ส.อ.ท.ผนึกกฟภ.มุ่งพัฒนาพลังงานหมุนเวียนหนุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันรับเทรนด์โลกใหม่สู่ “พลังงานสะอาด” เพื่อเป้าหมายการขับเคลื่อนพลังงานทดแทน 30% ของพลังงานไฟฟ้าทั่วประเทศในปี 2573

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ประกาศโครงการนำร่องการพัฒนาทางด้านพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy:RE) และคาร์บอนเครดิต เพื่อทำฐานข้อมูลและการรับรองการผลิตไฟฟ้า RE และคาร์บอน เครดิต ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) สนับสนุนและผ่อนคลายกฎระเบียบให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถซื้อขายไฟฟ้าข้ามสายส่ง และเปิดการอนุญาตทดลองกติการูปแบบใหม่ๆ เพื่อการแข่งขันกับต่างประเทศ

“ต้นทุนค่าไฟฟ้าระบบพลังงานหมุนเวียนที่ลดลง ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการที่จะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น อีกทั้งธุรกิจพลังงานไฟฟ้า รูปแบบใหม่ยังถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเกิดขึ้นของตลาดคาร์บอนเครดิต และการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนควรที่จะต้อง เตรียมตัวให้พร้อมให้สอดคล้องกับกติกาโลกใหม่ เพื่อบรรลุเป้าหมายการขับเคลื่อนพลังงานทดแทนในสัดส่วน 30% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศในปี 2573 ตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2608”

นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวว่า อนาคตจะมีการขยายผลการศึกษาไปสู่โครงการอื่นๆ ช่วยให้ภาพรวมของประเทศไทยมีศักยภาพด้านการผลิต และการให้บริการด้านพลังงานสูงขึ้น
นายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน และประธานคณะทำงานส่งเสริมและสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม กล่าวว่า ทั้งภาคการผลิตและภาคการค้าที่กำลังจะประสบปัญหากลไกด้านสิ่งแวดล้อมแบบ Non-Tariff Barrier ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น เกิดธุรกิจพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการ กกพ. กล่าวว่าโครงการ ERC Sandbox ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการทดสอบทางเทคโนโลยีด้านพลังงานในสภาพแวดล้อมของการใช้งานจริงในพื้นที่และจำกัด
นายกิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช.เตรียมสนับสนุนการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเริ่มประมาณ พ.ค.นี้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน