พระนั่ง วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา

คอลัมน์ คติสัญลักษณ์

โดย…ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

พระนั่ง วัดพนัญเชิง – พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง ที่พระราชทานนามโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ .พระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูป ปูนปั้นปิดทอง นักโบราณคดีกำหนดเป็นพุทธศิลป์สมัยอู่ทองตอนปลาย

ปางสมาธิ หรือ นั่งสมาธิเรียบ หงายพระหัตถ์ (มือซ้ายบนตัก ส่วนมือขวาคว่ำลง อันเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศชัยชนะต่อพญามารของฝ่ายเถรวาท ส่วนฝ่ายมหายานกล่าวถึงคติแห่งการแสดงความเป็นผู้อยู่เหนือโลก หรือการพ้นไปจากสังสารวัฏด้วยการชี้นิ้วพระหัตถ์ลงไปอยู่เหนือโลก

พระพุทธรูปองค์นี้อายุยาวนาน จากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิต์ กล่าวว่าสถาปนาพระพุทธรูปองค์นี้ในปี ..1867 ก่อนพระเจ้าอู่ทอง จะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี

ตามตำนานพงศาวดารเหนือที่เรียบเรียงจากตำนานเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยพระวิเชียรปรีชา (น้อย) ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์กล่าวถึง พระเจ้าสายน้ำผึ้ง สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระนางสร้อยดอกหมาก ลูกเลี้ยงพระเจ้ากรุงจีน พระราชทานเป็นมเหสี

เปรียบเทียบยุคสมัยของพระเจ้าสายน้ำผึ้งกับปีที่สถาปนา พระไตรรัตนนายกและจักรพรรดิจีน ตกอยู่ในสมัยราชวงศ์หยวนตอนปลาย ระหว่างฮ่องเต้หยวนจินจงกับฮองเต้หยวนเทียนซุนตี

นั่นอาจจะพอคาดเดาได้ว่า ในเวลานั้นอยุธยา ต้องเป็นเมืองใหญ่ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ร่ำรวย การสร้างศาสนสถานที่ใหญ่โตจึงจะสร้างได้และด้วยความเป็นศูนย์อำนาจทางสังคม เศรษฐกิจ จึงทำให้การเข้ามาสถาปนากรุงศรีอยุธยาของพระเจ้าอู่ทอง เป็นเมืองหลวงหรือศูนย์กลางอำนาจในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ใหญ่โตที่สุดของดินแดนสุวรรณภูมิที่ยาวนานกว่า 400 ปี

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน