ดาวอังคารเข้าใกล้โลกที่สุด รอบ 15 ปี ดีเดย์ 31 กรกฎาคม

ดาวอังคารเข้าใกล้โลกที่สุด – เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. เว็บไซต์ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ นาซา แจ้งข่าวว่า วันที่ 31 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ จะเป็นวันที่ดาวอังคารโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 15 ปี

วันดังกล่าว ดาวอังคารจะโคจรเข้ามาใกล้ ในระยะห่างจากโลก 57.6 ล้านกิโลเมตร เป็นระยะใกล้ที่สุดนับจากปี 2546 เมื่อถึงตอนนั้นจะทำให้ดาวอังคารบนฟ้า มีแสงสว่างมาก มองเห็นได้ทั้งผ่านกล้องโทรทรรศน์ หรือมองด้วยตาเปล่า

ดาวอังคารจะโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดครั้งหรือสองครั้งในทุกๆ 15-17 ปี สถิติที่เข้าใกล้ที่สุดคือเมื่อเกือบ 60,000 ปีก่อน

ดาวอังคารเข้าใกล้โลกที่สุด

FILE PHOTO: The planet Mars / REUTERS/NASA/Greg Shirah

ก่อนหน้านี้ นาซาเพิ่งแถลงเผยการค้นพบหลักฐานใหม่ที่บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่ดาวอังคารน่าจะเคยมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ตีพิมพ์ลงในวารสาร Science ภายใต้หัวข้อว่า “การค้นพบครั้งใหญ่ทางชีววิทยาดวงดาว” (breakthroughs in astrobiology)

FILE PHOTO: ปากหลุม ซานตา มาเรีย REUTERS/NASA

กาคค้นพบดังกล่าวเป็นผลงานของรถสำรวจ คิวริออซิตี (Curiosity) ของนาซาที่ลงจอดบนดาวแดงดวงนี้ตั้งแต่เมื่อ 6 ส.ค. 2555 ในภารกิจสำรวจวิเคราะห์หาน้ำ ซึ่งทางนาซาถือเป็นมูลฐานของสิ่งมีชีวิตฐานคาร์บอนแบบบนโลกมนุษย์

เกล เครเทอร์ – Gale Crater on June 7 and 10, 2018 (NASA/JPL-Caltech/MSSS via AP)

รถสำรวจดังกล่าวค้นพบโมเลกุลที่คาดว่าป็นส่วนหนึ่งของสารอินทรีย์ในสิ่งมีชีวิตจากชั้นหินในหลุมเกล เครเตอร์ (Gale Crater) เชื่อว่า เคยเป็นแหล่งน้ำขนาดเท่ากับทะเลสาบโอคีโชบี รัฐฟลอริดา ด้วยสภาพแวดล้อมนี้น่าจะเคยเต็มไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ในอดีต และบางส่วนอาจยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน

FILE – รถสำรวจ คิวริออซิตี – NASA’s Curiosity Mars rover on Vera Rubin Ridge. (NASA/JPL-Caltech/MSSS via AP)

ขณะที่ ดร.เคอร์สไตน์ ซีบัคช์ นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยไรซ์ รัฐเท็กซัส สหรัฐ ระบุว่า การค้นพบหลักฐานที่เป็นโมเลกุลของสารเคมีอินทรีย์อยู่ในหินที่เก่าแก่กว่า 3 พันล้านปี และยังพบการปล่อยแก๊สมีเทนขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ สิ่งนี้อาจเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใต้พื้นผิว หรืออย่างที่น้อยสุดก็ต้องเกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำอุ่นที่สิ่งมีชีวิตบนโลกสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

อ่านข่าว :

นาซาสร้างฝูงผึ้งหุ่นยนต์ใช้บินสำรวจดาวอังคาร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน