‘ทูตไทย’ ร่วมมื้ออาหาร ‘ญาญ่า’ – นอร์เวย์ชู ‘นางเอกสาวลูกครึ่ง’ โปรโมตแซลมอนนำเข้าทำเมนูอาหารไทย

เพจเฟซบุ๊ก สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์โพสต์ข้อความระบุว่า นางสาววิมลพัชระ รักษาเกียรติ เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ได้รับเชิญจากสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ หรือ Norwegian Seafood Council-NSC ให้เข้าร่วมรับประทานอาหารค่ำกับ นายออสเบียน วอริก เรอไทต์ (Asbjørn Warvik Rortveit) ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ และนางสาวอุรัสยา เสปอร์บันต์หรือญาญ่า นักแสดงสาวเชื้อสายไทย-นอร์เวย์ที่ร้าน Sjomagasinet

นางสาวอุรัสยา เสปอร์บันต์หรือญาญ่าและนางสาววิมลพัชระ รักษาเกียรติ เอกอัครราชทูตไทยประจำนอร์เวย์

นอกจากนี้มีนางสาวแคทลียา เสปอบันต์ หรือแคท พี่สาวของญาญ่า นางสาวทอแสง ช่วงโชติ ที่ปรึกษาจากบริษัทเฟลชแมน ฮิลลาร์ด นางสาวพจมาส แสงเทียน ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงออสโล และเจ้าหน้าที่ของสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์เข้าร่วมด้วย เมื่อ 27 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา

IG Urassayas

IG Urassayas

นายเรอไทต์กล่าวว่า เนื่องจากอาหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะซูชิและซาชิมิ เป็นที่นิยมในประเทศไทย การบริโภคแซลมอนสดและฟยอร์ดเทราต์จึงมีปริมาณสูง อย่างไรก็ตาม สภาอุตสาหกรรมอาหารนอร์เวย์ ประสงค์จะส่งเสริมการนำอาหารทะเลจากนอร์เวย์ไปใช้ในการปรุงอาหารไทย

ระหว่างการเยือนญาญ่าได้ร่วมประกอบอาหารไทยหลายเมนูกับเชฟ Terje Ommundsen ชาวนอร์เวย์ เจ้าของร้านอาหาร Plah และ Ahaan โดยใช้วัตถุดิบหลักคือ อาหารทะเลจากนอร์เวย์ด้วย








Advertisement

Royal Thai Embassy Oslo

นายเรอไทต์กล่าวขอบคุณเอกอัครราชทูตที่ได้มาร่วมรับประทานอาหารและเชิญเอกอัครราชทูตเยือนเมือง Bergen เพื่อชมฟาร์มปลาแซลมอนและเยี่ยมชมฟาร์มปลาแซลมอนและสำนักงานใหญ่ของสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ที่เมือง Tromso เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาแซลมอนของนอร์เวย์ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ยังกล่าวด้วยว่า เมื่อการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) แล้วเสร็จ น่าจะสามารถส่งเสริมการนำเข้าอาหารทะเลจากนอร์เวย์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากอัตราภาษีโดยเฉพาะของอาหารทะเลแปรรูปจะปรับลดลง

IG Urassayas

ปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าอาหารทะเลจากนอร์เวย์มากเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รองจากจีนและเกาหลีใต้โดยในระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2565

นอร์เวย์ส่งออกแชลมอนสดและฟยอร์ดเทราต์ ไปยังประเทศไทยจำนวน 8385 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.8 พันล้านบาท นับเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 และเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 81 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สภาอุตสาหกรรมอาหารนอร์เวย์เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและประมง รับผิดชอบการส่งเสริมการส่งออกอาหารทะเลนอร์เวย์ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก

มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Tromso และมีสำนักงานภูมิภาคตั้งอยู่ใน 13 ประเทศทั่วโลก ภายใต้สถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ในประเทศต่างๆ ซึ่งในปี 2562 สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ย้ายจากสิงคโปร์มาตั้งในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยได้กลายเป็นผู้นำเข้าอาหารทะเลจากนอร์เวย์ 29,000 ตัน รวมถึงปลาแซลมอนมากกว่า 10,000 ตัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน