ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดผลสำรวจเกี่ยวกับการใช้จ่ายดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท พบประเด็นที่มีผลต่อเศรษฐกิจและธุรกิจค้าปลีกดังนี้

โดยผู้ตอบแบบสอบถามราว 58% จะทยอยใช้เงินครบภายใน 6 เดือน กลุ่มผู้มีรายได้น้อยกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน หรือกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะทยอยใช้จนถึงวันสิ้นสุดโครงการ

กว่า 80% ระบุว่าจะลดการใช้จ่ายเงินส่วนตัวลง บางส่วนนำเงินที่ลดลงดังกล่าวกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ผ่านการให้ญาติใช้จ่ายหรือนำไปลงทุนธุรกิจ

สำหรับร้านค้าที่จะได้ประโยชน์ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเลือกใช้จ่ายในร้านขายของชำเกือบ 40% สินค้าหมวดสุขภาพและร้านอาหารรองลงมา

อีกทั้งพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเลือกใช้จ่ายเงินโครงการในร้านค้าท้องถิ่นราว 40%

ร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ และ 7-11 หรือราว 26% ของประเภทร้านค้าที่เลือกใช้จ่ายทั้งหมด

ขณะที่กลุ่มร้านอาหารและร้านขายยา เป็นกลุ่มรองลงไปที่ได้รับอานิสงส์

นอกจากนี้ ร้านอุปกรณ์ยานยนต์และร้านอุปกรณ์การเกษตร คาดว่าจะได้ประโยชน์อยู่บ้าง โดยเลือกใช้จ่ายเป็นอันดับที่ 5








Advertisement

ผู้มีสิทธิที่รายได้สูงหรืออยู่ในกรุงเทพฯ หรือหัวเมืองใหญ่ จะนำไปใช้จ่ายในร้านอุปกรณ์ยานยนต์

ขณะที่ผู้มีสิทธิอยู่ต่างจังหวัดและรายได้น้อย จะเลือกใช้จ่ายในร้านอุปกรณ์การเกษตร

ในส่วนของร้านค้าส่ง ค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น แม้จะไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้จ่าย

แต่คาดว่าจะได้อานิสงส์ทางอ้อมจากร้านค้าท้องถิ่นขนาดเล็ก ที่นำเงินรายได้จากการขายสินค้าให้ผู้มีสิทธิมาใช้จ่ายต่อ เพื่อสต๊อกสินค้าในร้าน

ดังนั้นคนที่บอกว่าเงินจะเข้ากระเป๋าเจ้าสัวทั้งหมด จึงไม่เป็นความจริง

เหมือนที่เคยปรามาสเงินกองทุนหมู่บ้านไว้ว่าเดี๋ยวก็จะกู้ไปซื้อมอเตอร์ไซค์ซื้อมือถือกัน

เงินหมื่นดิจิทัลถือว่าเป็นความหวังชาวบ้านช่วงเศรษฐกิจฝืดเคืองขณะนี้!!

เภรี กุลาธรรม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน