ผู้ว่าฯรฟม. โต้ บริษัท อนันดา ยันรฟม.ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ คดี ‘แอชตันอโศก’ ชี้ศาลไม่ได้เพิกถอนใบอนุญาตทางผ่าน แนะหาทางออกกับกทม.ดีกว่า

กรณีศาลปกครองมีคำพิพากษา เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโครงการแอชตัน อโศก เมื่อวันที่ 27 ก.ค.66 ในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนคดียื่นฟ้อง ขอเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโครงการแอชตัน อโศก ต่อมาบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าตรวจสอบประเด็นทางกฎหมาย

รวมทั้งข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตต่างๆ รวมทั้งสภาพที่ดินของโครงการอย่างรอบคอบรัดกุม พิจารณาอนุมัติทำโครงการยังได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติและภายใต้การกำกับควบคุม จากหน่วยงานของรัฐไม่ต่ำกว่า 8 หน่วยงาน จึงยืนยันได้ว่า บริษัทดำเนินการไปด้วยความสุจริต และชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้งทุกประการเท่าที่บริษัทจะทำได้ ด้วยความเชื่อถือโดยสุจริตว่าการอนุมัติของหน่วยงานราชการทุกฝ่ายนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว

รวมถึงจะดำเนินการประสานงานคณะกรรมการนิติบุคคลแอชตัน อโศก และท่านเจ้าของร่วมเพื่อขอเข้าพบผู้ว่าราชราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) และผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพื่อทวงถามความรับผิดชอบในความเสียหายในความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นภายใน 14 วัน

ทั้งนี้บริษัทจึงขอความเป็นธรรมจากทุกภาคส่วน ที่จะร่วมกันแก้ไขภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ไขป้องกันมิให้ปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นคดีนี้อีก และเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐ ได้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว อย่างไม่อาจปฎิเสธความรับผิดชอบได้ต่อเจ้าของร่วมอาคารชุดและบริษัท

ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 28 ก.ค.66 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้รฟม.ยังไม่ได้รับการแจ้งนัดจากบริษัทอนันดา ทางฝ่ายกฎหมายรฟม.กำลังศึกษาคำพิพากษาของศาลฯ

และขอยืนยันว่ารฟม.ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ เพราะศาลไม่ได้เพิกถอนใบอนุญาตของรฟม.ที่อนุญาตให้ใช้ทางผ่าน แต่ศาลเพิกถอนใบอนุญาตการก่อสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องของบริษัทต้องไปดำเนินการและหาทางออกกับกทม. ไม่เกี่ยวกับรฟม. เพราะรฟม.ยึดตามคำพิพากษาของศาล

“ถ้าอนันดาจะยื่นฟ้องรฟม.ให้ร่วมรับผิดชอบด้วยนั้น ก็เป็นสิทธิ์ของเขา ก็สู้ความกันไปตามกฎหมาย แต่ผมมีคำพิพากษายืนยันอยู่แล้วว่ารฟม.ไม่ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ก็จบแล้ว ผมจะรับผิดชอบอะไร เพียงแต่เขาเอาใบอนุญาตของเราไปประกอบการขออนุญาตก่อสร้างอาคารไม่ได้ เพราะที่ดินที่ตั้งโครงการอยู่บนถนนเป็นภาระจำยอม มีความกว้างแค่ 6.40 เมตร ไม่สามารถก่อสร้างตึกสูงได้

และศาลถือว่าทางผ่านของรฟม.ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ไม่ได้ทำให้ที่ดินของโครงการติดถนนสาธารณะ เพราะศาลถือว่าถนนของรฟม.ไม่ใช่สาธารณะ จะเอามาผูกพันเพื่อขออนุญาตสร้างอาคารไม่ได้ และการที่เอกชนจะซื้อที่ดินรัฐซึ่งได้มาจากการเวนคืนไม่สามาถทำได้เช่นกัน และปัจจุบันรฟม.ยังไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนจากบริษัท 97 ล้านบาท ตามที่บริษัทระบุ และผมจะไม่รับด้วย” นายภคพงศ์ กล่าว

ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวต่อว่า ส่วนที่บริษัทบอกว่ามีอีก 13 โครงการมีลักษณะคล้ายกันนั้น คำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความ แต่ละโครงการมีข้อเท็จจริงแตกต่างกัน เพราะไม่ใช่ลักษณะเดียวกันทั้งหมด อย่าเหมารวม เนื่องจากการสร้างทางเชื่อมหรือสกายวอล์กกับสถานีรถไฟฟ้า เป็นการเชื่อมสถานี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถไฟฟ้าไปยังอาคารต่างๆ ทำให้คนโดยสารรถไฟฟ้าไม่ต้องลงมาเดินทางเท้า

แต่การเชื่อมทางในลักษณะของบริษัทอนันดา ซึ่งได้รับอนุญาตเมื่อปี 2557 เป็นการเชื่อมจากอาคารหรือที่ดินของเอกชน เพื่อออกสู่สาธารณะ ไม่ได้ถือเป็นการเชื่อมกับการบริการรถไฟฟ้า เป็นเรื่องเฉพาะโครงการที่จะทำให้โครงการสามารถเข้าออกสู่สาธารณะได้ ตามกฎกระทรวงของพ.ร.บ.ควบคุมอาคารและรฟม.จะไม่มีการอนุญาตในลักษณะนี้อีกแล้ว ส่วนการอนุญาตสกายวอล์กเป็นคนละกรณีกัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน