แรงงานก็มา! กลุ่มคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย พร้อม สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรม “เนื่องในวันกรรมกรสากล” ยื่น 14 ข้อเสนอรัฐบาล ขึ้นค่าแรง สวัสดิการที่เท่าเทียม

1 พ.ค. 65 – ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์( สรส.)

นำโดยนายสายิทย์ แก้วหวาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นายมานพ เกือรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) น.ส.สุธาสินี แก้วเหล็กไหล นักสิทธิแรงงาน เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ

เข้าร่วมกิจกรรม “เนื่องในวันกรรมกรสากล” และยื่นข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากลปี 2565 ต่อนายกรัฐมนตรี ที่ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล โดยมีกลุ่มแรงงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 800 คนเข้าร่วมกิจกรรม

ทั้งนี้ได้มีแกนนำ จากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ สลับกันขึ้นปราศรัยในข้อเสนอให้กับรัฐบาล วันกรรมกรสากล ประจำปี 2565 จำนวน 14 ข้อ คือ 1. กำหนดค่าจ้างแรงงานเป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน รัฐต้องปรับค่าจ้างชั้นต่ำ 492 บาท เท่ากันทั้งประเทศ

2. ต้องควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพะราคาน้ำมัน เพื่อ ได้ เพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานซึ่ง ส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อให้สามารถชับเคลื่อนกิจกรรมเศรษฐกิจฐาน ล่างในภาพรวมได้อย่างแท้จริง

3.รัฐต้องหยุดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกรูปแบบ และให้มีการปฏิรูป
รัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการให้บริการที่ดี มีคุณภาพเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน 4. ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

5.รัฐต้องปฏิรูปการประกันสังคม คือ รัฐต้องดั่งโรงพยาบาลประกันสังคมให้กับผู้ประกันตน ตามสัดส่วน ผู้ประกันตนแต่ละพื้นที่ พร้อมกับผลิตแพทย์ พยาบาลและบุคลากร ด้านอื่น ๆ ของสำนักงานประกันสังคมเองสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถาปันการเงินของผู้ใช้แรงงาน(ธนาคารแรงงาน)

6. ด้านสาธารณสุข ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มี 7. รัฐบาลต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) 8. ฐบาลต้องยกเลิกนโยบายการจำกัดอัตรากำลังบุคลากรภาครัฐ รัฐเลิกนโยบายการลดสิทธิประโยชน์ สวัสดิการของพนัก

9. รัฐต้องกำหนดให้ลูกจ้างภาครัฐในหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนกลาง ครอบครัวลท้องถิ่นรับค่าจ้างจากบประมาณแฝนดิน และต้องบรรจุเป็นข้าพนักงาน หรือลูกจ้างประจำ 10. รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติและการบังคับใชักฎหมายอย่างเคร่งครัด ก็นายจ้างเลิกจ้างคนงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย หรือจ่ายไม่ครบที่กฎหมาย

11. รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน โดยให้นายจ้าง เงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิ์ของลูกจ้างหากมีการเลิกจ้างหรือปิดกิจการ โดยนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย คนที่ได้สิทธิ์รับเงินจากกองทุนนี้

12. รัฐต้องพัฒนากลไกเช้าถึงสิทธิและการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างจริงจัง 13. รัฐต้องยกเลิกการจ้างงานที่ไม่มั่นคง เช่น การจ้างงานแบบชั่วคราว รายวันรายชั่วโมง เหมาค่าแรง เหมางาน เหมาบริการ และการจ้างงานบางช่วงเวลา ทั้งภาครัฐและเอกช และ 14. ข้อเสนอเพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ ขอให้รัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการทำเอกสารเหมือนที่เคยปฏิบัติมา สามารถอยู่ในราชอาณาจักรไทย (วีซ่า) ได้ 2 ปี

จากนั้นเวลา 09.40 น. กลุ่มเครือข่ายเเรง งานต่างๆ ตั้งขบวนเดินเท้าบริเวณแยกไฟแดง ถ.ราชดำเนินกลาง แยกผ่านฟ้า เข้าถนนราชดำเนินนอก มุ่งหน้าประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล โดยบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำรั่วเหล็ก และรถสายตรวจมาปิดกั้นสะพาน โดยให้ใช้สะพานด้านกระทรวงศึกษาธิการแทน

เวลา 11.50 น. นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายอิทธิพล ช่างกลึงดี ผอ.ศูนย์บริการประชาชน และนายสาธิต สุทธิเสริม รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการประสานมวลชนและองค์กรณ์ประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมารับข้อเสนอจากทางกลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าว จากนั้นทางกลุ่มได้ร้องเพลง ประสานเสียงเฉลิมฉลองวันกรรมกรสากลร่วมกัน ก่อนที่ทางแกนนำจะประกาศยุติการชุมนุม

ทั้งนี้ ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) ประชาสัมพันธ์ ประชาชนใหลีกเลี่ยงเส้นทางการจราจร ในวันนี้ ( 1 พ.ค.) ที่มีการชุมนุม บริเวณ ทำเนียบรัฐบาล และแยกราชประสงค์ จึงขอแจ้งข้อมูลการจราจร เพื่อประกอบในการวางแผนการเดินทาง และขอให้หลีกเลี่ยงเส้นทางไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นการชุมนุม

1. บริเวณรอบทำเนียบรัฐบาล (ตั้งแต่เวลา 07.00 น.) 1.1 เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบจากการชุมนุมฯ 1.ถ.พิษณุโลก (แยกนางเลิ้ง – แยกสวนมิสกวัน) 2.ถ.พระราม 5 (แยกพาณิชยการ – แยกวัดเบญจ)
3.ถ.ราชดำเนินนอก (แยกมัฆวานฯ – แยกสวนมิสกวัน)

เส้นทางแนะนำประชาชน
1.ถ.หลานหลวง 2.ถ.กรุงเกษม 3.ถ.ลูกหลวง 4.ถ.จักรพรรดิพงษ์ 5.ถ.วิสุทธิกษัตริย์ 6.ถ.ศรีอยุธยา
7.ถ.ราชวิถี 8.ถ.สุโขทัย

2. บริเวณรอบแยกราชประสงค์ (ตั้งแต่เวลา 14.00 น.) 2.1 เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบจากการชุมนุมฯ 1.ถ.ราชดำริ (แยกราชดำริ – แยกประตูน้ำ) 2.ถ.พระราม1 (แยกเฉลิมเผ่า – แยกราชประสงค์)
3.ถ.เพลินจิต (แยกราชประสงค์ – แยกชิดลม)

เส้นทางแนะนำประชาชน 1.ถ.ราชปรารภ 2.ถ.เพชรบุรี 3.ถ.สุขุมวิท 4.ถ.วิทยุ 5.ถ.หลังสวน
6.ถ.สารสิน 7.ถ.พระราม 4 8.สาทร 9.ถ.สีลม 10.ถ.อังรีดูนังต์ 11.ถ.พญาไท 12.ซอยต้นสน

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน