พิจิตรเมือง ๒ พ่อ เมืองสงบด้วยร่มบุญพระพุทธศาสนา พุทธบารมี แห่ง หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง พระอารามหลวงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ อิทธิพลศิลปะเชียงแสน และ บุญญาบารมีแห่งองค์หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน “เทพเจ้าแห่งเมืองพิจิตร”

และพระเถราจารย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ไม่เคยขาดหายจากดินแดนเมืองพิจิตรแห่งนี้ รวมถึงงานประเพณีแข่งขันเรือยาว สนามวัดท่าหลวง ซึ่งเป็นสนามอันดับหนึ่งของประเทศ ณ ลำน้ำน่านหน้าวัดท่าหลวง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร

สิ่งที่จังหวัดพิจิตร ขาดคือมหาวิทยาลัย ซึ่งในประเทศไทยมีไม่กี่จังหวัดที่ไม่มีมหาวิทยาลัยซึ่งจังหวัดพิจิตรก็เป็นหนึ่งในนั้น ความพยายามรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่จะพยายามมาโดยตลอดจนประสบความสำเร็จเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา คือ “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร มหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวของจังหวัดพิจิตร ตั้งขึ้น ณ ตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร

โดยคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร ภายใต้การนำของพระราชสิทธิเวที, รศ ดร. เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร ในฐานะผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์พิจิตร ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนให้กับนิสิตบรรพชิต และคฤหัสถ์ หลักสูตร ประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา

ด้วยความใหม่ของการเริ่มต้น พื้นที่เป็นหนองน้ำ ทุ่งเลี้ยงสัตว์ การปรับปรุงพื้นที่ต้องใช้ต้นทุนสูง ปัจจุบันมีเพียงอาคาร 4 ชั้นที่มีผู้มีจิตรศรัทธาสร้างถวาย ซึ่งก็ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการศึกษาอีกเป็นจำนวนมาก งบประมาณจากภาครัฐมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้การบริหารจัดการเป็นไปด้วยความยากลำบากจึงเป็นที่มาของการระดมทุนหารายได้เข้าวิทยาลัยสงฆ์พิจิตรโดยการจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อหารายได้โดยน้อมนำบารมีของ 2 พ่อเมืองพิจิตร

ได้แก่ หลวงพ่อเพชร – หลวงพ่อเงิน จัดสร้างเป็น อิทธิมงคลวัตถุ รุ่น เงิน- เพชร – พิจิตร ๖๓ ขึ้น เพื่อเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อเพชร หลวงพ่อเงินของ จังหวัดพิจิตร โดยพิมพ์ที่จัดสร้างมีหลายรูปแบบ เช่น รูปหล่อหลวงพ่อเพชร รูปหล่อหลวงพ่อเงิน ขนาดหน้าตัก 7 นิ้ว (เพ้นท์สีเหมือนจริง ) เหรียญแสตมป์ พระเจ้า ๕ พระองค์ ๒ พ่อ เมืองพิจิตร ที่ได้รับความนิยม เหรียญจอบ เจ้าสัว ๒ พ่อเมืองพิจิตร เหรียญลอมพิมพ์จันทร์ลอย รูปหล่อลอยองค์ ฐานกนก รูปเหมือนหลวงพ่อเงิน พิมพ์ปั้มตัดชิด หลังยันต์คู่ชีวิต ฯลฯ ซึ่งแต่ละแบบสร้างจำนวนไม่มากนัก โดยแต่ละแบบออกแบบและจัดสร้างอย่างปรานีต ทำให้วัตถุมงคลมีความละเอียด สวยงาม ทรุงคุณค่า

 

วัตถุมงคลที่สวยงาม จะทรงคุณค่าก็ต่อเมื่อพิธีกรรมเข้มขลังด้วย ขั้นตอนการดำเนินการทุกขึ้นตอนจึงกำหนดอย่างละเอียด พุทธาภิเษก 3 วัน ระหว่างวันที่ 30 , 31 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน 2563 ณ พระอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง พระอารามหลวง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพิจิตร โดย เกจิคณาจารย์จากทั่วประเทศร่วมปรกอธิฐานจิตรไม่น้อยกว่า 116 รูป เช่น หลวงพ่อช้าง วัดจุกเฌอ จังหวัดฉะเชิงเทรา ,พระครูวิสุทธิวิทยาคม (หลวงพ่อทอง วัดบ้านไร่) นครราชสีมา ,ครูบากฤษฎา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง จ.ลำพูน

พระครูนิวิฐปุญญากร (หลวงพ่อพัฒน์) วัดห้วยด้วน จังหวัดนครสวรรค์พ่อท่านประสูติ วัดในเตา ตรัง. พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม พัทลุง พ่อท่านอุทัย วัดวิหารสูง พัทลุง พ่อท่านสมนึก วัดหรงบน นครศรีธรรมราช.หลวงพ่อหนูอินทร์ วัดป่าพุทธมงคล กาฬสินธ์. พระอาจารย์สุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น มหาสารคาม หลวงพ่อเมียง. กัลยาโณ วัดบ้านจะเนียงจ.บุรีรัมย์. หลวงพ่อมัส วัดอ่าวใหญ่ ตราด. หลวงพ่อแถม วัดช้างแทงกระจาด เพชรบุรี

หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ หลวงพ่อใจ วัดพระยาญาติ หลวงพ้อคำนวน วัดแก้วเจริญ หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม. พระอาจารย์ดิเรก วัดหนองทราย สุพรรณบุรี. หลวงพ่อเอื่อน วัดวังแดงใต้. หลวงพ่อเผย วัดบึง หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก อยุธยา. ครูบาจันทรังษี วัดภูเต้า เชียงใหม่. ครูบาบุญยัง วัดห้วยน้ำอุ่น ลำพูน. หลวงพ่อชำนาญ วัดชินวรารามวรวิหาร ปทุมธานี เป็นต้น

การประกอบพิธีที่จะจารึกเป็นประวัติศาสตร์ของจังหวัดพิจิตร ตั้งแต่การบวงสรวงอัญเชิญบารมีหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง อัญเชิญบุญญาฤทธิ์จิตตานุภาพของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน และพระเถราจารย์เมืองพิจิตร เช่น หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง , หลวงพ่อภู วัดท่าฬ่อ หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง ฯลฯ การประกอบพิธีเริ่มเวลา 09.19 น. วันที่ 30 ตุลาคม 63

ในพิธีประกอบพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ ตามแบบของการจัดสร้างวัตถุมงคลตามโบราณประเพณี พิธีปั้มเหรียญหน้าพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร ครั้งแรกของเมืองพิจิตร พิธีเททองหล่อ หลวงพ่อเพชร หลวงพ่อเงิน โดยกำหนดดับเทียนชัยในเวลา 15.29 น. ของวันที่ 1 พฤศจิกายน โดยในงานมีวัตถุมงคลแจกฟรีสำรับผู้เข้าร่วมพิธี

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เฟสบุ๊ค เงิน เพชร พิจิตร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน