ทหารปราบประชาชน เหตุการณ์รำลึก มองไต้หวันสะท้อนถึงจีน

ทหารปราบประชาชนซีเอ็นเอ็น รายงานพิเศษถึงการจับตาช่วงครบรอบเหตุการณ์ที่ล่อแหลมสำหรับทางการจีนในปี 2562 นี้ ตั้งแต่ครบรอบ 60 ปี ที่องค์ทะไล ลามะ ลี้ภัยจากทิเบต เมื่อถูกจีนเข้ายึดครอง ในปี 2502 ค.ศ.1959 ครบรอบ 10 ปี เหตุการณ์ลุกฮือของชนกลุ่มน้อยในอุรุมชี แคว้นซินเกียง และที่สะเทือนขวัญอย่างยิ่งคือเหตุการณ์นองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ครบรอบ 30 ปี

การรำลึกเหตุการณ์เทียนอันเหมิน เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 เม.. เพราะเป็นวันที่ หู เหยาปัง อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ระดับสูงและนักปฏิรูปคนสำคัญของจีนเสียชีวิตลง

นั่นเป็นเป็นชนวนให้นักศึกษาและประชาชนลุกฮือขึ้นมาเรียกร้องประชาธิปไตย และรัฐบาลจีนเริ่มแสดงมาตรการแข็งกร้าวด้วยการประกาศกฎอัยการศึกในกรุงปักกิ่งในวันที่ 20 .. จากนั้นไฟเขียวให้ทหารยิงกระสุนจริงเข้าใส่ฝูงชน จนกระทั่งการชุมนุมยุติลงท่ามกลางการนองเลือดเมื่อวันที่ 4 มิ.. ซึ่งเรียกกันว่าเหตุการณ์ 6/4

CNN

พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งบริหารสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ปี 2492 ไม่เคยอนุญาตให้มีการสอบสวนการสังหารหมู่ที่จตุรัสเทียนอันเหมินและยังไม่ทราบตัวเลขผู้เสียชีวิตที่แท้จริง แต่เชื่อว่าพลเรือนหลายร้อยคนถูกสังหารหรืออาจจะสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้หลายสิบเท่า

แม้คนทั่วโลกจดจำชายคนหนึ่งที่ยืนเผชิญหน้ากับรถถังอย่างกล้าหาญได้ดี แต่เหตุการณ์ 6/4 กลับถูกรัฐบาลจีนเซ็นเซอร์อย่างหนักในจีน รวมทั้ง ห้ามจัดงานรำรึกถึงเหยื่อที่ถูกสังหารหมู่

เหตุการณ์ในทำนองเดียวกันนี้ เคยเกิดขึ้นที่ไต้หวันหรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐจีน เช่นกัน

ชนวนเหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 .. ปี 2490 เนื่องจากชาวไต้หวันไม่พอใจเจ้าหน้าที่รัฐที่จับกุมแม่ค้าแผงลอยขายบุหรี่เถื่อนและยังทำร้ายแม่ค้า รวมทั้งประชาชนที่มุงดูเหตุการณ์จนเสียชีวิต

ประชาชนจึงรวมตัวกันเรียกร้องให้นำตัวคนผิดมาลงโทษและยกระดับเป็นการบุกเผาสำนักงานผู้ค้าผูกขาดในวันที่ 28 .. ทหารจึงยิงปืนใส่ผู้ชุมนุมทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคนและอาจสูงถึง 25,000 คน นำมาสู่ชื่อเรียกเหตุการณ์นองเลือดครั้งนี้ว่า วันสังหารหมู่ 2/28

เหตุการณ์สังหารหมู่ 28 กุมภา ของไต้หวัน

ถึงแม้ผ่านไปแล้วหลายสิบปี แต่พรรคชาตินิยมก๊กมินตั๋งไม่เคยสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

กระทั่งปี 2520 หลังจากเหตุการณ์ 2/28 ผ่านไปแล้ว 30 ปีพรรคก๊กมินตั๋งก็ยังคงห้ามถกเถียงกันถึงเรื่องนี้ ซึ่งขณะนั้นพรรคก๊กมินตั๋งเป็นเพียงพรรคเดียวที่บริหารไต้หวันแบบอำนาจนิยม

แม้เหตุการณ์สังหารหมู่ที่เทียนอันเหมินยังคงถูกปิดปากไม่ให้ประชาชนพูดถึง ขณะที่การสังหารหมู่ในไต้หวันได้รับการยอมรับและกำหนดให้วันที่ 28 .. เป็นวันรำลึกสันติภาพ (แต่พรรคก๊กมินตั๋งไม่เคยออกมาขอโทษต่อเหตุการณ์ 2/28) แต่ทั้งสองเหตุการณ์นี้ ทำให้มีข้อสังเกตหลายประการ

ทหารปราบประชาชน

ประการแรก ลัทธิอำนาจนิยมมักจะมีจุดเปลี่ยนที่คาดไม่ถึง

ไต้หวันเคยอยู่ใต้กฎอัยการศึกมาหลายสิบปี กระทั่งปลายปี 2522 พรรคก๊กมินตั๋งใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมที่เมืองเกาสุง ต่อมาปี 2529 เจียง เว่ยกั๊วะ บุตรชายเจียง ไคเช็ก พลิกนโยบายของบิดาและอนุญาตให้ตั้งพรรคฝ่ายค้าน รวมทั้ง ประกาศเลิกใช้กฎอัการศึกในปี 2530

ประการที่สอง การรวมพลังกันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

ไม่ว่านักการเมือง เจ้าหน้าทีี่รัฐหรือบุคคลอื่นๆ ต่างก็มีบทบาทนำไปสู่ประชาธิปไตยในไต้หวัน

ประการที่สาม การเปลี่ยนแปลงย่อมใช้เวลา

ไต้หวันไม่ได้มีประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งจนถึงปี 2539 และมีประธานาธิบดีที่ไม่ได้มาจากพรรคก๊กมินตัั๋งคนแรกในปี 2543

ประวัติศาสตร์ของไต้หวันอาจไม่ได้บ่งบอกถึงอนาคตของจีนแผ่นดินใหญ่ในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ก็ยังมีหวังว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น รวมทั้ง การเปิดใจให้พูดถึงเหตุการณ์ที่เทียนอันเหมินได้ในที่สุด

///////////////

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน