อัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. กำหนดเป็นอัตราเบี้ยคงที่อัตราเดียว แยกตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ (ส่วนบุคคลหรือรับจ้าง/ให้เช่า/สาธารณะ) โดยอัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.ที่ต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยของรถแต่ละประเภท อาทิ รถจักรยานยนต์ขึ้นอยู่กับกำลังเครื่องยนต์ รถยนต์ขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่ง รถบรรทุกขึ้นอยู่กับขนาดน้ำหนัก เป็นต้น

ลำดับ ประเภทรถและขนาดเครื่องยนต์ การใช้รถยนต์
ส่วนบุคคล (บาท/ปี) รับจ้าง/ให้เช่า/สาธารณะ(บาท/ปี)
1. รถจักรยานยนต์
1.1 ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 150 150
1.2 เกิน 75 ซี.ซี.ไม่เกิน 125 ซี.ซี. 300 350
1.3 เกิน 125 ซี.ซี. ไม่เกิน 150 ซี.ซี. 400 400
1.4 เกิน 150 ซี.ซี. 600 600
2. รถสามล้อเครื่อง
2.1 ในเขต กทม. 720 1,440
2.2 นอกเขต กทม. 400 400
3. รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน 600 1,900
4. รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ขนาดที่นั่ง
4.1 ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 2,320
4.2 เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 3,480
4.3 เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 6,660
4.4 เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 7,520
5. 5.1 น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน 900 1,760
5.2 น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 1,830
5.3 น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 1,980
5.4 น้ำหนัก เกิน 12 ตัน 1,700 2,530
6. รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร 90

จะเห็นได้ว่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. นั้นมีอัตราเบี้ยประกันอยู่ที่หลักร้อยถึงหลักพันแต่ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในวงเงินหลักหมื่นถึงหลักแสนเลยทีเดียว

สอบถาม โทร. สายด่วน คปภ. 1186

#กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยคุ้มครองห่วงใยผู้ประสบภัยจากรถ #กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย #กทป #คปภ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน