ซีทีสแกน กับ รังสีเอกซ์ – วันที่ 25 พ.ย. ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า คณะนักวิทยาศาสตร์บุกเบิกเทคนิคใหม่ช่วยไขเบาะแสเกี่ยวกับมัมมี่อียิปต์ยุคโรมัน อายุเก่าแก่ 1,900 ปี ที่มีการค้นพบในเขตโบราณสถานฮาวาราของอียิปต์

สจ๊วต สต๊อก

ด้วยการใช้งานร่วมกันของเทคโนโลยี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีที (computed tomography: CT) และ การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction) จึงไม่จำเป็นต้องต้องเปิดออกและแตะต้องโบราณวัตถุแต่อย่างใด แตกต่างจาก การใช้รังสีเอกซ์ถ่ายภาพโดยไม่ล้วงล้ำเข้าสู่มัมมี่ เหมือนที่ผ่านมาเกือบศตวรรษ

วารสารวิทยาศาสตร์ราชสมาคม (Journal of the Royal Society) ของอังกฤษตีพิมพ์การค้นพบดังกล่าวเมื่อวันอังคารที่ 24 พ.ย. คณะนักวิจัยอเมริกันจาก มหาวิทยานอร์ทเวสเทิร์น ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติอาร์กอนน์ และ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเมโทรโพลิแทนเดนเวอร์ อธิบายการใช้งานร่วมกันระหว่างซีทีสแกนและการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์

 

สจ๊วต สต๊อก นักวิจัยจากโรงเรียนการแพทย์ไฟน์เบิร์ก มหาวิทยานอร์ทเวสเทิร์น ผู้นำการเขียนการศึกษาดังกล่าว กล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญใช้ลำแสงรังสีเอกซ์ ที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นมนุษย์ ส่องเข้าไปในมัมมี่ ที่สันนิษฐานน่าจะเป็นเด็กหญิงวัย 5 ขวบ เพื่อระบุวัตถุภายในห่อผ้าของโบราณวัตถุ และใช้ซีทีสแกนสร้างแผนผังส่วนประกอบของมัมมี่

รังสีเอกซ์ช่วยให้คณะนักวิจัยเห็นสิ่งที่เป็นเหมือน “ลายนิ้วมือ” ที่มีลักษณะเฉพาะของวัตถุโบราณ และพบสิ่งน่าทึ่งกว่าด้วย นั่นคือชิ้นส่วนขนาดเล็กของ แคลเซียมคาร์บอเนตบริสุทธิ์มากๆ ในมัมมี่

สต๊อกกล่าวว่า ชิ้นส่วนดังกล่าวมีรูปร่างเหมาะสมกับ แมลงปีกแข็ง สัญลักษณ์แห่งการเกิดใหม่ ซึ่งตามประเพณีจะบรรจุในรอยบากช่องท้องศพระหว่างการทำมัมมี่ และยังช่วยไขเบาะแสเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานะสังคมของมัมมี่ ไม่ใช่เฉพาะคนในราชวงศ์ แต่เป็นคนระดับบนของสังคมด้วย ที่จะมีการประดับแร่ธาตุบริสุทธิ์เช่นนี้

การศึกษามัมมี่ดังกล่าวพบด้วยว่า เด็กหญิงไม่ได้รับจบชีวิตด้วยความรุนแรง เนื่องจากไร้ร่องรอยการบาดเจ็บที่โครงกระดูก แต่ยังไม่รู้สาเหตุการตายที่แท้จริงเช่นกัน

 

ภาพถ่ายของมัมมี่ยังไขปริศนาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เป็นเจ้าของมัมมี่ ด้วยทรงผมบ่งบอกอายุของมัมมี่ระหว่าง 150-200 คริสตกาล

มัมมี่ที่ปรากฏในภาพถ่ายมีรูปวาดเสมือนจริงของศพในห่อผ้ามัมมี่และจัดวางตรงใบหน้าของบุคคลนั้นๆ

สจ๊วต สต๊อก

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเทคนิคนี้สามารถใช้ศึกษาเกี่ยวกับมัมมี่เพิ่มเติม ซึ่งให้เบาะแสเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุที่ฝังอยู่ข้างมัมมี่โบราณ โดยไม่จำเป็นต้องรบกวนและยุ่งกับศพ

“ย้อนกลับไปในสมัยวิกตอเรีย นักวิจัยจะแยกมัมมี่ออกจากกัน เราไม่ต้องทำแบบนั้นอีกแล้ว” สต๊อกกล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

นักโบราณคดีพบอีก “มัมมี่” 59 โลง อียิปต์จัดแสดง อายุเก่าแก่ 2,500 ปี (khaosod.co.th)

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน