ผู้ทรงคุณวุฒิสิ่งแวดล้อม แนะหลัง ซีเซียม-137 ถูกหลอม ภาครัฐต้องเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงานและประชาชน 5-10 ปี อาจกลายเป็นมะเร็งได้

วันที่ 21 มี.ค. 66 ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก กรณีซีเซียม 137 หายจากโรงงาน ก่อนพบว่าถูกหลอมไปแล้ว ระบุว่า ความจริงที่ต้องยอมรับเพื่อนำไปสู่การจัดการสำหรับCs137ที่ถูกหลอมไปแล้ว

1.ข้อมูลกรมโรงงานแท่งCs137ถูกหลอมกับเศษเหล็กแล้วที่โรงงานหลอมเหล็กใน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรีแลัวได้นำฝุ่นแดง 12.4 ตันในโรงงานไปสู่กระบวน การรีไซเคิล ที่ จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. 66

2.กระบวนการหลอมเหล็กในเตาหลอม จะนำเศษเหล็ก(ซึ่งกรณีนี้มีแท่งCs137มารวมด้วย) มาอัดกันเป็นก้อนแล้วเทเข้าสู่เตาหลอมที่มีอุณหภูมิสูงถึง1200องศาขณะที่เพิ่มความร้อนจะมีฝุ่นเหล็กละเอียดออกมาลอยผ่านHoodขึ้นไปสู่ถุงกรองฝุ่นหรือBaghouse filterซึ่งจะทำ การกรองฝุ่นละเอียดไว้ได้ถึง90%อีก10% จะลอยออกไปที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศขณะที่ก้นเตาหลอมจะมีตะกรันเหล็กหรือSlagที่เผาไหม้ไม่หมดกองอยู่ด้วย

3.ดังนั้นที่ปลายปล่องมีฝุ่นละเอียดกับCs137 ระบายออกไปสู่บรรยากาศรอบๆโรงงานหลอมเหล็กซึ่งอาจไปไกลมากกว่า5กม. ส่วนฝุ่นแดงกับCs137ในถุงกรองหรือBaghouse filterจะถูกบรรจุในถุงขนาดใหญ่นำไปรีไซเคิลยังโรงงานบริษัท จ.ระยอง เพื่อสกัดธาตุสังกะสีออกมาซึ่งการสกัดต้องใช้การถลุงที่ใช้ความร้อนสูงจึงอาจมีCs137ปนเปื้อนออกมาที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศรอบๆโรงงานนั้นในจ.ระยองด้วยส่วนตะกรันเหล็กหรือSlagทราบว่าโรงงานหลอมเอาไปฝังกลบไว้รอบๆโรงงาน ดังนั้นจึงอาจมีสารCs137ปนเปื้อนในดิน น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินได้

4.สิ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตหากสารCs137ปะปนในสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ดิน น้ำผิวดิน น้ำใต้ ดินและอาจเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ วิทยาเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทั้ง การหายใจและทางอาหาร เช่น Cs137ลงในน้ำเข้าสู่ตัวปลาและมนุษย์จับปลามากิน เป็นต้นหรือหายใจเอาฝุ่นของCs137เข้าไปจะสะสมอยู่ในร่างกายซึ่งสารCs137จะปล่อยรังสีแกมม่าและเบต้าออกมา การสลายตัวครึ่งชีวิตใช้เวลาถึง 30ปี รังสีที่แผ่ออกมาจากฝุ่นCs137จะทำให้เซลในร่างกายเกิดMutationหรือกลายเป็นเซลที่ผิดปกติ บางส่วนของรังสีจะไปกระตุ้น DNAในยีนส์ให้เปลี่ยนรูป สุดท้ายประมาณ 5-10ปีก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้

5.ผลกระทบต่อสุขภาพในปัจจุบันอาจไม่ค่อยเห็นแต่ระยะยาวหากรับสารนี้เข้าไปไม่ว่าทาง การหายใจหรือการกินมีผลกระทบแน่ ดังนั้นภาครัฐต้องเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงานและประชาชนรวมทั้งในสิ่งแวดล้อมและในอาหารสัตว์น้ำ พืช ผัก ผลไม้ที่ปลูกใกล้เคียงโรงงานอย่างน้อย1-2ปี ให้แน่ใจว่าไม่มีสารCs137 ตก ค้างในห่วงโซ่อาหารแล้วจึงค่อยวางมือ ขณะเดียวกันต้องบอกความจริงเกี่ยวกับผลของการตรวจวัดรังสีและผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบรวมทั้งเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงในรัศมี 5 กิโลเมตรอย่างน้อย 5ปีด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน