จากอดีตที่เคยเป็นแค่เมืองผ่าน แต่วันนี้ “บุรีรัมย์” กลับกลายเป็นเมืองที่ใครๆ หลายคนอยาก Check-in และเป็นเมืองปลายทางที่หลายๆ คน ใฝ่ฝันจะมาเยือนให้ได้สักครั้ง

เพราะบุรีรัมย์วันนี้ นอกจากจะเป็นจังหวัดที่เติบโตเร็วแบบก้าวกระโดดแล้ว ยังเป็นจังหวัดที่มีสิ่งที่น่าสนใจ และดึงดูดให้ผู้คนหลั่งไหลมาเยี่ยมเยือนอย่างไม่ขาดสาย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ที่มีให้เลือกหลายแบบหลายสไตล์ ตั้งแต่การเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวสมัยใหม่ ในฐานะเมืองกีฬามาตรฐานโลก ที่มีแลนด์มาร์คสำคัญอย่างสนามช้างอารีน่า (Chang Arena Stadium) สนามฟุตบอลมาตรฐานโลก และสนามบุรีรัมย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต หรือ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต สนามแข่งรถมาตรฐานโลก

มาถึงจังหวัดบุรีรัมย์แล้ว หลายคนคงไม่พลาดมาแวะชิมผัดไทชื่อดังของจังหวัดบุรีรัมย์ ร้าน “ผัดไท ภูเขาไฟ บ้านครูกานต์” ร้านผัดไทย ที่ไม่เพียงมีดีแค่ความอร่อย แต่ยังเป็นผัดไทยที่เกิดจากการรวมพลังของชาวชุมชนและของดีจาก 23 อำเภอของจังหวัดบุรีรัมย์ มาไว้ในผัดไทย 1 จาน

ณัฐพัชร์ ล้อธีรพันธ์ หรือ คุณต่อ เจ้าของกิจการ ผัดไท ภูเขาไฟ บ้านครูกานต์ เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นมาจากความคิดของคุณแม่ – รัฐกานต์ ล้อธีรพันธ์ หรือ ครูกานต์ ที่อยากทำร้านอาหารเล็กๆ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชาวบ้านที่อยู่ละแวกใกล้เคียง โดยได้นำเมนูอร่อยของบ้าน คือ หมี่กรอบส้มซ่าสูตรเฉพาะของคุณยาย และผัดไทยสูตรลับของคุณย่า มาผสมผสานกันจนเป็น “ผัดไทหมี่กรอบส้มซ่า” ที่มีเอกลักษณ์ของรสชาติและความอร่อยที่ลงตัวไม่เหมือนใคร ใครได้ลองชิมเป็นติดใจ

เปิดที่มา “ผัดไทย” ต้นตำรับจาก “ภูเขาไฟ”

ณัฐพัชร์ กล่าวว่า “ผัดไทหมี่กรอบส้มซ่า” หรือใครรู้จักกันดีในชื่อ “ผัดไท ภูเขาไฟ” มาจากการที่บุรีรัมย์ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งภูเขาไฟของไทย เพราะมีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วมากถึง 6 ลูก ดินที่บุรีรัมย์ส่วนใหญ่จึงเป็นดินภูเขาไฟที่มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์มากมาย ทำให้ข้าวและพืชผลต่างๆ ที่ปลูกบนดินภูเขาไฟ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีรสอร่อย

“วัตถุดิบที่ใช้ทำผัดไทยของที่ร้านทั้งหมด เป็นวัตถุดิบจากในพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ อาทิ เส้นผัดไทยมาจากข้าวออร์แกนิคที่ปลูกบนดินภูเขาไฟ ทำให้มีความเหนียวนุ่ม มีแร่ธาตุอาหารสูง มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ ส่วนวัตถุดิบอื่นๆ เช่น หอม กระเทียม พริก ส้มซ่า น้ำตาลอ้อย ล้วนแต่เป็นผลผลิตของชาวบ้านที่ปลูกบนดินภูเขาไฟ เราเลยเรียกผัดไทยของที่ร้านว่า ผัดไทภูเขาไฟ”

“ผัดไทภูเขาไฟ” ของเด็ด จ.บุรีรัมย์

หลังจากที่ ณัฐพัชร์ ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 2 เข้ามารับช่วงการดูแลร้าน ได้มีการพัฒนาธุรกิจให้ทันสมัยและเติบโตขึ้น เช่น มีการคิดค้นการทำเส้นผัดไทยจากข้าวพันธุ์ต่างๆ อาทิ เส้นผัดไทข้าวสีนิล ผัดไทข้าวกล้อง รวมถึงมีการดัดแปลงเป็นผัดไทกึ่งสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มความสะดวกแก่ลูกค้าที่ต้องการซื้อไปทำรับประทานเองที่บ้าน โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารออมสิน หนึ่งในพันธมิตรของ “โครงการไทยเด็ด” ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนไทยให้มีความเข้มแข็ง เข้ามาช่วยสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาสินค้า และให้ความรู้ในการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติม

ทำให้ผัดไทภูเขาไฟกึ่งสำเร็จรูป บ้านครูกานต์ กลายเป็นสินค้าขายดี ที่ใครได้มีโอกาสไปเยือนจังหวัดบุรีรัมย์ ต้องหาซื้อติดไม้ติดมือฝากคนรู้จัก เป็น 1 ในของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดบุรีรัมย์

เพื่อช่วยวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการขนาดย่อมจากปัญหาดังกล่าว บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ บริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่ดำเนินธุรกิจด้านน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกชั้นนำของไทยและต่างประเทศ ที่มีวิสัยทัศน์ในการเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ควบคู่แนวคิดในการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมชุมชน เพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเติบโตไปด้วยกันอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน จึงได้จัดตั้ง “โครงการไทยเด็ด” โดยได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เฟ้นหาสินค้าสินค้าดีสินค้าเด่นประจำท้องถิ่น และนำจุดแข็ง คือ จำนวนสถานีบริการ PTT Station กว่า 1,900 แห่งทั่วประเทศ มาใช้เป็นช่องทางการจำหน่าย โดย “ผัดไทภูเขาไฟ บ้านครูกานต์” ได้รับการคัดเลือกจาก โออาร์ ให้เป็นสินค้า “ไทยเด็ด Select รุ่นแรก” วางจำหน่ายที่ “มุมสินค้าไทยเด็ด” ในสถานีบริการ PTT Station ที่เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ที่อยากลิ้มลองรสชาติของผัดไทภูเขาไฟต้นตำรับ

“ผัดไทยของเราเป็นที่รู้จักและหาซื้อสะดวกมากขึ้น หลังจากที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสินค้าไทยเด็ด Select ยอดขายต่อเดือนเพิ่มขึ้นจาก 25,000 บาท เป็น 480,000 บาท แต่ที่ทำให้เราดีใจมากกว่าคือ รายได้ที่กลับคืนสู่ชุมชนเพิ่มขึ้น เห็นได้ชัดจากที่เรารับซื้อวัตถุดิบ อาทิ ข้าว หอมแดง กระเทียม จากชาวบ้านเพิ่มขึ้น จาก 12 ครัวเรือน เป็น 40 ครัวเรือน และมีการจ้างงานชาวชุมชนเพิ่มขึ้น ทำให้ชาวบ้านมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคุณแม่ ที่ทำผัดไทภูเขาไฟขึ้นมา เพื่อให้ชาวชุมชนไม่ต้องไปหางานทำที่อื่น ครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา มีรายได้ที่มั่นคงและมีความสุขในการดำเนินชีวิตตามวิถีชาวบุรีรัมย์ ตรงตามความหมายของคำว่าบุรีรัมย์ ที่แปลว่าเมืองแห่งความสุข เมืองที่น่าอยู่สำหรับคนท้องถิ่น และเมืองที่น่าไปเยือนสำหรับคนต่างถิ่น” ณัฐพัชรกล่าวทิ้งท้าย

“ไทยเด็ด เด็ดที่ความคิดของคนไทย ที่ช่วยเหลือกัน”


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน