จีวร – จากการโกนศีรษะของพระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาที่เป็นสัญลักษณ์ ของเสรีชนที่ไม่ผูกมัดอยู่ในกฎเกณฑ์ ของสังคมในสมัยพุทธกาล หรือการไม่มีไม่เป็นอยู่และไม่อยู่ในสังคมของชนชั้นหรือวรรณะ ขณะเดียวกันก็เป็นสัญลักษณ์ของการจะใช้ชีวิต หรือดำรงชีวิตอยู่ด้วยการไม่เบียดเบียน ผู้อื่น

จีวรจึงเป็นเครื่องนุ่งห่มที่กำหนดให้เป็นวินัยของผู้ที่จะดำรงชีวิตด้วยการไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วย

จีวรออกแบบโดยพระอานนท์ผู้เป็น อุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า และมี ความหมายว่าก่อนหน้านั้นคือ นับแต่พระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชนั้น ภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนามิได้มีรูปแบบของ การนุ่งห่มในแบบเดียวกัน

การออกแบบจีวรเครื่องนุ่งห่มของภิกษุสงฆ์ที่กำหนดไว้ 3 ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม (อุตราสงค์) สบงสำหรับนุ่ง (อันตรวาสก) ผ้าพาดบ่า (สังฆาฏิ) หรือผ้าห่อคลุมอีก ชั้นนั้น พระอานนท์ได้ใช้รูปแบบและแนวทางโดยการนำผ้าที่เขาทิ้งแล้ว หรือ ชาวบ้านให้มา มาเย็บต่อเป็นชิ้นๆ ที่มีรูปแบบและขนาดต่างๆ มาเย็บต่อกันโดยมีรูปแบบเหมือนดั่งคันนาของชาวมคธ (แปลว่าการทำนาข้าวนั้นมีมาก่อนนานแล้วในชมพูทวีป) และย้อมสีให้เป็น สีเหลืองฝาดด้วยสีจากเปลือกไม้

การใช้จีวรที่เป็นรูปแบบนี้ยังคงใช้กันอยู่ทั้งในลังกา อินเดียตอนใต้ พม่า ไทย ลาว เขมร ที่นับถือพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท แตกต่างจากฝ่ายมหายานที่เป็นผ้าที่ไม่ต้องมีการตัดต่อของผ้าเป็นรูปของคันนา ซึ่งเป็นจีวรที่ได้มาจากการให้ของฆราวาส

และโดยเหตุของการรับผ้าจีวรที่มาจากการให้ของฆราวาสนี้เอง การได้รับจีวรในลักษณะนี้จึงพัฒนามาเป็นพิธีกรรมที่เรียกว่า ผ้าพระกฐิน ที่จะมีกำหนดเวลาในการให้จีวรแก่พระภิกษุ

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน