ข่าวสดพระเครื่อง

พระพุทธรูป ภปร รุ่นแรก (กฐินต้น) พ.ศ.2506 วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี

วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งที่มีอายุเกินกว่า 100 ปี

1-%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b-%e0%b8%a0%e0%b8%9b%e0%b8%a3-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b9%89_opt-1

อีกทั้งมีความสำคัญต่อ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกล มหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ เป็น สามเณร เจริญ คชวัตร กระทั่งได้ย้ายมาประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

1-%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b-%e0%b8%a0%e0%b8%9b%e0%b8%a3-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b9%89_opt

ภายหลังได้ทรงเป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ “พระภูมิพโลภิกขุ” เมื่อครั้งยังดำรงพระสมณ ศักดิ์ที่ “พระโศภนคณาภรณ์”

2-%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b-%e0%b8%a0%e0%b8%9b%e0%b8%a3-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b9%89_opt-1

ด้วยความสำคัญดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานเป็นการส่วนพระองค์ ในปีพุทธศักราช 2506 ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ด้วยพระราชศรัทธาประสาทะ

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b-%e0%b8%a0%e0%b8%9b%e0%b8%a3-5%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%a7_opt

“พระเทพมงคลรังสี” (ดี พุทธโชติ) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระมงคลรังสีวิสุทธิ์” และเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น พร้อมด้วยคณะกรรมการ ประกอบด้วย หลวงกัมปนาทแสนยากร เป็นประธาน และ พระสาสนโสภณ (สมณศักดิ์ในขณะนั้นของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก) เป็นที่ปรึกษา

2-%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b-%e0%b8%a0%e0%b8%9b%e0%b8%a3-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b9%89_opt

ได้มีความเห็นพร้อมกันว่า ในการพระราชพิธีนี้ นับเป็นมหามงคลโอกาสควรจัดสร้างพระพุทธรูปปางประทานพรเป็นที่ระลึกและเพื่อให้ประชาชนได้มีไว้สักการบูชา โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญ ‘อักษรพระปรมาภิไธย ภปร’ ประดับเหนือผ้าทิพย์

ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรม ราชานุญาตทุกประการ

กล่าวสำหรับพระพุทธรูปที่จัดสร้างนั้น ได้ขออนุญาตใช้แบบพระพุทธรูปของโรงพยาบาลศิริราชที่สร้างขึ้นในคราวงานฉลองครบรอบ 72 ปีมาเป็นแบบ โดยแก้ไขให้นิ้วพระหัตถ์กระดิกมากขึ้นพร้อมเพิ่มผ้าทิพย์ประดับ ‘อักษรพระปรมาภิไธย ภปร’ ที่ฐานด้านหน้าและมอบให้ช่างปั้นชุดเดียวกับที่ปั้นหล่อ “พระพุทธรูปฉลอง 72 ปีโรงพยาบาลศิริราช”

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b-%e0%b8%a0%e0%b8%9b%e0%b8%a3-9%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%a7_opt

ส่วนแผ่นโลหะที่จะใช้บรรจุในเบ้าหล่อพระพุทธรูป คณะกรรมการได้นิมนต์ไปให้พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในยุคนั้น ลงอักขระเลขยันต์คาถาแห่งละ 17 แผ่น อาทิ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) วัดสระเกศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ, พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา และพระคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกอีกหลายรูป

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b-%e0%b8%a0%e0%b8%9b%e0%b8%a3-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99-_opt-1

ส่วนแผ่นโลหะ ทองคำ นาก เงิน อย่างละ 34 แผ่น รวมทั้งหมด 102 แผ่น สำหรับทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงบรรจุในเบ้าหล่อพระพุทธรูปนั้น พระมงคลรังสีวิสุทธิ์ (หลวงปู่ดี พุทธโชติ) เป็นผู้ลงอักขระยันต์ตามสูตรของวัดเทวสังฆาราม

กำหนดการเทหล่อพระพุทธรูป วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2506 หลังการเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินพระราชทานแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรา ลงกรณ์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เสด็จเข้ามณฑลพิธีทรงบรรจุแผ่น ทองคำ นาก เงิน ลงในเบ้าหลอม “พระพุทธรูป ภปร” ทั้ง 17 เบ้าโดยมีพระมหาเถระและพระเถระ 9 รูป ตลอดทั้งพระสงฆ์ในบริเวณมณฑลพิธี 20 รูปเจริญชัยมงคลคาถา โหรลั่นฆ้องชัย เสร็จแล้วเสด็จออกจากมณฑลพิธี

วัดเทวสังฆาราม ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ก่อนมอบให้แก่ผู้สั่งจอง โดยรายได้จากการบูชาพระพุทธรูป ภปร ครั้งนั้นได้นำไปใช้ในการบูรณะวัดเทวสังฆาราม สร้างฌาปนสถานและซื้อที่ดินถวายวัดเพิ่มเติมสำหรับ จัดสร้างโรงเรียนมัธยมวัดเทวสังฆาราม

พระพุทธรูป ภปร รุ่นแรก (กฐินต้น) พ.ศ.2506 วัดเทวสังฆาราม เป็นพระพุทธรูปปางประ ทานพร ศิลปะสุโขทัยประยุกต์ ประดับผ้าทิพย์ ภปร พระ พุทธรูป มีพุทธลักษณะงดงาม มีการจัดสร้างด้วยกัน 2 ขนาด ได้แก่ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว และขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว จัดสร้างเป็นเนื้อทองผสมและรมดำ ใต้ฐานเทหล่อด้วยดินไทยโบราณ

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b-%e0%b8%a0%e0%b8%9b%e0%b8%a3-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99-_opt-2

นอกจากการจัดสร้างพระบูชา ในพิธีพุทธาภิเษกที่ จัดขึ้นนี้นอกจากพระพุทธรูปบูชา ภปร ยังได้มีการจัดสร้างเป็นเหรียญวัตถุ มงคล เรียกว่า ‘เหรียญพระกฐินต้น พ.ศ.2506 วัดเทวสังฆาราม’

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b-%e0%b8%a0%e0%b8%9b%e0%b8%a3-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99-_opt-3

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงกลม มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการระบุไว้แน่ชัด

ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปพระพุทธสุทธิมงคล ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดเทวสังฆาราม ด้านบน เขียนคำว่า “พระพุทธสุทธิมงคล” ใต้รูปเหมือนพระประธาน เขียนคำว่า “วัดเทวสังฆาราม-พระอารามหลวง”

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b-%e0%b8%a0%e0%b8%9b%e0%b8%a3-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99-_opt

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปช้างสามเศียร ด้านข้างช้างสามเศียร เป็นเทวดา 2 องค์ ด้านบนช้างสามเศียร เขียนคำว่า “ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน”

%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%8d%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%90%e0%b8%b4%e0%b8%992506-%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad_opt

ใต้รูปช้างสามเศียร เขียนคำว่า “๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๖” ซึ่งตราช้างสามเศียรนี้ได้ใช้เป็นโค้ดที่ตอกอยู่บริเวณด้านหลังพระพุทธรูป ภปร ปี ๐๖

%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%8d%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%90%e0%b8%b4%e0%b8%99-2506-%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89_opt

จำเนียรกาลผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูป ภปร วัดเทวสังฆาราม ปี 2506 ถือว่าหาได้ยากยิ่ง มีคุณค่าทั้งด้านประติมากรรม ด้านประวัติศาสตร์และยังเป็นที่จดจำของปวงชนชาวไทย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน