เผย แสงวาบรังสีเอกซ์ มีต้นกำเนิดจาก แมกนีตาร์” ในกาแล็กซีทางช้างเผือก

เผย “แสงวาบรังสีเอกซ์”ซินหัว รายงานว่า สถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน เปิดเผยว่าคณะนักวิทยาศาสตร์จตรวจพบ “แสงวาบรังสีเอกซ์” ที่เกี่ยวข้องกับ “สัญญาณวิทยุปริศนา” (เอฟอาร์บี) และยืนยันว่าแสงวาบดังกล่าวมีต้นกำเนิดจาก “แมกนีตาร์” ดวงหนึ่งในกาแล็กซีทางช้างเผือก

การค้นพบเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 15 ต.ค. ด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทั่วท้องฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงและคลื่นความโน้มถ่วง (GECAM)

เผย “แสงวาบรังสีเอกซ์”

ภาพประกอบ: Chinese scientists have detected an X-ray burst associated with a fast radio burst (FRB) and confirmed that it originated from a magnetar in the Milky Way, according to the Institute of High Energy Physics (IHEP), Chinese Academy of Sciences. (Photo by Ren Hui/Xinhua)

นายสง เส้าหลิน ผู้ตรวจการหลักของกล้องโทรทรรศน์ และนักวิจัยของสถาบันฟิสิกส์ ชี้ว่านับเป็นครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์สามารถตรวจจับแสงวาบพลังงานสูงที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณวิทยุปริศนา การค้นพบครั้งนี้มอบข้อมูลที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการเพิ่มความเข้าใจกลไกการแผ่รังสีของสัญญาณวิทยุปริศนาและกลไกการระเบิดของดาวแมกนีตาร์

นายสงระบุอีกว่าแสงวาบรังสีเอกซ์ทั้งสองครั้งข้างต้นกำเนิดจากแมกนีตาร์ดวงเดียวกันที่มีชื่อรหัส เอสจีอาร์ เจ1935+2154 (SGR J1935+2154) บ่งชี้ว่าดาวแมกนีตาร์สามารถปล่อยสัญญาณวิทยุปริศนาอันยากจะเข้าใจ โดยการค้นพบนี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการไขความลึกลับของต้นกำเนิดสัญญาณวิทยุปริศนา

เผย “แสงวาบรังสีเอกซ์”

ภาพประกอบ: Scientists monitor the operation of China’s Hard X-ray Modulation Telescope at the Institute of High Energy Physics under the Chinese Academy of Sciences in Beijing, capital of China. The discovery was made on Saturday using the Gravitational Wave High-energy Electromagnetic Counterpart All-sky Monitor (GECAM) telescope. (CAI YANG / XINHUA)

สัญญาณวิทยุปริศนาคือการปะทุของคลื่นวิทยุที่สว่างที่สุดในจักรวาล โดยคลื่นเหล่านี้สั้นมากและใช้เวลาเพียงหลายมิลลิวินาทีเท่านั้น แต่ยังไม่มีคำอธิบายที่สมเหตุสมผลสำหรับต้นกำเนิดและกลไกการแผ่รังสีของคลื่นวิทยุปริศนานี้ ส่วนแมกนีตาร์เป็นดาวนิวตรอนที่มีสนามแม่เหล็กแรงสูงพิเศษและสามารถสร้างแสงวาบรังสีเอกซ์ที่รุนแรงได้








Advertisement

ทั้งนี้ ภารกิจกล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทั่วท้องฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงและคลื่นความโน้มถ่วงริเริ่มในเดือนธ.ค.2563 โดยมุ่งเน้นไปที่การตรวจจับคู่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคลื่นโน้มถ่วง การแผ่รังสีพลังงานสูงจากสัญญาณวิทยุปริศนา แสงวาบรังสีแกมมาต่างๆ และแสงวาบจากดาวแมกนีตาร์

เผย “แสงวาบรังสีเอกซ์”

Eye on the sky: the Gravitational wave high-energy Electromagnetic Counterpart All-sky Monitor will study the gamma rays that emerge when neutron stars merge. FRBs are the brightest radio bursts known in the universe. They are called “fast” because these blips are very short, only several milliseconds in duration. But there is no reasonable explanation for their origin and radiation mechanism yet. (Courtesy: NSSC)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน