กระแสของยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังเติบโตไปอย่างรวดเร็ว ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของการใช้ EV เป็นหลัก และความต้องการใช้รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปลดลง เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติมลภาวะและรักษาสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยเองก็อยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคที่ EV สามารถพบเห็นและมีการใช้งานกันเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งวันนี้สังคมของ EV ในบ้านเรามีความพร้อมแค่ไหน EV ดีแค่ไหน สะดวกไหมถ้าใช้ในไทยในตอนนี้ คุณประสงค์ อินทรหนองไผ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนานวัตกรรมและดิจิทัล ปตท. ช่วยปฏิบัติงาน บริษัท อรุณ พลัส จำกัด ในตำแหน่ง Head of OEM Partnership หนึ่งในคีย์แมนคนสำคัญที่ร่วมขับเคลื่อน บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS)” หรือเดิมในชื่อบริษัท ออน-ไอออน โซลูชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ ปตท.ถือหุ้น 100% สำหรับดำเนินธุรกิจในด้าน EV Value Chain เพื่อรองรับการขยายฐานธุรกิจด้าน EV และสร้าง Ecosystem สำหรับรถไฟฟ้าให้กับสังคมไทย ได้พูดคุยถึงเรื่องนี้อย่างเข้าใจง่ายและตรงประเด็น

คุณประสงค์ อินทรหนองไผ่ เปิดเผยว่า ภารกิจของ ARUN PLUS คือ การเข้ามาดำเนินการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ EV Value Chain ของ ปตท. โดยมีพันธกิจสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่

  1. การลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ เพราะแบตเตอรี่ถือเป็นชิ้นส่วนหลักของตัวรถ EV เนื่องจากแบตเตอรี่คิดเป็นสัดส่วนถึง 3040% ของราคายานยนต์ไฟฟ้า เพราะฉะนั้นก็ต้องมีการเชื่อมโยงกับการลงทุนเกี่ยวกับแบตเตอรี่ด้วย
  2. การผลิต เนื่องจากการผลิต EV มีตั้งแต่ Electronic Component ซึ่งบางเทคโนโลยีก็เสนอที่จะผลิตเป็นแพลตฟอร์มเพื่อที่จะสามารถเป็น Common Part ที่นำไปต่อโครงท็อปแพทข้างบน เป็นตัวรถขึ้นมาได้ หรือนำไปสู่การประกอบตัวรถทั้งคัน นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (EBike) รถมินิแวน รถบัส หรือ EBus และอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้โดยการหาโมเดลทางธุรกิจร่วมกับพาร์ทเนอร์ ที่เปิดโอกาสให้ทั้งบริษัทคนไทยและต่างชาติที่มีองค์ความรู้ มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้พร้อมเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์”
  3. การตลาด ที่ต้องทำให้สอดคล้องกับทิศทางของการตลาดสมัยใหม่ ในด้านนี้ ARUN PLUS ทำแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่รวบรวมความต้องการของลูกค้าทั้งหมดที่จะสามารถตอบสนองได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมา และมีแผนที่จะ Launch ออกมาในเร็ว ๆ นี้ สำหรับคนที่ยังไม่ค่อยรู้จัก EV บางคนอยากจะทดลองใช้ ทดลองขับ ทดลองดูว่าชาร์จไฟแล้วจะเป็นอย่างไร EV มีข้อดีข้อเสียต่างจากรถที่ใช้น้ำมันอย่างไร ก็สามารถมาทดลองใช้บริการแพลตฟอร์มนี้ได้ ซึ่งลำดับถัดไป ก็จะมีการเชื่อมโยงไปสู่โปรแกรม Royalty ต่าง ๆ ที่จะลิงก์ไปสู่เซอร์วิสใหม่ ๆ เช่น การขาย การให้บริการแบบครบวงจรในแอปพลิเคชั่นเดียว

  • ไม่ใช่แค่ผลิตใช้ในประเทศ แต่สามารถส่งออกได้

คุณประสงค์ ได้หยิบตัวอย่างของประเทศจีนมาเล่า ที่เห็นวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งใครเคยไปเมืองจีนจะเห็นว่าท้องฟ้าออกสีเหลืองๆ และหนึ่งในสาเหตุหลักก็คือ การใช้เชื้อเพลิง ถ่านหินผลิตไฟฟ้าในช่วงแรก ซึ่งจีนก็พยายามเปลี่ยนจากถ่านหินมาใช้ก๊าซธรรมชาติ พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ EV มากยิ่งขึ้น จีนไม่ได้ส่งเสริมแค่ภาคการใช้งาน แต่ยังสนับสนุนภาคการผลิตผู้ประกอบการด้วย จนวันนี้จีนก้าวมาเป็นผู้นำ ที่เรียกได้ว่าเป็นผู้นำในการผลิต EV รายใหญ่ของโลก ทั้งผลิตรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) และ EV รวมถึงแบรนด์ใหม่ๆ หลายแบรนด์ที่มีบริษัทจีนเป็นสตาร์ทอัพในการออกแบบ พัฒนา และสร้างนวัตกรรม ต้องมองว่าเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่ง ARUN PLUS ก็คิดว่า ทำอย่างไรจะพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้ตามรอยของจีนได้ และไม่ใช่แค่ผลิตใช้ในประเทศของเรา แต่ผลิตเพื่อให้ได้ Economy of scale ที่สามารถส่งออกได้

ตัวอย่างในหลายๆ ประเทศเกิดขึ้นได้เพราะภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ซึ่งสิ่งสำคัญหนึ่งในนั้นคือเราจะต้องเปลี่ยนการใช้รถที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน มาใช้รถพลังงานสะอาด คนไทยยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับ EV บริการและแพลตฟอร์มของ ARUN PLUS ก็ช่วยเสริมประสบการณ์ในส่วนนี้ได้ หรืออย่างตอนนี้ OR ก็มีแผนขยายสถานีชาร์จ EV ในไทยที่อยู่ในสถานีบริการน้ำมันเยอะพอสมควร ARUN PLUS เองก็พยายามมองหาจุดชาร์จ EV ที่อยู่นอกสถานีบริการน้ำมัน เช่น ศูนย์ประชุม ห้างสรรพสินค้า ทาวน์โฮม คอนโด อยู่ด้วยเหมือนกัน

  • ประกันแบตเตอรี่ 8 ปี กับค่าซ่อมบำรุง 3 ปี จ่ายหลักพัน

คุณประสงค์ บอกว่า เพราะ EV ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ไม่มีหม้อไอน้ำ ไม่มีระบบเกียร์ ดังนั้นการซ่อมบำรุง EV จะซ่อมบำรุงแบบแห้ง ซึ่ง ARUN PLUS มีข้อมูลจากบริษัทรถที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ได้ประมาณการค่าบำรุงรักษา รถเก๋งขนาดกลาง 100,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 3 ปี (ส่วนใหญ่คนใช้ประมาณ 30,000 กิโลเมตรต่อปี) ค่าบำรุงรักษาจะอยู่ที่เฉลี่ย 8,000 บาทต่อครั้ง ขณะที่อายุการใช้งานแบตเตอรี่ ทางผู้ประกอบการหรือบริษัทผลิตรถยนต์ จะการันตีอายุของการใช้งานแบตเตอรี่ โดยรถเก๋งขนาดกลาง การันตี 8 ปี บางรายให้ 10 ปี ซึ่งนานพอสมควรสำหรับการใช้งานทั่วไป

คำว่าแบตเตอรี่เสื่อมในวงการรถยนต์ จะมองกันที่ต่ำกว่า 70% จาก 100% ปีแรก ใช้ไป 8 ปี ตามอายุรับประกัน เช่น จากที่วิ่งได้ 300 กิโลเมตร แบตเตอรี่ใช้ได้ 70% ทำให้วิ่งได้ 200 กิโลเมตร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คุณประสงค์ ได้มองว่า ถึงระยะทางที่วิ่งต่อการชาร์จจะน้อยลง แต่ตัวแบตเตอรี่ที่เสื่อมสามารถนำไปใช้ในธุรกิจอื่นได้ โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System : ESS) เช่น ระบบโซลาร์เซลล์ วินด์ฟาร์ม เราสามารถใช้แบตเตอรี่ที่เสื่อมไปกักเก็บพลังงานและจ่ายพลังงานนอกเวลาการผลิตได้ ผมเชื่อว่าเทรนด์จะถูกนำไปใช้เป็นแบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

อนึ่ง เป็นก้าวที่จะต้องติดตามต่อไปสำหรับวงการยานยนต์ไฟฟ้าของ ARUN PLUS ว่าจะไปถึงจุดไหน แต่โดยรวมถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ เพราะเป็นธุรกิจที่มุ่งหวังจะช่วยสร้าง Ecosystem สำหรับยานยนต์พลังงานไฟฟ้าให้กับคนไทย

ปีนี้จะได้เห็นความก้าวหน้าในการขยายการลงทุน ซึ่งก็จะมีทั้งกลุ่มที่เป็นหุ้นส่วนจากต่างประเทศ กลุ่มที่มีประสบการณ์ เทคโนโลยีต่างๆ เพราะเป้าหมายเราไม่ใช่เฉพาะตลาดในประเทศ แต่เน้นลงทุนที่ Economy of scale ขยายธุรกิจไปสู่การส่งออกด้วย เพื่อต่อยอดความเป็นผู้นำเรื่องของการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยคุณประสงค์ กล่าวทิ้งท้าย


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน