FootNote:เป้าหมาย การชุมนุม สามย่าน ยังคงอยู่ที่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา

คล้ายกับว่าการประกาศชุมนุม ณ สามย่าน ในวันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม ของ “ราษฎร” จะเป็นการถอยห่างออกจากอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไป ปักหลักชุมนุมตั้งแต่เย็นของวันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม
ทั้งๆที่ในความเป็นจริง การชุมนุม ณ สามย่าน สะท้อนเจตนา รมณ์ที่ซับซ้อนในทางการเมืองมากกว่านั้น
เนื่องจากเป้าหมายอยู่ที่สถานทูต “เยอรมนี”
นี่ย่อมต่างจากการเคลื่อนไหวเมื่อวันที่ 14 ตุลาคมจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังทำเนียบรัฐบาล หรือวันที่ 21 ตุลาคมจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปยังทำเนียบรัฐบาล
เนื่องจากต้องการเน้นย้ำ 3 ข้อเรียกร้องสำคัญ และเนื่องจากต้องการยกระดับและยื่นคำขาดพร้อมกับใบลาออกให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงนามภายใน 3 วัน
แต่กล่าวสำหรับการเคลื่อนไหวในวันที่ 26 ตุลาคมเป็นการยกระดับไปอีกขั้นหนึ่งในทางการเมือง
เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืนยันว่า “ไม่ลาออก”

ต้องยอมรับว่าการประชุมรัฐสภาในวันที่ 26 และวันที่ 27 ตุลาคมก็ดำเนินไปเช่นเดียวกับการประชุมรัฐสภาในวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา เพียงแต่เปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมเท่านั้น
การประชุมเมื่อวันที่ 24 กันยายนเป็นในเรื่องของรัฐธรรมนูญ ขณะที่การประชุมในวันที่ 26 ตุลาคมเป็นการหาทางออกการเมือง
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ดังกึกก้องนับแต่เห็นหนังสือของหัวหน้ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ส่งถึงประธานรัฐสภา นายชวน หลีกภัย ก็รู้กันอยู่แล้วว่าเนื้อหาการประชุมจะเป็นอย่างไร
ในที่สุดของทั้ง 3 ข้อล้วนรวมศูนย์ไปยังกระบวนการเคลื่อนไหวในทางการเมืองนับแต่เดือนกรกฎาคมโดย “เยาวชนปลดแอก” กระทั่งถึงเดือนตุลาคมโดย “คณะราษฎร 2563”
จึงยากเป็นอย่างยิ่งที่สถานการณ์จะแตกต่างไปจากที่เห็นและเป็นอยู่ในวันที่ 24 กันยายนในที่ประชุมรัฐสภาเดียวกันนี้
การไม่มี “รัฐสภา” จึงเท่ากับเป็นการปฏิเสธบทบาท “รัฐสภา”

กระนั้น การย้ายเป้าหมายจาก “ทำเนียบรัฐบาล” ไปยังสถานเอกอัครราชทูต “เยอรมนี” ประจำประเทศไทย เป้าหมายก็ยังเหมือนเดิมไม่แปรเปลี่ยน
นั่นก็คือ ยังเป็นการขับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่
นั่นก็คือ ยังเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือปัญหาที่หากไม่มีการออกไปบ้านเมืองก็จะยังหยุดอยู่ที่เดิม ไปไหนไม่ได้
นี่คือจุดยืนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมกระทั่งเดือนตุลาคม

เกาะติดสถานการณ์ม็อบ กดติดตามไลน์ ข่าวสด
เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน