รับมือแล้ง : บทบรรณาธิการ

รับมือแล้ง : บทบรรณาธิการ – การเริ่มงานของรัฐบาลชุดใหม่ที่ผสมผสานรัฐมนตรีจากรัฐบาลชุดเดิมในยุคคสช. มาพร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ ของประเทศ

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเคยประสบมาแล้วมากบ้างน้อยบ้าง และภัยแล้งยังคงเป็นปัญหาอมตะสำหรับเกษตรกร และประชาชนทั่วไป เนื่องจากระบบบริหารจัดการน้ำยังไม่เข้าที่

หลังจากเคยมีความพยายามตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนรัฐประหารมาแล้ว แต่ยังติดขัดด้วยเงื่อนไขทางราชการ และความขัดแย้งทางการเมือง

การแก้ไขปัญหาภัยแล้งจึงทำกันมาแบบเฉพาะหน้าในทุกๆ ปี แทนที่จะเป็นความเร่งด่วนในการวางแผนแก้ไขในระยะกลางและระยะยาวด้วย

ปีนี้เชื่อว่าจะเป็นปีที่น่าวิตกมากเป็นพิเศษ

จากข้อมูลของมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สภาพอากาศปีนี้จะร้อนยาวนาน ภัยแล้ง จะหนักกว่าทุกปี และเป็นแล้งผิดปกติ เนื่องจากจะกินเวลายาวนานด้วย

ช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงกันยายน 2562 ฝน จะตกน้อย หรือฝนทิ้งช่วง โดยยังไม่มีแนวโน้ม ว่าจะเกิดพายุขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางในบางจังหวัด

ทำให้ประเทศไทยประสบภัยแล้งรุนแรงกว่าปี 2561 และอาจเป็นภัยแล้ง ที่รุนแรงหนักสุดในรอบหลายสิบปี

มูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุว่าไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่ประสบภัยแล้ง แต่ในแถบเอเชียประสบภัยแล้งเกือบทั้งหมด เช่น อินเดีย ปากีสถาน พม่า เนื่องจากปรากฎการณ์ความชื้นจากขั้วโลกเหนือไม่ลงมา ทำให้มวล อากาศเย็นไม่ลงมายังประเทศจีน

ส่วนกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า ปรากฏการณ์ เอลนีโญกำลังอ่อนมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดต่อเนื่องไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2562

ดังนั้นปริมาณฝนรวมบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑลปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 5 เมื่อประกอบกับปริมาณน้ำในเขื่อนมีจำนวนน้อย จะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน

กลุ่มรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ เองคงรับทราบปัญหานี้แล้ว จึงนัดหารือกันวันที่ 18 ก.ค. เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปอีกปี

…อ่าน…

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน