ในวัยชรา มักพบความผิดปกติของร่างกายหลายอย่าง รวมถึงโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของสมอง เช่น “โรคพาร์กินสัน”ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ถึงปัจจุบันจะไม่มีวิธีรักษาที่หายขาด

แต่การรักษาที่ทันสมัยและนวัตกรรมใหม่ๆในปัจจุบันช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ป่วยได้สามารถช่วยเหลือตัว

เองได้มากขึ้นโรงพยาบาลเมดพาร์คจึงร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันโรงพยาบาลจุฬาลง

กรณ์นำเสนอนวัตกรรมและการรักษาผู้ป่วยพาร์กินสันในงานแถลงข่าวออนไลน์“ไม้เท้าเลเซอร์นวัตกรรมไทยเพื่อผู้ป่วยพาร์กินสัน” เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม2564โดยมี นพ. พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค ศ.ดร.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ประสาทวิทยา โรงพยาบาลเมดพาร์ค และ พญ. อุไรรัตน์ ศิริวัฒน์เวชกุล หัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเมดพาร์ค ร่วมแถลงข่าว

โรคพาร์กินสันเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณแกนสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสารสื่อประสาทในสมองเสียสมดุลไป จึงทำให้การเคลื่อนไหวมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการสั่น เกร็ง หรือกระตุกของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ เช่น แขน ขา หรือคอ ซึ่งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบาก ทรงตัวได้ไม่มั่นคงก้าวขาไม่ออกทำให้กระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมากเพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บจากการหกล้ม

ศ.ดร.นพ.รุ่งโรจน์ จึงคิดค้นและพัฒนา “ไม้เท้าเลเซอร์” เพื่อช่วยปัญหาการเคลื่อนไหวร่างกายขัดข้อง เช่นการเดินติดขัดก้าวไม่ออกทำให้ล้มได้ง่ายเพราะสูญเสียการทรงตัวโดยอาศัยหลักการของสิ่งกระตุ้นทางสายตา มุ่งใช้เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดปัญหาการเดินติดขัด และเพิ่มความมั่นคงในการเดิน ให้ทุกก้าว เป็นก้าวที่ปลอดภัย “เราต้องพยายามเข้าใจว่าคนไข้ต้องการอะไรการทำนวัตกรรมอะไรออกมาต้องตอบโจทย์ผู้ป่วยปัญหาการเดินจึง เป็นปัญหาหลักของผู้ป่วยพบประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจึงต้องหาทางทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นอุปกรณ์ต้องตอบโจทย์ผู้ป่วยที่มีอาการก้าวเดินติดขัด”ศ.ดร.นพ.รุ่งโรจน์กล่าวไม้เท้าเลเซอร์ออกแบบด้วยลักษณะพิเศษคือการฉายแสงเลเซอร์ด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยกระตุ้นสายตาของผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีปัญหาเรื่องการก้าวเดินแสงเลเซอร์จะ

กระตุ้นสายตาให้ก้าวเดินได้ดีขึ้น และแสงสีเขียวจะกระตุ้นจอประสาทตาสำหรับผู้สูงอายุ ใช้ได้ทั้งกลางวัน และกลางคืนและเพื่อการใช้งานที่ดียิ่งขึ้นสามารถปรับตำแหน่งระยะแสงเลเซอร์ได้ตามลักษณะการก้าวเดินของผู้

ป่วยแต่ละคน ตัวไม้เท้ามีน้ำหนักเบา และออกแบบให้มีความโค้งในส่วนปลาย หักมุม 15 องศา เพื่อลดโอกาสการสะดุดของผู้ป่วย รองรับน้ำหนักได้ 120-150 กิโลกรัม ตอบโจทย์ผู้ป่วยได้หลากหลาย มุ่งสร้างความมั่นใจทุกการก้าวเดินให้มั่นคงและปลอดภัยแน่นอนว่าผู้ป่วยหลายๆคนคงอยากมีช่วงเวลาที่สามารถ กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติซึ่งผู้ป่วยโรคพาร์กินสันสามารถกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมได้หากมีการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอซึ่ง พญ.อุไรรัตน์ กล่าวว่า ยิ่งเวลาผ่านไปผู้ป่วยยิ่งมีการย่อตัวลงไปเรื่อยๆ เนื่องจาก ไม่ได้ใช้ กล้ามเนื้อทุกส่วนซึ่งสิ่งที่เจอมากคือการยึดติดเอ็นของข้อทำให้ผู้ป่วยหลายรายมีการเดินหลังค่อมและงอเข่าซึ่ง ผู้ป่วยควรได้รับการสอนใช้อุปกรณ์สอนการเตรียมยืดกล้ามเนื้อไม้เท้าเลเซอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์ เพราะผู้ป่วยสามารถใช้ไม้เท้าในการช่วยปรับการเคลื่อนไหวฝึกยืนยืดเหยียดกล้ามเนื้อฝึกบาลานซ์ตัวปรับจังหวะ

การเดินให้ดีและสม่ำเสมอมากขึ้นช่วยให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เคลื่อนไหวร่างกายเป็นไปได้อย่างราบรื่น

 

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ แห่งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้พัฒนาไม้เท้าเลเซอร์มาอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนถึง 8 รุ่น เพื่อให้ตอบโจทย์ การใช้งานจริง ทั้งนี้สถิติการเป็นโรคพาร์กินสันสูงขึ้น มีสถิติทั่วโลกประมาณ 7-10 ล้านคน โรงพยาบาลเมดพาร์ค เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยมีเป้าหมายในการสนับสนุนการกระจายนวัตกรรมไม้ เท้าเลเซอร์ จึงได้ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มอบไม้เท้าเลเซอร์ พระราชทานให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย และกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังบรรเทาอาการการเดินติดขัดในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและผู้มีปัญหาด้านการเดินให้ช่วยเหลือดูแลตนเองได้ ก้าวเดินได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

สำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน หรือผู้สูงอายุที่มีความเดือดร้อน สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ประสาทวิทยา โรงพยาบาลเมดพาร์ค หรือ ศูนย์พาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือเบอร์ 02-090-3114 เพื่อขอ รับไม้เท้าเลเซอร์พระราชทานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน