พบฟอสซิล “กานดิไททัน คาโวคอดาตัส”สเตรตส์ไทมส์ รายงานว่า นักบรรพชีวินวิทยาในจีนค้นพบไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม “ไททันโนซอรัส” ที่ไม่เคยเป็นที่รู้จักมาก่อนในเอเชียตะวันออก

พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาเจียงซีประกาศเมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมาว่าพบฟอสซิลไดโนเสาร์ “กานดิไททัน คาโวคอดาตัส” (Gandititan Cavocaudatus) ไดโนเสาร์ชนิดใหม่ มีอายุประมาณ 90 ล้านปีในพื้นที่ก่อสร้างเขตก้านเซียน เมืองก้านโจว มณฑลเจียงซี ทางตะวันออกของจีน เมื่อเดือนมิ.ย.2564

พบฟอสซิล “กานดิไททัน คาโวคอดาตัส” ไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่-เก่าแก่ 90 ล้านปีก่อน!

The fossils of Gandititan cavocaudatus were found at a construction site in the eastern province of Jiangxi in June 2021. Palaeontologists in China have discovered a new species of dinosaur, which suggests the existence of a previously unknown group of titanosaurs in eastern Asia. ILLUSTRATION: CHINA DAILY/ASIA NEWS NETWORK

นายฮาน เฟิงลู่ หัวหน้าทีมโครงการจากมหาวิทยาลัยภูมิศาสตร์แห่งจีนในนครอู่ฮั่นซึ่งทำงานร่วมกับพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาเจียงซี สถาบันสำรวจธรณีวิทยาเจียงซีในการฟื้นฟูและวิจัยฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ กล่าวว่าไดโนเสาร์สปีชีส์นี้คือ “ไททาโนซอเรียน ซอโรพอด” (Titanosaurian Sauropod)

ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลที่พบประกอบด้วยส่วนกระดูกสันหลังคอ 6 ชิ้น สันหลังส่วนบน 6 ชิ้นและชิ้นส่วนกระเบนเหน็บในสภาพสมบูรณ์เชื่อมกับส่วนกระดูกหาง 17 ชิ้น รวมกับ ส่วนของกระดูกเชิงกรานด้านขวา รวมกันคิดเป็นร้อยละ 40 ของฟอสซิลโครงกระดูกไดโนเสาร์ซึ่งถือว่าพบได้ยากมากที่จะมีชิ้นส่วนในสภาพสมบูรณ์เช่นนี้

พบฟอสซิล “กานดิไททัน คาโวคอดาตัส” ไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่-เก่าแก่ 90 ล้านปีก่อน!

พบฟอสซิล “กานดิไททัน คาโวคอดาตัส” – The fossils of Gandititan cavocaudatus, the new dinosaur, were found at a construction site in Ganxian district in Ganzhou, East China’s Jiangxi province, in June 2021. /novataxa/

ทีมวิจัยคาดว่าไดโนเสาร์ตัวนี้มีคอและหางยาวประมาณ 5 เมตรทำให้พอจะประเมินความยาวตลอดทั้งตัวว่าน่าจะยาวประมาณ 14 เมตรซึ่งถือว่ามีขนาดตัวค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับซอโรพอดอื่นๆ และไดโนเสาร์ตัวนี้มีการเชื่อมกระดูกดีแล้ว จึงคาดว่าอย่างน้อยน่าจะอยู่ในช่วงก่อนโตเต็มวัย

ข้อมูลการค้นพบดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสารซิสเทเมติก พาเลนโทโลจี ฉบับวันที่ 17 ม.ค. ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิวัฒนาการของสายพันธุ์และการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ของไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ในช่วงยุคครีเทเชียส








Advertisement
พบฟอสซิล “กานดิไททัน คาโวคอดาตัส” ไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่-เก่าแก่ 90 ล้านปีก่อน!

The museum collaborated with the China University of Geosciences in Wuhan and the Jiangxi Geological Survey and Exploration Institute to restore and research the bones. The project’s team leader Han Fenglu from the university said the species is a titanosaurian sauropod. /novataxa/

จากการขยายผลการศึกษาพบว่าเครือญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของกานดิไททันคือ “แอ็บดาไรนูรัส” (Abdarainurus) และมีบรรพบุรุษร่วมกันกับไททาโนซอร์อื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มลิโธสโตรเชียน (nonlithostrotian) รวมทั้ง “ไททาโนซอร์ ตงหยางโกซอรัส” (Titanosaur Dongyangosaurus) ของจีน และไททาโนซอร์ แอนดีสซอรัสของอาเจนตินา

นอกจากนี้การค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่กลุ่มไททาโนซอร์ที่ไม่เคยรู้จักในเอเชียตะวันออกกระจายตัวอยู่ในกลุ่มไททาโนซอร์อื่นๆ ในระหว่างเอเชียและอเมริกาใต้ ในช่วงกลางยุคครีเทเชียส

พบฟอสซิล “กานดิไททัน คาโวคอดาตัส” – The bones found include six cervical vertebrae, two partial dorsal vertebrae and a complete sacrum preserved in articulation with the first 17 caudal vertebrae and part of the right pelvis. These bones comprise about 40 per cent of the dinosaur’s skeleton, which is rare to find in such a complete state. /novataxa/

ส่วนที่มาของชื่อ “กานดิไททัน” มาจากการผสมคำระหว่างคำว่า “กาน” สื่อถึงเมืองที่พบฟอสซิล กับคำว่า “ตี้” หมายถึงธรณีวิทยาในภาษาจีน ชื่อนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่การวิจัยทางธรณีวิทยาที่เมืองก้านโจวซึ่งรู้จักกันในชื่อของ “บ้านไดโนเสาร์จีน” ส่วนคำท้ายว่า “ไททัน” มักนำมาใช้ตั้งชื่อไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าซอโรพอดเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 200 ล้านปีก่อนในยุคจูราสสิกตอนต้นและเริ่มแพร่หลายมากขึ้นเมื่อประมาณ 160 ล้านปีก่อนและอยู่บนโลกจนถึงปลายยุคครีเทเชียส แต่เนื่องจากการอนุรักษ์ฟอสซิลที่ไม่ดีนักทำให้ยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงต้นกำเนิดและวิวัฒนาการกันต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน