เคบิวตี้ หมดมนต์ขลังตลาดจีน ? จับกระแสสวยบล็อกเกาหลีเริ่มแผ่ว

เคบิวตี้ – วันที่ 17 มิ.ย. เว็บไซต์ เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ รายงานถึงการตั้งข้อสังเกตการลดความนิยมเครื่องสำอางเกาหลีในหมู่ชาวจีน ว่า กำลังเปลี่ยนไปและมีแนวโน้มลดความนิยมลงหรือไม่ เนื่องจากการส่งออกเครื่องสำอางเกาหลีไปตลาดจีนลดลง

รวมถึงยอดขายรวมลดลงเพราะพฤติกรรมชาวจีนทิ้งความงามแบบ เค-บิวตี้ แบบเกาหลี “ทุกคนเหมาะกับแม่พิมพ์” หันมาชื่นชมความงามแบบท้องถิ่น หรือความงามของเฉพาะตัวบุคคลนั้นๆ แทน จนทำให้เครื่องสำอางของจีน หรือ ซี-บิวตี้ และจากญี่ปุ่นเติบโตขึ้นแทน

เคบิวตี้

ย้อนไปเมื่อหลายปีที่แล้ว เครื่องสำอางเกาหลีหรือเคบิวตี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ตัวอย่าง ลิปสติกที่นางเอก ช็อน จีฮยอน (จวนจีฮุน) ใช้ในซีรีส์ดังอย่าง My Love From The Star หรือ ยัยตัวร้ายกับนายต่างดาว ปี 2557 ปรากฏบนหน้าจอไม่นาน ก็ขายหมดแทบจะในทันที

เนื่องจากแฟนชาวจีนได้รับอิทธิพลการตลาดที่มีความรู้ความเข้าใจและติวเตอร์ด้านการแต่งหน้าและครีมบำรุงผิวจนฮิตทั่วบ้านทั่วเมือง ส่งให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางเกาหลีเติบโตจนมูลค่าการขายถึง 13,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 4 แสนล้านบาทในปี 2561

สวยงามช็อน จีฮุน

กระแสคลั่งไคล้วัฒนธรรมเกาหลีในจีน ไม่ว่า นักร้องเกาหลีหรือเคป๊อป แฟชั่นเกาหลี ละครเกาหลีนั้น อุตสาหกรรมความงามเกาหลีในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระแสเกาหลีเป็นผู้นำเทรนด์ไลฟ์สไตล์กระแสหลักในจีนช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันถึงช่วงขาลง

ผู้บริโภคในจีน ซึ่งเป็นตลาดความงามอันดับสองของโลกคาดว่ามีมูลค่า 62,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 1.9 ล้านล้านบาทภายในปี 2020 นั้น กำลังมองหาความสวยในแบบท้องถิ่นของจีนเอง อย่างทวิตเตอร์มีภาพจับสังเกตสาวหมวยนิยมแต่งชุดฮั่นฝู หรือชุดสาวชาวฮั่นในอดีต

 

ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 การส่งออกเครื่องสำอางเกาหลีไปจีนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 20 หรือราว 1.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐหรือราว 4 หมื่นล้านบาท ลดลงอย่างมากจากยอดเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 66 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ แบรนด์เครื่องสำอางเกาหลีไม่เพียงเสียส่วนแบ่งการตลาดให้คู่แข่งในภูมิภาค แต่ยอดขายภายในประเทศเกาหลีเองยังตกต่ำลงด้วย ทำให้เกิดคำถามว่าเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของเคบิ้วตี้และอิทธิพลที่ครั้งหนึ่งเคยมีต่อผู้บริโภคชาวจีนหรือไม่

เครื่องสำอางและเครื่องบำรุงผิว แบรนด์ของจีนเองขายดีมากขึ้น

ปีที่แล้ว กลุ่มบริษัทอมอร์แปซิฟิก ผู้ผลิตเครื่องสำอางรายใหญ่ที่สุดของเกาหลีและเป็นบริษัทแม่ของแบรนด์เครื่องสำอางตัวท็อป 33 แบรนด์ มีกำไรลดลงเป็นครั้งแรก โดยกำไรสุทธิไตรมาสแรกร่วงลง 33 เปอร์เซนต์ เหลือ 122,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 3.8 ล้านล้านบาท จาก 177,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 5.5 ล้านล้านบาท

การติดตั้งระบบธาด ป้องกันขีปนาวุธขั้นสูงในเกาหลีใต้ ก่อให้เกิดความตึงเครียดทางการเมือง – THAAD interceptors are seen as they arrive at Seongju, South Korea, September 7, 2017. Lee Jong-hyeon/News1 via REUTERS

มูลค่ายอดขายรวมของเครื่องสำอางในเกาหลีลดลงด้วยเช่นกันถึงร้อยละ 15 เมื่อปีที่แล้ว สาเหตุจากการลดลงของการท่องเที่ยว ผลกระทบจากปัจจัยความตึงเครียดทางการเมืองกรณีที่สหรัฐติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธขั้นสูง หรือ ทาดในเกาหลีใต้ ซึ่งจีนคัดค้านจนนำไปสู่จีนสั่งห้ามการท่องเที่ยวและการส่งออกเชิงวัฒนธรรมเกาหลีระหว่างปี 2559-2561

“ปีนี้จะเป็นปีที่รุนแรงอย่างมากสำหรับเคบิวตี้ในแง่ของการส่งออก” นายไมก์ ซอน ซองมิน นักวิจัยผู้ช่วยสถาบันอุตสาหกรรมความงามเกาหลีในเกาหลีใต้กล่าวและว่า การส่งออกเคบิวตี้กำลังเติบโตลดลงเป็นครั้งแรก

ผลิตภัณฑ์จีนตัวนี้ขายดีติดอันดับ

“แบรนด์จีนกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคและกระแสท้องถิ่น เคบิวตี้ไม่สนุกอีกแล้วเพราะเป็นเทรนด์มาอย่างยาวนาน หลังการห้ามเครื่องสำอางเกาหลีในจีน ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้บริโภค ชาวจีนไม่นึกถึงเราอีกต่อไปแล้ว จำนวนมากกลายเป็นต้านแบรนด์เรา ขณะที่แบรนด์จีนอย่าง Herborist, Inoherb and Kans ได้รับความนิยมเทียบเท่าแบรนด์ดังระดับโลกอย่างลอรีอัล จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน” ซองมินกล่าว

ชิเซโด้ขายดีเช่นกันในตลาดจีน

ด้านญี่ปุ่น บรรยากาศการเผชิญหน้ากับจีนเงียบไป ส่งผลให้ญี่ปุ่นได้รับนักท่องเที่ยวจากจีนเมื่อปี 2561 สูงขึ้น 15% และสินค้าความงามญี่ปุ่น หรือ เจ-บิวตี้ ก็เพิ่มตามด้วย

อย่าง ชิเซโด้ แบรนด์ใหญ่ของญี่ปุ่นมีกำไรพุ่งถึง 34.7% ในจำนวนนี้มาจากการเพิ่มยอดตาย 8.9% ด้วยมูลค่า 9,700 ล้านดอลลาร์ ในจำนวนนี้ขายได้ในจีนถึง 17.4% สูงจากปี 2560 ที่อยู่ 14.4%

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน