ทีมสัตวแพทย์คืนชีวิตตูบ “ป่วยมะเร็ง” พิมพ์กะโหลกไทเทเนียม 3 มิติ เติมเต็มปัญหา “หัวยุบ” จากการผ่าตัดเนื้อร้าย (มีคลิป)

ทีมสัตวแพทย์คืนชีวิตตูบซีเอ็นเอ็น รายงานวันที่ 26 ก.ย. ถึงข่าวดีของสุนัข พันธุ์ดัชชุนด์ ที่ก่อนหน้านี้กะโหลกยุบไปกว่าครึ่ง เพราะเข้ารับการผ่าตัดก้อน เนื้องอก ขนาดใหญ่บริเวณสมอง แต่ด้วยความร่วมมือของทีมสัตวแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง เจ้าตูบที่น่าสงสารเลยได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งจากการติดตั้งแผ่นพิมพ์ 3 มิติที่จำลองตามโครงสร้างกะโหลกด้านหน้าซึ่งถูกตัดออกไป

รายงานระบุว่า “แพตเชส” สุนัขดัชชุนด์เพศเมีย วัย 9 ปีของ น.ส.ดาเนียล ดีเม็ค จากเมืองวิลเลียมพอร์ต รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ถูกวินิจฉัยว่ามีเนื้อร้ายบริเวณกะโหลกส่วนหน้าและส่วนกลาง ใกล้สมองกับกระบอกตา แรกเริ่มเนื้องอกมีขนาดเล็ก แต่ผ่านไปไม่นานก็ขยายใหญ่ขึ้น

The dog’s tumour, a multilobular osteochondrosarcoma that had grown so large that it was weighing down the dog’s head and growing into her skull, pushing dangerously close to her brain and eye socket. /Michelle Oblak/University of Guelph/

แถมยังลุกลามเข้าสู่กะโหลกด้านใน ส่งผลให้เจ้าแพตเสต้องเข้ารับการผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายออก แน่นอนว่าเป็นเรื่องดีที่แพตเชสจะไม่ต้องเผชิญหน้ากับความเจ็บปวด และมีโอกาสหายจากโรคมะเร็งถาวร แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการสูญเสียกะโหลกส่วนหนึ่งจนดูเหมือนเป็นสุนัขพิการ

Oblak and Hayes had to replace about 70 per cent of the top surface of the dog’s skull, which left the brain unprotected over a large area. /Michelle Oblak/University of Guelph/

อย่างไรก็ตาม สัตวแพทย์หญิงมิเชล โอแบลก ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดเนื้องอกในสัตว์ จากมหาวิทยาลัยกวัฟล์ ประเทศแคนาดา และแพทย์หญิงกาลิน่า ฮาเยส ศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดสัตว์ขนาดเล็ก จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐ ร่วมออกแบบส่วนกะโหลกของแพตเชสและใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติของบริษัทอาเดอีซ พิมพ์แผ่นกะโหลกแบบโครงตาข่ายไทเทเนียมที่พอดีเหมาะเจาะสำหรับแพตเชสโดยเฉพาะ

During the five hour operation, doctors removed the tumour, and replaced 70% of the skull with their 3D printed version. Pictured, the 3D models surgeons used to plan the operation next to the tumour they removed. /Michelle Oblak/University of Guelph/

“สิ่งที่น่าสนใจจริงๆ นี้คือความจริงที่ว่าเราสามารถใช้การสแกนเหล่านี้เพื่สร้างแผ่นกะโหลกเทียมที่เหมาะกับแพตเชสได้อย่างสมบูรณ์แบบ หากไม่มีเทคโนโลยีพิมพ์ 3 มิติ การสร้างแผ่นกะโหลกเทียมจะเป็นไปตามกระบวนการทั่วไปและไม่ได้ออกแบบมาเพื่อแพตเชสโดยตรง” แพทย์หญิงโอแบลกกล่าว

Doctors worked with an engineer from Sheridan College’s Centre for Advanced Manufacturing Design and Technologies to create a 3-D model of the dog’s head and tumour so doctors could ‘virtually’ perform the surgery and see what would be left behind once the growth was removed. Pictured, Ontario Veterinary College’s Dr. Michelle Oblak. /Michelle Oblak/University of Guelph/

ปัจจุบันแพตเชสปลอดเนื้อร้ายมาแล้ว 6 เดือน หลังการผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จ “เธอก็แค่พร้อมที่จะกลับมาใช้ชีวิตเหมือนสุนัขตัวอื่นๆ อีกครั้ง การวิจัยโรคมะเร็งเช่นเดียวกับที่พวกเขาได้ทำถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากทั้งต่อชีวิตของมนุษย์และสัตว์” น.ส.ดีเม็คกล่าวด้วยความซาบซึ้ง

อ่านต่อ:

ชายติดเชื้อแบคทีเรียร้ายแรง จากหมาเลีย ต้องตัดขาสองข้าง-มือด้วย

https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_1617189

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน