3 ผู้บุกเบิก “เลเซอร์” คว้า “โนเบลฟิสิกส์” ปี 2018 หนึ่งในนักวิทย์หญิงร่วมฉลองชัย ขึ้นแท่นสตรีคนที่ 3 ในประวัติศาสตร์ ควบคนแรกในรอบ 55 ปีซิวรางวัลฟิสิกส์

3 ผู้บุกเบิก “เลเซอร์” – วันที่ 2 ต.ค. เอเอฟพี และ การ์เดียน รายงานว่า คณะกรรมการรางวัลโนเบลแห่งประเทศสวีเดน ประกาศผู้ชนะ รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี 2018 ได้แก่ ดร.อาร์เธอร์ แอชกิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งร่วมรับรางวัลกับ ดร.เฌราร์ มูรู นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ศาสตราจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีเอกอล และ ดร.ดอนน่า สติกแลนด์ นักวิทยาศาสตร์หญิงชาวอเมริกัน จากมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ประเทศแคนาดา

3 ผู้บุกเบิก “เลเซอร์

/@NobelPrize/

กับผลงานสิ่งประดิษฐ์บุกเบิกในด้านฟิสิกส์เลเซอร์ โดยดร.สติกแลนด์เป็นนักฟิสิกส์หญิงคนที่ 3 ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์นับตั้งแต่เริ่มแจกรางวัลในปี 2444 และยังเป็นผู้หญิงคนแรกในรอบ 55 ปีที่คว้ารางวัลดังกล่าวด้วย

3 ผู้บุกเบิก “เลเซอร์

Just in! Donna Strickland during an early morning interview for , shortly after hearing the news that she had been awarded the in Physics. – Gérard Mourou immediately after receiving the news that he had been awarded the 2018 in Physics. /@NobelPrize/

สำหรับผลงานนั้น ดร.แอชกินได้รับรางวัลจากการประดิษฐ์ “คีมจับเชิงแสง” เทคนิคใช้แสงเลเซอร์เป็นตัวดักจับอนุภาคขนาดเล็กที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในปี 2529 ขณะที่ดร.มูรูและดร.สติกแลนด์ร่วมคิดค้นวิธีสร้างเลเซอร์ที่ให้ระยะเวลาในการแผ่รังสีที่สั้นลง เรียกว่า อัลตร้า-ชอร์ต พัลส์ เลเซอร์ ซึ่งระยะเวลาการแผ่รังสีที่สั้นลงทำให้ความเข้มของแสงเลเซอร์ที่ได้สูงมาก

3 ผู้บุกเบิก “เลเซอร์

Science fiction has become a reality. Optical tweezers make it possible to observe, turn, cut, push and pull with light. In many laboratories, laser tweezers are used to study biological processes, such as proteins, molecular motors, DNA or the inner life of cells. /@NobelPrize/

ทั้งนี้ ผู้ชนะรางวัลจะได้รับเงินรางวัลร่วม 9 ล้านโครเนอร์สวีเดน หรือราว 32.9 ล้านบาท โดยดร.แอชกินจะได้รับรางวัลครึ่งหนึ่ง ด้านดร.มูรู และดร.สติกแลนด์ จะแบ่งรางวัลอีกครึ่งเป็นสองส่วน

3 ผู้บุกเบิก “เลเซอร์

Gérard Mourou and Donna Strickland – this year’s recipients – paved the way towards the shortest and most intense laser pulses created by humankind. The technique they developed opened up new areas of research and led to broad industrial and medical applications. /@NobelPrize/

อ่านต่อ:

ภูมิคุ้มกัน “สู้มะเร็ง” ผลงานนักวิจัยอเมริกัน-ญี่ปุ่น คว้าชัย “โนเบลแพทย์” ปี 2018

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน