รู้ไปโม้ด : อยากทราบประวัติความเป็นมาของ คิง เพาเวอร์

โดย น้าชาติ ประชาชื่น
ส้มเช้ง
ตอบ ส้มเช้ง

คิง เพาเวอร์ – เข้าเว็บไซต์ www.kingpower.com ระบุข้อมูล กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ก่อตั้งขึ้นโดย วิชัย ศรีวัฒนประภา ไทม์ไลน์ดังนี้ พ.ศ.2532-2537 ได้รับใบอนุญาตให้เปิดตัวร้านค้าปลอดภาษีและอากรในเมืองแห่งแรกของประเทศไทย ที่อาคารมหาทุนพลาซ่า,

รู้ไปโม้ด : อยากทราบประวัติความเป็นมาของ คิง เพาเวอร์

2534-2545 ได้รับใบอนุญาตให้เริ่มดำเนินธุรกิจร้านค้าปลอดภาษีและอากรในต่างประเทศแห่ง แรกในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา, 2536-2545 ได้รับสัมปทานให้เปิดร้านจำหน่ายสินค้าทั่วไปที่ท่าอากาศยานดอนเมือง, 2538-2540 ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก ณ กำแพงเมืองจีน กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และได้รับสัมปทานให้ดำเนินกิจการร้านค้าปลอดภาษีและอากรในท่าอากาศยานไคตั๊ก เขตปกครองพิเศษฮ่องกง

รู้ไปโม้ด : อยากทราบประวัติความเป็นมาของ คิง เพาเวอร์

2540-2549 ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการร้านค้าปลอดภาษีและอากรในเมืองที่ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ และได้รับสัมปทานให้ดำเนินกิจการร้านค้าปลอดภาษีและอากรที่ท่าอากาศยาน ดอนเมือง เชียงใหม่ หาดใหญ่ และท่าอากาศยานภูเก็ต, 2542-2544 การบินไทยให้สิทธิ์คิง เพาเวอร์ บริหารการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินบนเครื่องของสายการบิน

2549 ก่อตั้งคิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี ดาวน์ทาวน์ คอมเพล็กซ์ ร้านค้าปลอดภาษีและอากรในเมืองแห่งแรกบนถนนรางน้ำ กรุงเทพมหานคร ปีเดียวกันได้รับสัมปทานใหญ่ในการบริหารจัดการทั้งพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอด ภาษีและอากร และพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เชียงใหม่ ภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่,

รู้ไปโม้ด : อยากทราบประวัติความเป็นมาของ คิง เพาเวอร์

2550 ได้รับสัมปทานใหม่ในการประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินบนเครื่องบนเครื่องบินของการบินไทย

2554 ได้รับใบอนุญาตให้เปิดร้านค้าปลอดภาษีและอากรในต่างจังหวัดแห่งแรกของ ประเทศไทยทางภาคตะวันออก คือ คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ พัทยา ปีเดียวกัน แอร์เอเชียให้สิทธิ์บริหารกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินบน เครื่องของสายการบิน,

2555 ได้รับสัมปทานใหม่ให้เปิดร้านค้าปลอดภาษีและอากรที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อท่าอากาศยานกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง, 2556 ได้รับใบอนุญาตให้เปิดคิง เพาเวอร์ ศรีวารี คอมเพล็กซ์ ถือเป็นการขยายร้านค้าครั้งล่าสุดของธุรกิจคิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี และ 2557 คิง เพาเวอร์เปิดร้าน “เลสเตอร์ซิตี้แฟน” แห่งแรกที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม

ปีเดียวกันได้รับสัมปทานให้ดำเนินกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินจากสายการบินไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์

ยังมีข้อมูลจากวิกิพีเดียว่า กลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (King Power International Group) ที่อยู่ 8 คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นบริษัทด้านธุรกิจค้าปลีกสินค้าปลอดอากรของไทย ก่อตั้งในปีพ.ศ.2532 ใช้ชื่อเดิมว่า บริษัท ดาวน์ทาวน์ ดี.เอฟ.เอส (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ร่วมทุนกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดดำเนินกิจการร้านค้าปลอดอากรในเมืองเป็นรายแรกในประเทศไทย ณ อาคารมหาทุนพลาซ่า ถนนเพลินจิต

ต่อมาในปีพ.ศ.2536-2549 ได้รับสัมปทานจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)) เข้าบริหารร้านค้าปลอดภาษีที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต และหาดใหญ่ เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท คิง เพาเวอร์ แท็กซ์ฟรี จำกัด และในปี 2549 ได้เข้าดำเนินการสินค้าปลอดอากรที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ.2552 บริษัทได้รับพระราชทานตราครุฑ ตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ ถนนรางน้ำ

รู้ไปโม้ด : อยากทราบประวัติความเป็นมาของ คิง เพาเวอร์

เดือน สิงหาคม 2553 วิชัยพร้อมด้วยผู้ร่วมทุนในนามกิจการร่วมค้าเอเชียนฟุตบอลอินเวสต์เมนท์ ซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้ พร้อมเปลี่ยนชื่อสนามจาก วอล์กเกอร์ส สเตเดียม เป็นคิง เพาเวอร์ สเตเดียม ต่อมาวันที่ 16 พฤษภาคม 2560 กลุ่มคิง เพาเวอร์ได้รับอนุมัติให้มีการซื้อขายสโมสรเอาด์-เฮเฟอร์เลเลอเฟิน ซึ่งเป็นสโมสรในระดับดิวิชั่น 2 ของประเทศเบลเยียม

รวม ธุรกิจของบริษัท ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าปลอดอากร รางน้ำ สาทร (มหานครคิวบ์) ศรีวารี พัทยา ภูเก็ต, ร้านค้าปลอดอากร สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่, โรงละคร อักษรา, โรงแรมพูลแมน กรุงเทพ คิง เพาเวอร์, กิจการร่วมค้า เอเชียนฟุตบอลอินเวสต์เมนท์ สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ สโมสรเอาด์-เฮเฟอร์เลเลอเฟิน และคิง เพาเวอร์ มหานคร

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน