิบัน ตั้งแต่การแข่งขันร้องเพลงมิวสิกวิดีโอสไตล์อเมริกันไอดอล ละครน้ำเน่า และแม้แต่รายการดีเบตเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรกของอัฟกานิสถาน

ที่สำคัญ สถานีโทรทัศน์โตโล และเครือข่ายสื่ออื่นๆ ของอัฟกานิสถาน ยังเปิดพื้นที่และโอกาสแก่ผู้หญิงที่ถูกกลุ่มตาลิบันกีดกันไม่ให้ใช้ชีวิตนอกบ้าน เรียนหนังสือ และทำงานหาเลี้ยงชีพ แต่ตอนนี้เกรงจะย้อนกลับไปเหมือนเดิม หลังฝ่ายบันเทิงของสถานีโทรทัศน์โตโลถอดคอนเทนต์บางส่วนออกไป

 

สมองไหล

จนถึงตอนนี้กลุ่มตาลิบันยังไม่ได้ออกคำสั่งอย่างเป็นทางการใดๆ ต่อสื่อ แต่สื่อส่วนใหญ่อาศัยเซ็นเซอร์ตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้กลุ่มตาลิบันไม่พอใจ และบางส่วนยังวางแผนในกรณีฉุกเฉินด้วย

เช่น โมบี กรุ๊ป กำลังพิจารณาทางเลือกทำงานจากต่างประเทศ หากมีการปราบปรามสถานีโทรทัศน์ โตโล โดยนายโมฮ์เซนี ซีอีโอโมบี กรุ๊ป กล่าวว่า คำสั่งต่างๆ เช่น ห้ามผู้หญิงเป็นนักข่าว หรือเซ็นเซอร์สื่อ เป็นการ “ล้ำเส้น”

ขณะเดียวกัน โมบี กรุ๊ป อยู่ระหว่างการจ้างงานเพื่อพยายามทดแทนพนักงานหลายสิบคนที่ลาออกไปหลังกลุ่มตาลิบันเข้ายึดกรุงคาบูล

“น่าเศร้าที่สูญเสียผู้มีความสามารถมากมายไปเช่นนี้ และเห็นคนรุ่นใหม่ที่เราทุ่มเทซึ่งสามารถทำอะไรมากมายได้เพื่อประเทศชาติจำใจต้องลาออก ปรากฏการณ์สมองไหลเช่นนี้จะทำให้เราต้องใช้เวลาอีกสองทศวรรษเพื่อสร้างผู้มีความสามารถแบบนั้นขึ้นมาอีก” นายโมฮ์เซนี ซีอีโอโมบี กรุ๊ป กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

พิธีกรข่าวยิ้มเจื่อน บอกปชช. ‘ไม่ต้องกลัวตาลีบัน’ ขณะนักรบหน้าดุถือปืนยืนคุม

ผู้ประกาศข่าวสาวอัฟกัน สัมภาษณ์ตาลิบันออกจอแล้ว หนีดีกว่า

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน