เทคโนโลยีช่วย!ซินหัว รายงานว่า เทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยให้นักโบราณคดีจีนประกอบร่าง เครื่องสัมฤทธิ์โบราณ เก่าแก่ที่พบในหลุมบูชายัญ 8 แห่งที่ ซากโบราณซานซิงตุย ได้กลับคืนสู่หน้าตาที่เคยเป็นเมื่อราว 3,000 ปีก่อน

โดยสถาบันวิจัยทางโบราณคดีและโบราณวัตถุมณฑลเสฉวนเปิดเผยเมื่อที่ 10 มิ.ย. ว่ารูปปั้นฉบับสมบูรณ์ของเครื่องสัมฤทธิ์โบราณขนาดใหญ่ 2 ชิ้นได้สร้างความตื่นตะลึงให้เหล่านักโบราณคดี

นายถัง เฟย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย ให้ความเห็นไว้ว่า หน้าตาดั้งเดิมของเครื่องสัมฤทธิ์เหล่านี้แปลกประหลาดและน่าตกตะลึกมากกว่าที่เขาคาดไว้ “มันเปี่ยมด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์”

เทคโนโลยีช่วย!

เทคโนโลยีช่วย! – Modern technology has helped Chinese archaeologists assemble ancient bronze figures found in eight sacrificial pits at the Sanxingdui Ruins. To return to its appearance about 3,000 years ago, the Sichuan Provincial Research Institute of Archeology and Antiquities revealed. (Xinhua)

เครื่องสัมฤทธิ์ทั้งสองชิ้นประกอบด้วยรูปปั้นสัมฤทธิ์ชายคุกเข่านั่งอยู่บนหลังสัตว์และเทิน “จุน” หรือภาชนะทรงคล้ายคนโทไว้บนศีรษะ ส่วนอีกชิ้นคือรูปปั้นเทวรูปเศียรคนเท้านกเทินจุนในท่ายกลำตัวขึ้นไปด้านหลังและเกาะอยู่บน “เหลย” หรือภาชนะบรรจุสุราสมัยโบราณ ซึ่งทั้งสองชิ้นล้วนประกอบขึ้นจากเศษซากที่กระจัดกระจายอยู่ในหลุมบูชายัญหลายหลุม

เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยของโครงสร้างวัตถุ เจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถประกอบชิ้นส่วนโบราณวัตถุเหล่านี้เข้าด้วยกันได้จริง จึงต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การสแกน 3 มิติและแบบจำลอง 3 มิติ ในการคืนชีพหน้าตาที่ค่อนข้างสมบูรณ์ของสมบัติชาติเหล่านี้จนสำเร็จ

รูปปั้นสัมฤทธิ์ชายคุกเข่านั่งบนหลังสัตว์และเทินจุนนั้น สูง 1.589 เมตร แบ่งเป็นส่วนบน กลาง และล่าง ซึ่งเชื่อว่าสัตว์ที่เขาขี่อยู่นั้นเป็น “สัตว์ศักดิ์สิทธิ์” ข้อมูลระบุว่า ส่วนปากของจุนสัมฤทธิ์ถูกพบจากหลุมบูชายัญหมายเลข 2 รูปปั้นคนนั่งคุกเข่าเทินจุนพบจากหลุมบูชายัญหมายเลข 3

ขณะที่สัตว์ศักดิ์สิทธิ์มาจากหลุมบูชายัญหมายเลข 8 อยู่ในท่ายืดอกเชิดหัว เท้าทั้งสี่กำยำแข็งแรงดูน่าเกรงขาม บนหัวมีรูปปั้นคนสัมฤทธิ์ในอาภรณ์ที่สวยงามยืนอยู่ ส่วนรูปสัมฤทธิ์คนคุกเข่าตรงกลางนั้นมีลักษณะคิ้วหนาตาโต ใส่มงกุฎ ท่อนบนสวมเสื้อแขนยาวผ่ากลางลวดลายเมฆ ท่อนล่างสวมกระโปรงสั้นลายดวงตา สองแขนยกขึ้นไปด้านหน้าในระดับอก ส่วนบนเป็นจุนสามท่อนที่ถูกประดับตกแต่งด้วยรูปปั้นมังกรและสัตว์แบบลอยตัว








Advertisement

Tang Fei, director of the Archaeological Research Institute said that the two bronzes consisted of a bronze statue of a kneeling man sitting on the animal’s back and carrying a “jun”, a vessel shaped like a master, on his head. (Xinhua)

นายถัง เฟย ยังระบุคาดว่าเครื่องสัมฤทธิ์กลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงฉากทัศน์ของการบูชายัญในอดีตกาล รูปปั้นคนคุกเข่าบนหลังสัตว์ศักดิ์สิทธิ์น่าจะมีสถานะเป็นหมอผี เพราะการคุกเข่าเป็นท่าทางที่ใช้แสดงความเคารพอย่างสูงต่อเทพเจ้าขณะประกอบพิธีกรรมในสมัยโบราณ

ส่วนชายที่ยืนอยู่บนส่วนหัวของสัตว์อาจเป็นสัญลักษณ์ของราชาแห่งอาณาจักรสู่โบราณ ขณะจุนที่ถูกเทินไว้บนหัวของคนคุกเข่ามีเอกลัษณ์ของวัฒนธรรมจีนในพื้นที่ราบลุ่มตอนกลาง และสันนิษฐานว่าด้านในจุนน่าจะบรรจุเครื่องบูชา เช่น เปลือกหอย หยก และสุราไว้

ด้านเทวรูปเศียรคนเท้านกเทินจุนในท่ายกลำตัวขึ้นไปด้านหลังนั้นสูง 2.53 เมตร ประกอบด้วยสองส่วนหลักคือเหลยและเทพเจ้า เทวรูปหัวคนเท้านก ถูกพบจากหลุมบูชายัญหมายเลข 2 ส่วนฝาปิดจุนที่มีมังกรสัมฤทธิ์ปีนป่ายอยู่นั้นถูกพบจากหลุมหมายเลข 3

ขณะที่ส่วนลำตัวที่โค้งงอของเทวรูปในท่าเทินจุนและเกาะอยู่บนเหลย รูปปั้นสัมฤทธิ์คนยืนถือมังกร และภาชนะสัมฤทธิ์ที่มีรูปร่างคล้ายคฑานั้น ถูกพบจากหลุมหมายเลข 8

เทวรูปในท่ากลับหัวกลับหางข้างต้น มีดวงตาปูดโปน มีเขี้ยว พระเศียรเทินจุน พระหัตถ์วางบนเหลย พระบาทมีลักษณะเป็นกรงเล็บนกเหยียบอยู่บนนกอีกที ลำตัวโค้งงอไปด้านหลัง พระเพลากำยำแข็งแรง เห็นได้ชัดว่าเป็นเทพมิใช่มนุษย์

เทคโนโลยีช่วย!

เทคโนโลยีช่วย! – The bronze statue of a kneeling man sitting on the back of an animal and Tenjun is 1.589 meters high, divided into the upper, middle and lower parts. “Sacred animals” information states that Chun Bronze’s mouth was found from Sacrificial Pit No. 2. The kneeling statue of Theanjun was found from Sacrificial Pit No. 3, while the sacred animal was from Sacrificial Pit No. 8. (Xinhua)

ส่วนประกอบหลายชิ้นของเครื่องสัมฤทธิ์ทั้งสองนี้หล่อขึ้นแยกกัน ทั้งมีขนาดใหญ่และมีรูปทรงซับซ้อน คาดว่าเป็นรูปแบบศิลปะเครื่องบูชายัญของชาวสู่โบราณเมื่อ 3,000 ปีก่อน

สะท้อนถึงฝีมือการทำเครื่องสัมฤทธิ์ที่วิจิตรงดงามของบรรพบุรุษชาวซานซิงตุย ตลอดจนอัตลักษณ์ของอารยธรรมสู่โบราณ ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนตอนกลาง ฉายชัดว่าอารยธรรมจีนนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนาน กว้างขวาง ลุ่มลึก มีลักษณะของพหุวัฒนธรรมอันมีเอกภาพ

การประกอบชิ้นส่วนโบราณวัตถุที่มาจากคนละหลุมเหล่านี้ พิสูจน์ให้เห็นว่าหลุมบูชายัญหลายแห่งในพื้นที่ดังกล่าวมีอายุอยู่ในยุคสมัยใกล้เคียงกัน และช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจเรื่องยุคสมัยและรูปแบบของการบูชายัญในทางโบราณคดี ขณะเดียวกันการอนุรักษ์และฟื้นฟูโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบเหล่านี้ถือเป็นอีกภารกิจที่สำคัญมากในปัจจุบัน

ทั้งนี้ รูปปั้นสัมฤทธิ์ชายคุกเข่านั่งบนหลังสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ได้รับการยืนยันเบื้องต้นแล้วว่าเป็นหน้าตาฉบับสมบูรณ์ ขณะที่รูปปั้นเทวรูปเศียรคนเท้านกเทินจุนอาจมีส่วนประกอบอื่นๆ เพิ่มเติมอีก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน