นักศึกษาวิศวกรสังคม มรภ.เพชรบุรี ร่วมกับชุมชนหนองจอก จัดกิจกรรมเรียนรู้ประวัติชุมชนด้วยเครื่องมือวิศวกรสังคม ส่งเสริมการท่องเที่ยว “ตลาดเก่า เล่าขาน บ้านหนองจอก”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวว่า “การพัฒนา Soft Skills ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เรามุ่งเน้นการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ซึ่งยังนำไปสู่การพัฒนาทักษะ 4 ประการ คือ นักคิด นักสื่อสาร นักประสานงานและนักนวัตกรรม นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรียังได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 ประการ มาออกแบบในการพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการจัดกิจกรรมสำหรับนักศึกษาในทุกมิติ”

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการให้การศึกษาสร้างผู้เรียนให้สมบูรณ์พร้อมด้วยคุณลักษณะ 4 ประการ ได้แก่ มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่ดีและมั่นคง มีอาชีพ มีงานทำและเป็นพลเมืองดี มีระเบียบวินัย มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อบูรณาการและถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาและชุมชน และยังเป็นการพัฒนาให้นักศึกษามีความพร้อม มีความรู้ ความสามารถ เข้าใจและเข้าถึงการพัฒนาที่เริ่มจากตัวนักศึกษาลงไปสู่ชุมชน สังคมและขยายผลไประดับประเทศ ด้วยการเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ผ่านการทำงานระหว่างรุ่นสู่รุ่น สู่การเป็นวิศวกรสังคม”

ปัจจุบัน มีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมการพัฒนา Soft Skill ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม จนเกิดการรวมกลุ่มของผู้นำนักศึกษาที่สนใจในการนำเครื่องมือไปเรียนรู้ชุมชน โดยได้คัดเลือกชุมชนหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของผู้นำนักศึกษาผ่านเครื่องมือ Timeline พัฒนาการ ทำให้นักศึกษาได้เห็นถึงเรื่องราวในอดีตสู่ปัจจุบัน

นายกิตติภพ รักษาราษฎร์ รักษาการผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา กล่าวว่า “การจัดกิจกรรม ตลาดเก่า เล่าขาน บ้านหนองจอก เกิดขึ้นโดยนักศึกษาวิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ที่ได้นำเครื่องมือวิศวกรสังคมทั้ง 5 เครื่องมือ ได้แก่ เครื่องมือฟ้าประทาน เครื่องมือนาฬิกาชีวิต Timeline พัฒนาการ Timeline กระบวนการ และ MIC model มาใช้ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชนหนองจอก เป็นการฝึกให้นักศึกษาเป็นนักคิด นักสื่อสาร นักประสานและนักนวัตกรเพื่อสร้างนวัตกรรม ซึ่งจากการที่นักศึกษาได้คัดเลือกชุมชนหนองจอกเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ ส่งผลให้นักศึกษาได้เห็นถึงเรื่องราวจากอดีตสู่ปัจจุบัน และยังได้ทราบว่าคนในชุมชนต้องการให้ตลาดเก่าของชุมชนกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ด้วยการนำต้นทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนมาสร้างคุณค่า เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในด้านสินค้าและบริการการท่องเที่ยว และทำให้ได้รับการอนุรักษ์ พัฒนา ต่อยอดและเผยแพร่สู่สาธารณะ ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ส่งเสริมเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบุรี”

นางสาวณัฐพร เต่าทอง นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เผยว่า “การจัดกิจกรรมในครั้งนี้รู้สึกดีใจที่ได้ทำงานร่วมกับชุมชน ได้ขับเคลื่อนชุมชนหนองจอกให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ภายใต้ความต้องการของคนในชุมชนที่ต้องการให้บรรยากาศเดิม ๆ ของชุมชนกลับมามีชีวิต ซึ่งในส่วนของนักศึกษาได้มีการนำเครื่องมือวิศวกรสังคมมาใช้ในการดำเนินงาน ต้องขอขอบพระคุณคุณลุง คุณป้าและคนในชุมชนทุกคนที่ได้เสียสละเวลาในการให้ข้อมูลในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเป็นมาของชุมชน อาหารพื้นถิ่น ตลอดจนการทำงานร่วมกันในทุกด้าน จนทำให้การจัดงานในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ”

นายอจลวิชญ์ ศรีทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 บ้านหนองจอก เผยว่า “จากการทำงานร่วมกับนักศึกษาวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพรบุรี ได้เห็นถึงความตั้งใจของนักศึกษาทุกคนตั้งแต่ลงพื้นที่พูดคุยถึงความต้องการของคนในชุมชน ศึกษาความเป็นมาของชุมชน มีการจัดทำป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติของชุมชนไว้ให้ผู้ที่ผ่าน-ไป มาได้ศึกษา รวมทั้งการรับฟังความต้องการของคนในชุมชนจนเป็นที่มาของการจัดกิจกรรม ตลาดเก่า เล่าขาน บ้านหนองจอก และต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ที่ได้คัดเลือกพื้นที่ชุมชนหนองจอกเป็นสถานที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ทำให้คนรู้จักชุมชนหนองจอกมากขึ้น”

กิจกรรม ตลาดเก่า เล่าขาน บ้านหนองจอก กำหนดจัดขึ้นทุกวันเสาร์สุดท้ายของเดือน เริ่มจัดขึ้นแรกเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2567 วันที่ 28 กันยายน 2567 วันที่ 26 ตุลาคม 2567 และในครั้งต่อไปกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 และวันที่ 28 ธันวาคม 2567 ตามลำดับ

นายอจลวิชญ์ ศรีทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 บ้านหนองจอก ยังได้กล่าวเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่นักศึกษาและชุมชน ที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาพื้นที่ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งภายในงานนอกจากจะมีการรวบรวมความเป็นมาของชุมชนหนองจอกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแล้ว ยังได้มีการสาธิตและจำหน่ายอาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ต้มสายบัว แกงหัวตาล ขนมครกสูตรโบราณ ขนมเปี๊ยะหนองจอก ทองม้วนสามสหาย น้ำบัวหลวงหม้อดินและสินค้าจากชุมชนอีกมากมาย

ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยกองพัฒนานักศึกษา นำโดยอาจารย์ ดร.เมธาวิน สาระยาน ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ด้านการพัฒนานักศึกษาและการสื่อสารองค์กร ได้นำโค้ช คณาจารย์และผู้นำนักศึกษาวิศวกรสังคมให้ความรู้ในเรื่องเครื่องมือวิศวกรสังคมทั้ง 5 เครื่องมือ แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ไปต่อยอดในการเรียนและปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเองในอนาคตได้

จากการดำเนินการดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคม ซึ่งนอกจากจะจัดการเรียนการสอนภายในห้องเรียนด้วยคณาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถแต่ละศาสตร์แล้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรียังมีพื้นที่ให้นักศึกษาได้นำความรู้มาใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคม เพื่อให้ศึกษา

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน