รายงานใหม่สหรัฐสอดคล้องยูเอ็น ชี้ชัดกองทัพพม่ากวาดล้างโรฮิงยา

รายงานใหม่สหรัฐสอดคล้องยูเอ็น – เมื่อวันที่ 25 ก.ย. เอเอฟพีรายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกายืนยันการพบหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความรุนแรงอย่างเป็นระบบต่อชาวมุสลิมโรฮิงยาจากปฏิบัติการทางทหารของกองทัพพม่าที่อ้างว่าเพื่อกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธสุดโต่งในพื้นที่รัฐยะไข่ส่งผลให้มีชาวโรฮิงยาหนีตายไปยังบังกลาเทศเกือบ 1 ล้านคน

อ่านต่อ:

Photo by Sai ZAW / POOL / AFP

พร้อมกันนี้ ทางการสหรัฐยังประกาศจะสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เป็นจำนวน 185 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6,000 ล้านบาท นำไปใช้ดูแลผู้อพยพชาวโรฮิงยาด้วย

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่หมู่บ้านในหม่องดอว์ โดยสำนักข่าวเอเอฟพี / AFP PHOTO / STR

การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเปิดเผยรายงานการสำรวจที่ได้จากการสัมภาษณ์ชาวโรฮิงยากว่า 1,000 คน ในค่ายพักพิงบังกลาเทศ เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา พบข้อมูลที่สอดคล้องกับรายงานของทั้งหน่วยงานสิทธิมนุษยชนและยูเอ็น ที่กล่าวหาว่าทางการพม่าเข้าข่ายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ภาพที่ชายทั้งสิบถูกจับสั่งเอามือไพล่หลังและคุกเข่า วันที่ 1 ก.ย.2560 และหนึ่งวันจากนั้นก็ถูกสังหาร REUTERS TPX IMAGES OF THE DAY

ศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือไอซีซี ที่นครเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เปิดการสอบสวนเบื้องต้นแล้ว โดยพิจารณาว่ามีอำนาจสอบสวนเพราะบังกลาเทศเป็นสมาชิกธรรมนูญกรุงโรม

ภาพศพกองในหลุมเดียวกันที่หมู่บ้านอินดิน เป็นภาพที่นักข่าวรอยเตอร์สองคนได้รับมาเมื่อวันที่ 22 พ.ย.2560 / REUTERS

อย่างไรก็ตาม รายงานของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐหลีกเลี่ยงการใช้ข้อกล่าวหาว่าเข้าข่ายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยระบุว่า “การสำรวจเผยให้เห็นความรุนแรงในรัฐยะไข่ทางภาคเหนือของพม่าว่าอยู่ในขั้นรุนแรงมาก และเกิดเป็นบริเวณกว้าง มีลักษณะคล้ายเพื่อสร้างความหวาดกลัวและขับไล่ชาวโรฮิงยาออกไป” และว่า “ลักษณะดังกล่าวบ่งชี้ว่ามีการปฏิบัติที่เป็นระบบและวางแผนมาเป็นอย่างดี”

MYANMAR-JOURNALISTS/TRIAL REUTERS/Michelle Nichols/File Photo

รายงานระบุว่า ในบางพื้นที่นั้นกลุ่มผู้ก่อเหตุใช้วิธีการที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อาทิ จับขังไว้ในบ้านแล้วจุดไฟเผา และล้อมรั้วชุมชนแล้วกราดยิงเข้าไปภายใน รวมไปถึงการจมเรือที่มีผู้อพยพอยู่เต็มลำ ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 82 อ้างว่าเห็นเหตุการณ์ด้วยตัวเอง อีกร้อยละ 51 ระบุว่า มีการข่มขืนเกิดขึ้น

Aerial view of a burnt Rohingya village near Maungdaw in Rakhine state, Myanmar, September 20, 2018. Ye Aung Thu/Pool via REUTERS

ส่วนผู้ก่อเหตุเป็นบุคคลสวมใส่เครื่องแบบทหารคัดแยกหญิงสาวและบีบบังคับให้ออกมาจากบ้าน บางครั้ง 4-5 คน มากที่สุดถึง 20 คน หรือบางครั้งจะเดินไปตามบ้านล่าหญิงสาวที่สวยที่สุด ซึ่งจะถูกเจ้าหน้าที่ทหารประมาณ 15 นาย นำตัวไปยังสถานที่ เช่น ทุ่งนา ป่าละเมาะ บ้าน สถานศึกษา สถานประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมไปถึงสุขา เพื่อรุมโทรม ในบางกรณีหญิงสาวเหล่านี้จะถูกสังหารหลังผู้ก่อเหตุใช้สำเร็จความใคร่แล้วเสร็จ

An aerial view of Hla Phoe Khaung transit camp for Rohingya who decide to return back from Bangladesh, is seen in Maungdaw, Rakhine state, Myanmar, September 20, 2018. Ye Aung Thu/Pool via REUTERS

นอกจากนี้ การสำรวจยังพบด้วยว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นร้อยละ 88 มีต้นตอมาจากฝ่ายกองทัพพม่า ขัดแย้งกับรายงานของทางการพม่าที่กล่าวโทษกองกำลังติดอาวุธปลดปล่อยชาวอาระกันโรฮิงยา หรืออาร์ซา และสอดคล้องกับพยานที่แทบไม่มีใครเห็นอาร์ซาก่อความรุนแรงต่อชาวโรฮิงยา ซึ่งเป็นสิ่งที่พม่าอ้างว่าก่อเหตุโจมตีจุดตรวจกองทัพเป็นสาเหตุไปสู่ภารกิจกวาดล้างตั้งแต่เดือนต.ค. 2559

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน