คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

ดร.ไบรอัน เอ. พรีแมค จากสถาบัน วิจัยสื่อ เทคโนโลยี และสุขภาพ (ซีอาร์เอ็มทีเอช) มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก สหรัฐอเมริกา ศึกษาพฤติกรรมการใช้ โซเชี่ยลมีเดียของนักศึกษา 1,787 คน ผ่านแบบสอบถามเกี่ยวกับเว็บไซต์สังคมออนไลน์ยอดนิยม 11 เว็บไซต์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก ยูทูบ ทวิตเตอร์ กูเกิลพลัส อินสตาแกรม สแนปแช็ต เรดดิต ทัมเบลอร์ พินเทอเรสต์ วายน์ และลิงก์อิน

พบว่าคนที่เข้าโซเชี่ยลมีเดียมากกว่า 7 เว็บไซต์เป็นกิจวัตรประจำวัน มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันที่ใช้โซเชี่ยลมีเดียไม่เกิน 2 เว็บไซต์ ถึง 3.1 เท่าตัว และมีแนวโน้มจะเป็นโรควิตกกังวลสูงถึง 3.3 เท่า

ปัจจัยส่วนหนึ่งเป็นเพราะการรับรู้ข่าว สาร ความเคลื่อนไหวของสังคม และเรื่อง ราวของเพื่อนออนไลน์ที่มากเกินไป ทำให้เกิดความเครียด ยิ่งเสพติดการใช้โซเชี่ยล มีเดียมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสะสมความเครียดโดยไม่รู้ตัว และเกิดโรคได้ในที่สุด

นอกจากนี้พฤติกรรมดังกล่าวยังเข้าข่ายเป็น “มัลติทาสกิง” หรือทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน ระบบสมองจึงต้องทำงานหนักเพื่อแยกแยะการสั่งการที่แตกต่างออกไปในแต่ละเว็บไซต์ ส่งผลให้สมองเกิดความเหนื่อยล้านั่นเอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน