ซุ้มทิศ

คติ – สัญญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมปราสาทหินในวัฒนธรรมขอม เรือนยอดคือส่วนบนของปราสาท เหนือตัวอาคารทรงสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าเรือนธาตุหรือครรคฤหะอันเป็นที่ตั้งของรูปเคารพ ในรูปของ เรือนธาตุนี้จะมีลักษณะเป็นชั้น 3 ชั้นบ้าง 5 ชั้นบ้าง เป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ในความเชื่อเรื่องจักรวาลทัศน์ของศาสนาพราหมณ์

ตรงกลางของชั้นต่างๆ มักจะทำเป็นซุ้มที่เป็นสัญลักษณ์ของวิมานหรือที่อยู่ของเทวดา หรือหัวหน้าเทวดาของสวรรค์ชั้นต่างๆ อาจจะมีรูปเป็นเทวดาหรือสัญลักษณ์ของเทวดา

สถาปัตยกรรมปราสาทหินสมัยเมืองพระนคร พระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ (แทนที่เทพหัวหน้าเทวดาในแต่ละชั้น ตามคติจักรวาลทัศน์ของศาสนาพราหม์หรือฮินดู) จะปรากฏอยู่ในทั้ง 4 ทิศของปรางค์ปราสาท (ที่ไทยเรียกว่า ซุ้มทิศ)

รูปแบบของพระปรางค์สถาปัตยกรรมไทย เช่น พระปรางค์วัดอรุณฯ จะพบรูปเทวดาเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่ในซุ้มทิศ ทั้งสี่ด้านของพระปรางค์

รูปแบบของซุ้มทิศ คือ เรื่องราวของความเชื่อมต่อทางวัฒนธรรมที่เราจะเห็นกันได้ทั่วไปที่เชื่อมต่อกันของวัฒนธรรมทั้งทางคติสัญลักษณ์และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน