หมีดำฟอร์โมซา สัญลักษณ์ไต้หวันเสี่ยงสูญพันธุ์ น่าวิตกยิ่งกว่าแพนด้า

หมีดำฟอร์โมซาซีเอ็นเอ็น หมีดำหน้าอกรูปตัววี สีขาว ชื่อว่า “บราโว” เป็นสัตว์สัญลักษณ์ของไต้หวันและเพิ่งได้แต่งตั้งเป็นสัตว์สัญลักษณ์การแต่งงานเพศเดียวกันในไต้หวันเมื่อวันที่ 24 พ.ค. นอกจากนี้ รูปตัววีสีขาวที่คอของมันยังเป็นแรงบันดาลใจให้ตั้งชื่อสายการบิน วี แอร์ไลน์อีกด้วย

แม้มีรูปหมีดำปรากฏอยู่ทุกมุมบนเกาะไต้หวัน แต่จำนวนประชากรหมีดำลดน้อยลงจนน่าเป็นห่วงทำให้รัฐบาลไต้หวันประกาศให้เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

[video width="800" height="450" mp4="https://www.khaosod.co.th/wpapp/uploads/2019/06/DESKTOP_black_bear_2.mp4"][/video]

 

รองศาสตราจารย์ หวาง เม่ย-ซิ่ว ผู้เชี่ยวชาญด้านหมีดำฟอร์โมซา บอกว่าจำนวนหมีดำลงลงจนเกือบสูญพันธุ์ เพราะถูกล่าอย่างผิดกฎหมายและการแผ้วถางที่ดินเพื่อทำเป็นที่ดินทำกิน ปัจจุบันอาจมีหมีดำในไต้หวัน ประมาณ 200-600 ตัว แต่ในอดีตเมื่อ 100 ปีก่อน ไม่เคยมีการจดสถิติจำนวนหมีดำอย่างเป็นทางการ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นยุคก่อนที่ประชากรจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว

สมัยที่ญี่ปุ่นบุกยึดครองไต้หวันเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 เคยมีรายงานว่าพบหมีหลายตัวที่ความสูง 100 เมตรหนือระดับน้ำทะเล แต่ทุกวันนี้ พวกหมีย้ายถิ่นอาศัยไปอยู่ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร แม้ว่าระดับที่ต่ำกว่านี้ เหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของหมี แต่พวกมันต้องย้ายหนีการรบกวนของคน ทั้งการทำเหมือง การพักผ่อนหย่อนใจและกิจกรรมอื่นๆ

หมีดำฟอร์โมซา

ลักษณะนิสัยหมีดำฟอร์โมซาเป็นสัตว์ที่กินไม่เลือก ส่วนเมนูโปรด คือ ผลไม้ ถั่วและเบอร์รีต่างๆ และมีถิ่นหากินกว้างหลายร้อยกิโลเมตร แต่ไม่จำศีลเหมือนหมีสายพันธุ์ขนาดใหญ่

หมีดำฟอร์โมซาเป็นสายพันธุ์ย่อยของหมีดำเอเชียที่พบได้ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไทย

แม้สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ไอยูซีเอ็นจัดอันดับหมีดำฟอโมซาให้อยู่ในกลุ่ม “สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์” และไมได้เป็นดาวดัง อย่างแพนด้าหรือช้างเอเชีย แต่หมีดำต้องการการคุ้มครองเช่นกัน เนื่องจากหมีดำถูกภัยคุกคาม โดยเฉพาะการล่าอย่างผิดกฎหมาย

หลายศตวรรษที่ผ่านมา มีการล่าหมีดำเพื่อค้าอวัยวะ เนื้อและกระดูกในตลาดมืด ส่วนถุงน้ำดีและอุ้งตีนมักนำมาทำเป็นยาแผนจีนโบราณ

อดีตคนพื้นเมืืองไต้หวันมีกฎห้ามล่าหมี หากฆ่าหมีจะถูกคนอื่นๆ ในชุมชนไม่คบหาเพราะเชื่อว่าจะนำโชคร้ายมาสู่หมู่บ้าน แต่ปัจจุบัน ซากหมี มีมูลลค่า 5,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 160,000 บาท

การศึกษาของอุทยานแห่งชาติอี้ซัน เมื่อ 40 ปีก่อนเพบว่า หมีในพื้นที่อุทยาน ร้อยละ 22 ถูกสังหารเพื่อนำเนื้อและอวัยวะไปขาย และเมื่อ 30 ปีก่อน เพิ่มจำนวนเป็นร้อยละ 59

Shutter Stock

รศ.หวางแนะนำว่าการยุติค้าสัตว์ป่าต้องเริ่มด้วยการให้การศึกษาแก่ประชาชนเพราะถ้าไม่มีตลาดหรือความต้องการ ก็เชื่อว่าจะไม่มีการฆ่าหมี

แต่ยังมีอีกปัญหาหนึ่ง เนื่องจากหมีมีพื้นที่หากินกว้างมากและมักจะอยู่นอกอาณาเขตป่าคุ้มครองทำให้ตกเป็นเหยื่อนักล่าได้ง่าย

รศ.หวางและทีมงาน / Ben Westcott/CNN

นอกจากนี้ ร.ศ.หวางยังนำทีมอาสาสมัคร 25 คนติดตั้งกล้องดักถ่ายบนภูเขาเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของหมีดำและติดอุปกรณ์ติดตามสัญญาณจีพีเอสที่เชื่อมสัญญาณจากปลอกคอหมีสำหรับเก็บข้อมูล

พร้อมทั้งแนะนำว่าหากต้องการไปดูหมีดำ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการไปดูที่สวนสัตว์ ซึ่งมักจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่จำนวนมากมุงดูหมีดำฟอร์โมซาที่หน้าส่วนจัดแสดงที่เป็นกระจกเป็นประจำทุกสุดสัปดาห์

ด้านนักท่องเที่ยวบางคนบอกว่าหมีดำมีค่ามากกว่าแพนด้าเสียอีกเพราะมีจำนวนน้อยกว่า หากไม่อนุรักษ์ไว้ คงต้องสูญพันธุ์สักวัน

/////////

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน