เอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียมีแถลงการณ์ถึงสถานการณ์ชาวโรฮิงยาในพม่าเผชิญวิกฤตถูกขับไล่จากบ้านเรือนในรัฐยะไข่ ว่าไม่ได้เป็นเรื่องภายในประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไป แต่เป็นประเด็นปัญหาระดับนานาชาติ การถูกขับไล่ดังกล่าวเข้าข่ายการกวาดล้างทางชาติพันธุ์ ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ชาวโรฮิงยาจำนวนมหาศาล อพยพหนีเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ รวมถึงมาเลเซียจำนวน 56,000 คน

นายโคฟี อันนัน / AFP PHOTO / KHINE HTOO MRAT

นายโคฟี อันนัน / AFP PHOTO / KHINE HTOO MRAT

แถลงการณ์ที่มีข้อความแข็งกร้าวดังกล่าวแทบไม่เกิดขึ้นมาก่อนในประชาคมอาเซียนที่มักไม่แตะปัญหาของกันและกัน อีกทั้งมีขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่คณะของนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ในฐานะที่ปรึกษาพิเศษในการแก้ไขปัญหารัฐยะไข่ เดินทางเยือนหมู่บ้านโรฮิงยาที่ถูกเผา ซึ่งยังคงมีสภาพความเสียหายจากไฟไหม้อย่างมาก ขณะที่ตำรวจห้ามสื่อมวลชนต่างชาติเข้าไปใกล้คณะของนายอันนัน ซึ่งมีกำหนดแถลงผลการลงพื้นที่ในวันอังคารที่ 6 ธ.ค.

พระพม่าประท้วงรัฐบาลมาเลเซีย / AFP PHOTO / Romeo GACAD

พระพม่าประท้วงรัฐบาลมาเลเซีย / AFP PHOTO / Romeo GACAD

ส่วนที่นครย่างกุ้ง กลุ่มพระสงฆ์สายเคร่งออกมาประท้วงนายนาจิบ ราซัก และรัฐบาลมาเลเซีย หน้าสถานทูตมาเลเซีย ว่าเข้าข้างชาวโรฮิงยา มากดดันรัฐบาลพม่า

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน