มื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม

สั่งการให้ขับเคลื่อนการขจัดความยากจน ดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง (ศจพ.)

ขีดเส้นไว้ว่าวันที่ 30 กันยายน 2565 วันสุดท้าย ที่รัฐบาลนี้จะแก้ปัญหาคนจนให้หมดไปแผ่นดิน

กระทรวงมหาดไทยสั่งการให้องคา พยพและกลไกในสังกัด เร่งสำรวจและช่วยแก้ปัญหาความยากจนทั่วประเทศ

ทั้งรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงต่างมั่นใจว่าหลังกำหนดเส้นตายนี้ จะไม่มีคนยากคนจนอีกต่อไปแล้ว

สุดท้ายได้ผลจริงหรือไม่?

เพราะประชาชนหลายสิบล้านยังแร้นแค้น รายได้ไม่พอรายจ่าย ชักหน้าไม่ถึงหลัง

คำประกาศดังกล่าวจึงเป็นแค่คำพูดลมๆ แล้งๆ

ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลัง ก็เปิดรับลงทะเบียนโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจนอย่างต่อเนื่อง

ปรากฏว่าตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน-4 ตุลาคม 2565 มีผู้ลงทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 20,105,597 ราย

ผ่านเว็บไซต์ 9,843,003 ราย และผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนอีก 10,262,594 ราย

โดยจะเปิดลงทะเบียนได้จนถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2565 นี้

โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่าจำนวนตัวเลขข้างต้น เป็นเพียงจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเท่านั้น ผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติอีกครั้ง

สำหรับขั้นตอนแรกจะตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ หากผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์บุคคลโดยมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ ก็จะตรวจสอบคุณสมบัติของเกณฑ์ครอบครัว (ในกรณีที่มีคู่สมรสหรือบุตร) ด้วย

หากพบว่าไม่ผ่านการตรวจสอบ ตามเกณฑ์ครอบครัว จะถือว่าไม่ผ่านคุณสมบัติ และไม่ได้รับสิทธิตาม โครงการนี้

ก่อนหน้านี้ ในปีแรกๆ ที่รัฐบาลชุดนี้จัดทำบัตรคนจน มีผู้ลงทะเบียนประมาณ 11 ล้านคน ต่อมาเพิ่มเป็น 14 ล้านคน

มีผู้ได้รับสิทธิ์ในสวัสดิการแห่งรัฐที่จัดให้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้ว เป็นการแก้ปัญหาได้แค่เป็นยาดมยาหม่อง ยาทาแผล และยาแก้คันเท่านั้น

ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ที่ทำให้ประชาชนหยัดยืนอยู่บนขาของตัวเองได้

นอกจากนี้ ยังซ่อนเร้นแอบแฝงและหวังผลทางการเมืองด้วย ยิ่งใกล้ช่วงเลือกตั้งใหญ่ ต้องติดตามตรวจสอบว่าเป็นการสร้างคะแนนนิยม เอาเปรียบทางการเมืองหรือไม่?

เภรี กุลาธรรม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน