ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เผยแพร่อุทาหรณ์สำหรับคนชอบเลี้ยงสัตว์กัดแทะอย่างหนู ว่า ต้องระวังโรคที่มากับสัตว์เหล่านี้ด้วย โดยเผยแพร่ภาพมือเท้าของผู้ป่วยที่โดนหนูกัด จนทำให้เกิดโรคไข้หนูกัด

โดยโพสต์ระบุว่า “Rat Bite Fever หนูที่เลี้ยงไว้กัดมือ เลยได้ไข้กับผื่นจากเชื้อโรค -> หญิงอายุ 36 ปี มีอาการไข้ ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อ และศีรษะ มีอาการมาแล้ว 3 วัน -> มีประวัติถูกหนูที่เลี้ยงเลี้ยงไว้ กัดที่มือซ้ายเมื่อ 10 วันก่อนมาโรงพยาบาล

-> ผลการตรวจร่างกายพบผื่นแดงที่เท้า (A) และมือ (B) ลักษณะตุ่มเป็นรอยนูน (C) ข้อเท้าขวา เข่าซ้าย และข้อมือซ้ายบวมและอ่อนนุ่ม -> ผู้ป่วยได้รับการรักษา โดยได้รับยา Ceftriaxone ทางหลอดเลือดดำ
-> ผลการเพาะเชื้อพบติดเชื้อ Streptobacillus moniliformis เป็นบาซิลลัสแกรมลบ ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้หนูกัด
-> การรักษาอย่างต่อเนื่องทำให้อาการไข้และปวดข้อดีขึ้น ผู้ป่วยได้กลับบ้านในวันที่ 7 โดยได้รับยา Amoxicillin ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นตามลำดับ

เห็นเคสที่น่าสนใจ เลยอยากนำมาฝากสมาชิก เป็นเคสที่รายงานโดยหมอ Stephane Giorgiutti และ Nicolas Lefebvre (2019) ตีพิมพ์ในวารสาร N Engl J Med ความจริงผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อทางจุลชีวิทยา ไม่ใช่ปรสิต แต่น่าจะเกิดประโยชน์สำหรับเป็นข้อเตือนใจระมัดระวังเวลาเลี้ยงหนู และสังเกตอาการที่เกิดขึ้นหากโดนกัดปกติแล้ว

โรคไข้หนูกัด เกิดจาการติดเชื้อจุลชีพที่พบได้บ่อยมีอยู่ 2 ชนิด คือ S. moniliformis พบทางฝั่งอเมริกาเหนือ อีกตัวคือ Spirillum minus มีรายงานทางเอเชีย เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายคนได้โดยผ่านทางแผล รวมถึงทางตา จมูก หรือปาก โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคน คนติดต่อจากการสัมผัสกับสัตว์กลุ่มกัดแทะที่มีแบคทีเรียเหล่านี้ อาจจะจากการโดนกัด หรือการกินอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อจากน้ำลาย ฉี่หรือมูลสัตว์กลุ่มนี้ เป็นต้น

ท่านที่เลี้ยงหนู และสัตว์กัดแทะอื่นๆ ท่านต้องระมัดระวังอย่าให้โดนกัดมือเป็นโดยเด็ดขาด และรวมถึงเวลาเลี้ยง ก็เลี่ยงการสัมผัสน้ำลาย ฉี่ และมูลโดยมือ ควรสวมถุงมือ ล้างกรง เปลี่ยนน้ำบ่อย ดูแลรักษาหนูโดยปรึกษาสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ มิฉะนั้น ท่านอาจจะเสี่ยงต่อเชื้อนี้ได้ ”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน