เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ยื่นหนังสือเสนอ 8 มาตรการช่วยชาวสวนยาง “รับจำนำยาง” เร่งแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ

รับจำนำยาง / 4 ก.ย. 61 ที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียางเพื่อชุมชน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง นายประทบ สุขสนาน รองประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ ได้ยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานกรรมการ การยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) เพื่อให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา ราคายางพาราตกต่ำ

เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ยื่นหนังสือเสนอ 8 มาตรการช่วยชาวสวนยาง “รับจำนำยาง” เร่งแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ

“ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางเป็นอย่างมาก เกษตรกรมีรายได้ไม่พอกับการเลี้ยงชีพ มีภาระหนี้สินล้นพ้นตัว เครือข่ายชาวสวนยางภาคใต้ได้จัดประชุมที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 1 ก.ย.61 มีตัวแทนจากหลายจังหวัดเข้าร่วมประชุม”

รายงานข่าวว่าได้ข้อสรุปนำเสนอต่อประธานกรรมการ การยางแห่งประเทศไทย ให้เร่งดำเนินการปรับปรุง และนำมาปฏิบัติ 8 ข้อ 1 ให้เร่งโครงการการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ สนับสนุนให้หน่วยธุรกิจการยาง กลับมาดำเนินการ พร้อมดูแลตลาด เปิดตลาดไทยคอมฯ ประมูลวันละ 2 ครั้ง เร่งเข้ามาปรับปรุงตลาดกลางและเชื่อมโยงตลาดเครือข่ายของตลาดกลาง และสร้างโรงงานล้อยางแห่งชาติโดยใช้งบกลาง

รายงานข่าวว่าพื้นที่ปลูกยางที่เคยได้รับการสงเคราะห์ปลูกแทน หรือบัตรสีชมพู ให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ ที่ควรจะได้จากการจัดสรรเงินเซส การรับปุ๋ยโดยวิธีโอนสิทธิ์ผ่านการประมูลหรือให้สถาบัน หรือให้สถาบันเกษตรกรจัดการ โดยมีกติกา เช่น เข้าร่วมโครงการเป็นจุดจ่ายปุ๋ยโดยมีระเบียบรองรับ การจ่ายเงินเข้าสมุดบัญชีเจ้าของสวนยางต้องมีเงื่อนไขกติกา เช่นใบเสร็จที่นำส่ง พสย. ต้องเป็นไปตามระเบียบ และต้องตั้งกรรมการสุ่มตรวจทุกสาขา การออกหนังสือยุติการประกาศการจัดซื้อปุ๋ยผ่านระบบ Ebriding ขอให้คณะกรรมการยกร่างทีโออาชี้แจงเจตนารมณ์ในข้อ 2.14

รายงานข่าวว่าการบริหารงานของรักษาการผู้ว่าการยางเหมือนขายฝัน พูดมากกว่าทำ ไม่กล้าตัดสินใจไม่กระจายอำนาจ เช่น การสั่งหยุดโรงงาน 4,5,6 ผลผลิตเข้าสู่บริษัทไหนทำไมไม่ขายยางแล้วซื้อยางก้อน ยางถ้วย เพื่อเป็นการค้านอำนาจตลาดผูกขาด และการสั่งหยุดกิจการจนไม่มีการซื้อขายใดๆนั้นทำให้เป็นอัมพาตกันหมด

รายงานข่าวว่าการตั้งที่ปรึกษาของรักษาการผู้ว่าการการยาง ที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับที่มาของหลายคน ขอแก้ไขผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับยางทั่วประเทศ โดยให้ตรวจสอบดูที่บริษัทใหญ่ ได้ขออนุญาตก่อนปี 58 แต่ยังไม่ก่อสร้างมีจำนวนเท่าไร เพราะบริษัทเหล่านี้เอาเปรียบผู้อื่น ให้มีการชดเชยรายได้ให้ชาวสวนยาง และข้อ 8. การจำนำยาง

ทางด้าน พล.อ.ฉัตรเฉลิม กล่าวว่า ได้มีการพูดคุยในบางส่วนแล้วและขณะนี้ปัญหาต่าง ๆที่ตัวแทนชาวสวนยางยื่นเสนอทางบอร์ด กยท.มีแผนในการแก้ปัญหาแล้ว ซึ่งพร้อมจะดำเนินการต่อไป ขณะเดียวกันทางผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองรับทราบมาโดยตลอด

“วิธีการแก้ไขไม่สามารถเปิดเผยได้ สำหรับแนวโน้มราคายางพาราที่ผ่านมาราคาไม่เป็นไปตามธรรมชาติ แต่รัฐบาลพยายามแก้ไข และพูดคุยกับส่วนที่เกี่ยวข้อง คิดว่าในอนาคต ราคายางพารา น่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในที่สุด” พล.อ.ฉัตรเฉลิม กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน