วันที่ 30 ม.ค. หลังจากนักวิทยาศาสตร์จีนประกาศความสำเร็จในการโคลนนิงลิง จนเกิดข้อถกเถียงว่าวันหนึ่งมนุษย์อาจถูกโคลนนิงนั้น เว็บไซต์เดอะซันรายงานคำให้สัมภาษณ์ของนายกอร์ดอน แกลลัพ นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงด้านจิตวิทยาวิวัฒนาการ อ้างว่า นักวิทยาศาสตร์ในห้องแล็บวิจัยในรัฐฟลอริดาเคยสร้าง “ฮิวแมนซี” ลูกผสมมนุษย์และลิงชิมแปนซี เมื่อ 100 ปีที่แล้ว แต่ถูกหมอการุณยฆาต ด้วยอาการตื่นตระหนก

ลิงโคลนนิงของจีน AFP PHOTO / CHINESE ACADEMY OF SCIENCES

นายแกลลัพ ผู้พัฒนาการทดลองอันโด่งดังที่พิสูจน์ว่าไพรเมตหรือลิงไม่มีหาง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรับรู้เงาสะท้อนของตัวเอง มันจำเงาตัวเองในกระจกได้ กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์ผสมเทียมชิมแปนซีเพศเมียกับอสุจิมนุษย์ที่ได้จากผู้บริจาคที่ไม่เปิดเผยชื่อ ผลคือไม่เพียงทำให้เกิดการตั้งท้องแต่สามารถตั้งท้องครบกำหนดให้กำเนิดทารกลูกผสมมนุษย์และชิมแปนซี ที่ศูนย์วิจัยไพรเมตตั้งขึ้นในเมืองออเรนจ์ ปาร์ก ประเทศสหรัฐ ทศวรรษ 1920

ลิงโอลิเวอร์เคยถูกแอบอ้างเป็นลูกผสมคน ความจริงไม่ใช่ เป็นลิงธรรมดา

“แต่ไม่กี่วันต่อมาหรือสองสามสัปดาห์ ทีมนักวิทยาศาสตร์เริ่มคิดถึงประเด็นศีลธรรมและจริยธรรม ด้วยอาการตื่นตระหนกจึงการุณยฆาตทารก” แกลลัพกล่าว

นอกจากงานวิจัยดังกล่าง ยังมีโครงการผสมข้ามสายพันธุ์มนุษย์และชิมแปนซีที่โด่งดัง โดยนายอิลยา อิวานอฟ นักชีววิทยา ชาวรัสเซียทำโปรเจ็กต์นี้ในทศวรรษ 1920 เช่นกัน เพื่อสร้างซูเปอร์ทหารให้สหภาพโซเวียตแต่ล้มเหลว

ลิงปัจจุบันในศูนย์วิจัย / out sentences using symbols for words in an experiment in the 1970s IMAGE: CORBIS

ศัพท์ ฮิวแมนซี บัญญัติโดยแกลลัพ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในทศวรรษ 1970 หลังการปรากฏตัวของโอลิเวอร์ ชิมแปนซีหัวล้านที่ใช้ขาหลังเดิน แต่จากการทดสอบโอลิเวอร์ในปี 2539 แสดงว่าโอลิเวอร์มี 48 โครโมโซม จึงไม่ใช่ลูกผสมมนุษย์กับชิมแปนซี

โอลิเวอร์

“การทดลองพิสูจน์ว่าโอลิเวอร์ไม่ใช่ฮิวแมนซี แม้ว่ามันคล้ายลูกผสมมนุษย์มากๆ ในแง่ของท่าที่ลำตัวตั้งขึ้น มีจมูกยื่นออกมา รวมถึงสิ่งอื่นๆ”แกลลัพกล่าว

แกลลัพ ซึ่งปัจจุบันสอนชีวจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย ยูนิเวอร์ซิตี้ แอต อัลเบนี นครนิวยอร์ก ยืนยันว่ามนุษย์สามารถผสมข้ามพันธุ์กับสายพันธุ์ลิงไม่มีหางทั้งหมดได้ ไม่ใช่แค่ชิมแปนซี แต่รวมถึงกอริลลา อุรังอุตัง หลักฐานยืนยันได้แก่ฟอสซิล บรรพชีวินวิทยา ชีวเคมี รวมถึงดีเอ็นเอ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน