พระอริยเวที วัดสุทธจินดา : อริยะโลกที่ 6

คอลัมน์ – อริยะโลกที่ 6

อริยะโลกที่ 6 – พระอริยเวที หรือ หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล เป็นพระเถระผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่ประจักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา อดีตเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน และอดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา

หลวงปู่เขียน เป็นพระเถราจารย์ ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์

อีกทั้ง เป็นสหธรรมิกกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวัฑฒโน) และ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ตั้งแต่ครั้งสมัยที่ท่านทั้งสามยังมีอายุพรรษาไม่มากนัก

มีนามเดิมว่า เขียน ภูสาหัส เกิดเมื่อวันที่ 29 .. 2456 ที่บ้านโพน .โพน .คำม่วง .กาฬสินธุ์

เข้าพิธีบรรพชา เมื่อวันที่ 6 .. 2470 ที่วัดสุทธจินดา .เมือง .นครราชสีมา

ครั้นเมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 26 .. 2477 มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระญาณดิลก (พิมพ์ ธัมมธโร) เป็นพระอนุสา วนาจารย์

..2485 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในสังกัดสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

ลำดับงานคณะสงฆ์ ..2478-2481 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดสุทธจินดา และวัดศาลาทอง จังหวัดนครราชสีมา

..2482 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร และสำนักเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์

..2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสังฆสภา

..2490 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา

..2494 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา

ลำดับสมณศักดิ์ ..2490 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระอริยเวที

เข้ากราบฟังธรรม ปฏิบัติธรรมในสำนักของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลังจากที่จบเปรียญธรรม 9 ประโยคใหม่ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) นำไปฝาก

ทั้งนี้ เพื่อประสงค์ให้ท่านได้เป็นศาสนทายาทที่มีความหนักแน่นมั่นคง ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุสามเณรในภายภาคหน้าเมื่อได้ฟังธรรม และรับคำแนะนำในการปฏิบัติเป็นอย่างดีแล้ว จึงได้ออกเดินธุดงค์กรรมฐานไปตามป่าเขาลำเนาไพรในจังหวัดต่างๆ จนออกไปถึงประเทศลาว และแวะเวียนมากราบฟังธรรมเป็นระยะๆ

ด้วยผลานิสงส์แห่งการปฏิบัติธรรมจากสำนักของท่านพระอาจารย์มั่น ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทางด้านวิปัสสนาธุระของประเทศไทย โดยเมื่อครั้งได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่น กัณฑ์แรกเรื่องโทษของการเกิดและกัณฑ์ที่สองเรื่องมุตโตทัย (ธรรมะเป็นเครื่องพ้น) หลวงปู่เขียน ถึงกับลุกจากที่นั่งไปกราบพระอาจารย์มั่น พร้อมกล่าวคำปฏิญาณตนอย่างเด็ดเดี่ยวต่อหน้าพระอาจารย์มั่นเป็นภาษาบาลีว่า

สาสเน อุรํ ทตฺวา ขอมอบกายถวายชีวิตทั้งหมดนี้แก่พระพุทธศาสนา ชีวิตทั้งชีวิตนี้ขอมอบไว้ในพระศาสนา ขอให้ท่านพระอาจารย์โปรดเป็นสักขีพยานด้วยเถิด

จากนั้นตราบจนสิ้นอายุขัย หลวงปู่เขียนได้กระทำสัจวาจานั้นให้เป็นที่ปรากฏแก่ชนทั้งหลาย ถึงความเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส ผู้บริสุทธิ์หมดจดงดงามในธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

ทั้งอุทิศตน ทั้งบำเพ็ญปฏิบัติทางด้านประโยชน์ให้แก่ทางด้านพระพุทธศาสนาไม่น้อย ทั้งด้านการศึกษา ทางด้านการปกครอง ท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ต่อมาได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ของวัดสุทธจินดา ท่านได้บริหารวัด ช่วยสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้กับวัด ทั้งตั้งเป้าหมายสูง มีระเบียบกับสามเณรและภิกษุสงฆ์อย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการคัดเลือกหมู่คณะ ให้ไปรับการอบรมเป็นนักเรียนครู และนักเรียนการปกครอง ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เพื่อให้กลับมาเป็นบุคลากรบริหารวัดช่วยเจ้าอาวาส

อนุสรณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ท่านได้ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิสุทธจินดาราชสีมามูลนิธิ

ต่อมา ได้ลาออกจากตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา และตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา แล้วออกธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างจริงจังอยู่ในป่าในถ้ำ จนเป็นที่พอแก่กาลแล้ว จึงกลับมาสู่มาตุภูมิและสร้างวัดรังสีปาลิวันในปัจจุบัน เพื่อนำพระภิกษุสามเณร ประชาชนศึกษาธรรมและประพฤติธรรมจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

ละสังขาร เมื่อวันที่ 21 .. 2547 สิริอายุ 90 ปี พรรษา 68

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน