รอบด้านวงการพระ

“มีหิริโอตตัปปะ สะดุ้งกลัว ต่อบาป อายต่อบาปอยู่เสมอ เอากันแต่เพียงแค่นี้ ก็ยังนับว่าดี” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา…

เหรียญหลวงพ่อลา รุ่นแรก

“หลวงพ่อลา ปุณณชิ” แห่งวัดโพธิ์ศรี อ.อินทร์บุรี พระเกจิอาจารย์เมืองสิงห์บุรี สำหรับวัตถุมงคลหลวงพ่อลา เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ โดยเฉพาะเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อลารุ่นแรก ปี 2468…

ลักษณะรูปทรงเสมา เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ยกขอบนูนโดยรอบทั้งด้านหน้าและหลัง ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธปฏิมากรปางนาคปรก ศิลปะสมัยลพบุรี ประทับนั่งเหนืออาสนะขนดนาค ด้านหลัง ตรงกลางเป็นรูปเหมือน ล้อมรอบด้วยอักขระขอม 9 ตัว

ด้านล่างจารึกอักษรไทยเรียง 3 บรรทัดว่า “พระอธิการลา วัดโพธิ์ศรี พ.ศ.๒๔๖๘” เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง จนทำให้บรรดาเซียนพระต่างตั้งข้อสังเกตว่า มีการปลอมรุ่นนี้กันเยอะมาก…

ในปี พ.ศ.2554 “หลวงปู่ฮก รตินธโร” วัดราษฎร์เรืองสุข (มาบลำบิด) ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองชลบุรี สร้างอุโบสถหลังใหม่ จึงอนุญาตให้คณะศิษย์ จัดสร้างพระกริ่งไตรมาส ประกอบด้วย เนื้อทองคำ เนื้อเงินก้นทองคำ เนื้อนวะก้นทองคำ เนื้อทองชมพูก้นทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะก้นเงิน เนื้อนวะก้นทองแดง เนื้อทองแดงรมดำ และเนื้อทองชมพู…

พระกริ่งไตรมาส หลวงปู่ฮก

 

สำหรับองค์พระกริ่งมีลักษณะโดดเด่นสง่างาม และพระกริ่งทุกองค์ได้ตอกโค้ดและมีหมายเลขกำกับทุกองค์ ปัจจุบัน แวดวงพระเครื่องวัตถุมงคล ภาคตะวันออก เป็นที่นิยมและมีความต้องการสูงจากบรรดานักสะสมและเซียนพระ ต่างพากันกะเก็งว่าพระกริ่งไตรมาส หลวงปู่ฮก จะได้รับความนิยมมาก ราคาเช่าบูชาจึงขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ…

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์

“หลวงพ่อเพ็ชร์ สิริวัฑฒโน” อดีตเจ้าอาวาสวัดนนทรีย์ อ.บางปะหัน จ.พระนคร ศรีอยุธยา พระเกจิเมืองกรุงเก่า กล่าวสำหรับวัตถุมงคล “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์ ปี 2489” ซึ่งนับเป็นเหรียญรุ่นแรกและเป็นรุ่นเดียวที่สร้างไว้ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเบญจภาคีเหรียญกรุงเก่า…

ลักษณะเป็นรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญ ยกขอบโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์ห่มจีวรลดไหล่ครึ่งองค์ ด้านล่างมีอักษรไทยกำกับว่า “พระครูธรรมการ เพ็ชน์ วัดนนท รีย์” (สันนิษฐานว่า คำว่า ‘เพ็ชร์’ ช่างแกะแม่พิมพ์ผิดจาก ‘ร’ เป็น ‘น’) ด้านหลังเหรียญ เป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็นอักขระขอม อ่านว่า “สัตถาระนุง อากัตทิตุง วิสัต เชตุง นาทาสิ สัตถาธะนุง นาทาสิ” คาถาบทนี้มีในตำนานพุทธชาดก เป็น ‘พระคาถามหาอุด’ ล่างสุดเป็นอักษรไทยว่า “ที่ระลึกครบอายุ ๘๐ ปี พ.ศ.๒๔๙๘” เป็นเหรียญที่บรรดาเซียนพระและนักสะสมวัตถุมงคลให้ความสนใจ…

อริยะ เผดียงธรรม
[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน