เพื่อชีวิต กลายเป็นอะไรไม่รู้ ‘ประเทศกูมี’ เพลงการเมืองในยุคใหม่!

‘ประเทศกูมี’ / วันที่ 31 ต.ค. ที่ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) จัดงานเสวนา หัวข้อ “ศิลปะ อำนาจ และการขัดขืน” โดยมี นายภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ น.ส.สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นายถนอม ชาภักดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ นายสุชาติ แสงทอง นักวิชาการด้านเพลงการเมือง ศึกษาเพลงปฏิวัติ ม.ราชภัฏนครสวรรค์ ร่วมเสวนา

นายถนอม กล่าวว่า ศิลปทุกแขนงสามารถหยิบยื่นความน่าละอายให้แก่เผด็จการได้ ทำให้มันตลก เพื่อให้ปฏิสัมพันธ์กันผู้คนได้ ไม่จำเป็นต้องสถาปนาในที่สาธารณะให้คนกราบไหว้ มันสัมผัสได้ด้วยใจ เหมือนประเทศกูมี นี่คือการต่อสู้ครั้งใหม่ โดยใช้สุนทรียศาสตร์ และรสนิยมของประชาชน ซึ่งเราขาดตอนจากเพื่อชีวิต ที่ตอนนี้แปรรูปจนกลายเป็นอะไรไม่รู้

นับจากปี 2516 เราไม่เคยสร้างศิลปะเพื่อประชาชนอะไรได้ ถูกกล่อมด้วยคำว่า เพื่อชีวิต เท่านั้น แต่ปี 2561 แร็พบอกเล่าถึงการต่อต้าน นี่คือสิ่งที่ต้องยกธงขึ้นมาในฐานะรสนิยมของประชาชน ในการปลุกปลอบ เพื่อสะท้อนเรื่องราวการต่อสู้ที่เราถูกถามกันตลอดมา

นายสุชาติ กล่าวว่า ถ้าจะนิยาม ประเทศกูมีว่า เป็นเพลงการเมืองก็อาจใหญ่เกินไป นี่จึงอาจจะเป็นเพลงปลุกใจจลักษณะหนึ่ง ที่ไม่ได้เกิดจากรัฐ แต่มาจากภาคประชาชนที่เบื่อรัฐ โดยรากฐานผมเชื่อความบริสุทธิ์ของกลุ่ม ที่ผิดหวังกับความรัก ขอบคุณกลุ่ม RAD ปรากฏการณ์ที่เกิดดึ้น ทำให้เห็นพลังจากบทเพลงที่ทรงคุณคค่า

เพลงการเมือง ไม่ได้หายไป แต่เปลี่ยนรูปไป เพลงเพื่อชีวิตแบบเดิมจะไม่มีอีกแล้ว จะมีแต่เพื่อชีวิตของพวกเรา พื้นที่เหล่านี้จะขยายได้อีกในเชิงปรัชญา เราจะเห็นอุดมการณ์การต่อสู้ด้วยทิศทางของกลุ่ม RAD ในประวัติศาสตรร์ทางการเมืองจะเห็นกลุ่มฮีโร่มาเรื่อยๆ แต่นี่จะเป็นยุคใหม่ ที่จะพัฒนาอุดมการ์ทางการเมืองของการเปลี่ยนแปลง


 

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน