น.ส.บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงความคืบหน้าในการเก็บภาษีจากผู้ประกอบการออนไลน์ต่างประเทศที่มีธุรกิจในไทย ว่า เรื่องนี้ในไทย มีแนวคิดผลักดันกฎหมาย E-Business โดยกรมสรรพากรเป็นเจ้าภาพกำหนดให้ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ ที่มีรายได้จากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ซึ่งมีบริษัทที่เข้าข่าย เช่น Google Facebook Line เป็นต้น โดยขณะนี้กฎหมายผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว และอยู่ระหว่างนำเสนอกฎหมายไปยังรัฐบาลชุดใหม่ ล่าสุดได้ปรับแก้กฎหมาย โดยใช้วิธีหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยอ้างอิงจากข้อมูลหลายประเทศทั่วโลก ที่เริ่มเก็บภาษีผู้ประกอบการออนไลน์ ซึ่งไทยนำต้นแบบมาจาก ออสเตรเลีย เกาหลี และอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ ผู้ให้บริการดิจิทัลในสหภาพยุโรป (อียู) ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2562 ฝรั่งเศสได้ผ่านร่างกฎหมายแล้ว โดยจะเรียกเก็บภาษี 3% จากบริษัทดิจิทัลใดๆ ที่มีชาวฝรั่งเศสเป็นผู้บริโภค โดยบริษัทนั้นต้องมีรายได้รวมจากทั่วโลกมากกว่า 750 ล้านยูโร หรือราว 25,000 ล้านบาท และมีรายได้ในฝรั่งเศสอยู่ที่มากกว่า 25 ล้านยูโร หรือประมาณ 900 ล้านบาท

สำหรับเป้าหมายสำคัญของการเก็บภาษีครั้งนี้ คือ บริษัทดิจิทัลที่นำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานไปในการขายโฆษณาทางออนไลน์ ซึ่งจะส่งผลต่อบริษัทจำนวนกว่า 30 แห่งด้วยกัน รวมไปถึงยักษ์ใหญ่ของอเมริกาทั้ง Alphabet บริษัทแม่ของ Google – Apple – Amazon – Facebook และ Microsoft รวมไปถึงบริษัทเทคโนโลยีของจีน เยอรมัน สเปน และอังกฤษก็ได้รับผลกระทบ เช่นเดียวกับ Criteo โฆษณาออนไลน์ของฝรั่งเศส

ส่วนในอังกฤษ ล่าสุดได้มีการเผยแพร่ร่างกฎหมายการเก็บภาษีดิจิทัล ซึ่งจะเรียกเก็บภาษีในอัตรา 2% จากรายได้รวมของบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับแฟลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดีย บริการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และตลาดออนไลน์ที่มีชาวอังกฤษเป็นผู้บริโภค โดยบริษัทนั้นจะต้องมีรายได้รวมทั่วโลกมากกว่า 500 ล้านปอนด์ และ 25 ล้านปอนด์สำหรับในอังกฤษ ซึ่งการดำเนินการผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว ดูจะไม่วุ่นวายและยุ่งยากเท่ากับกรณี Brexit คาดว่าจะสามารถผ่านร่างกฎหมายได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากสมาชิกรัฐสภา ทั้งนี้ ร่างการเก็บภาษีจะเริ่มใช้ในเดือนเม.ย. 2020 และคาดว่าจะได้รับรายได้กว่า 400 ล้านปอนด์ในปี 2022

ทั้งนี้ อียูยังมีแผนระยะยาวเพื่อปฏิรูปภาษีนิติบุคคล (corporate tax) ของยุโรปให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยมีแนวคิด คือ บริษัทออนไลน์จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศสมาชิกของอียูเช่นเดียวกับบริษัทแบบดั้งเดิม บริษัทที่จะโดนเก็บภาษีภายใต้กฎหมายฉบับนี้ ต้องมีเงื่อนไขเข้าข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ มีรายได้เกิน 7 ล้านยูโรต่อปี ในประเทศสมาชิกของ EU ที่เข้าไปทำการค้า (แม้จะไม่จดทะเบียนหรือมีสำนักงานในประเทศนั้นก็ตาม) , มีผู้ใช้บริการมากกว่า 100,000 คนขึ้นไปในประเทศสมาชิกของ EU ที่เข้าไปทำการค้า (ในปีภาษีนั้น) และมีการทำสัญญาทางธุรกิจที่เกี่ยวกับบริการดิจิทัลระหว่างบริษัท กับลูกค้าธุรกิจ มากกว่า 3,000 สัญญาในปีภาษี รวมทั้งยังมีการระบุวิธีการคิดกำไรว่าจะลงเป็นของธุรกิจในประเทศใดบ้าง และวิธีแบ่งสัดส่วนภาษีไปยังประเทศนั้นๆ อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การหารือระหว่างชาติสมาชิกอียูยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะกลุ่มประเทศเล็กๆ ที่ได้ผลประโยชน์จากการที่บริษัทข้ามชาติเหล่านี้มาเปิดสำนักงาน กังวลว่า หากมาตรการเก็บภาษีดิจิทัลที่ 3% อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้ง 28 ประเทศ อาจจะทำให้เสียเปรียบชาติสมาชิกใหญ่ๆ เช่น ฝรั่งเศส และเยอรมนี ซึ่งจะทำให้บริษัทข้ามชาติเหล่านี้ยอมไปเสียภาษีในแต่ละประเทศที่เกิดธุรกรรมทางธุรกิจ ขณะที่บางฝ่ายมองว่าจะทำให้เกิดการเก็บภาษีที่ซับซ้อนในกลุ่มอียู และอาจเป็นการละเมิดกฎการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ทำให้สหรัฐอเมริกาเปิดฉากตอบโต้อีจากการที่กรม ไม่เกี่ยวกับการเก็บภาษี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน