แฟชั่นสุดพังแห่งปี 2019 อลวนการเมือง-ผิดคิว-เหยียด

แฟชั่นสุดพังแห่งปี 2019 – ถึงจะเป็นเรื่องสวยๆ งามๆ หล่อๆ แต่แฟชั่นจากแบรนด์ดังก็กลายเป็นข่าวอื้อฉาวได้ หากออกแบบมาแล้วไปกระทบประเด็นล่อแหลมทางวัฒนธรรมและการเมือง จากแฟชั่นสุดปังจึงกลายเป็นแฟชั่นสุดพังโดยไม่เจตนา

ซีเอ็นเอ็น ประมวลเรื่องราวข่าวพิพาทใหญ่ในวงการแฟชั่นปีค.ศ.2019 หรือ พ.ศ.2562 ส่งท้ายปลายปี ดังนี้

ชุดประดับเชือกแขวนคอ

เสื้อมีฮูดประดับเชือกพันเกลียวของแบรนด์เบอร์เบอร์รี สั่นสะเทือนรันเวย์ลอนดอน แฟชั่น วีก ตั้งแต่เดือนก.พ. เพราะการมัดเชือกดังกล่าวดูแล้วชวนให้นึกถึงเชือกแขวนคอนักโทษที่เคยเห็นกันในภาพยนตร์

Credit: REX/Shutterstock

ลิซ เคนเนดี นางแบบคนดัง เปิดประเด็นวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนว่า “การฆ่าตัวตายไม่ใช่แฟชั่น” จนแบรนด์ดังถอดเสื้อชุดนี้ออกจากชั้นวางจำหน่ายและออกมาขอโทษ พร้อมกับชี้แจงว่าได้รับแรงบันดาลใจจากธีมการเดินเรือ

สเวตเตอร์ตลกเหยียดผิว

แฟชั่นสุดพังแห่งปี 2019 อลวนการเมือง-ผิดคิว-เหยียด

Credit: Courtesy Gucci

เสื้อสเวตเตอร์สีดำปากแดงของแบรนด์ดังสัญชาติอิตาเลียน ทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังกระหึ่มไปทั่ว เนื่องจากคอเสื้อที่ม้วนพับได้และเมื่อดึงคอเสื้อขึ้นมาจะปิดครึ่งหน้าและเจาะรูเว้นช่วงปากไว้โดยมีรูปปากสีแดงอยู่รอบๆ ทำให้ผู้สวมใส่ดูเหมือน “แบล็กเฟซ” หรือการแสดงตลกที่คนขาวแต่งหน้าดำเหยียดสีผิวในอเมริกา ยุคค.ศ.1830

แฟชั่นสุดพังแห่งปี 2019 อลวนการเมือง-ผิดคิว-เหยียด : ต่างประเทศ

แดปเปอร์ แดน ประกาศกร้าวว่า ตัวเขาเองเป็นคนผิวดำ และไม่มีคำขอโทษหรือคำแก้ตัวใดๆ ออกจากปากดีไซเนอร์ผิวสีคนนี้ แต่ห้องเสื้อกุชชีโพสต์ขอโทษและยืนยันว่า เคารพความหลากหลายและยึดถือหลักการขั้นพื้นฐานในการตัดสินใจก่อนทุกเรื่อง

รองเท้าหน้าดำของเคที เพอร์รี

แฟชั่นสุดพังแห่งปี 2019 อลวนการเมือง-ผิดคิว-เหยียด

Credit: Photo Illustration: Dillard’s / CNN

รองเท้าที่มีลวดลายปากสีแดงและดวงตาสีฟ้าบนพื้นหนังสีดำเป็นชนวนให้เกิดกระแสด้านลบเรื่องการเหยียดผิวเพราะดูเหมือนล้อเลียนทาสผิวดำ แต่หลังจากกระแสต่อต้านออกมาเยอะ เคที เพอร์รี เจ้าของแบรนด์จึงรีบสั่งเก็บสินค้าให้หมดพร้อมทั้งขอโทษที่ไม่ได้ตั้งใจทำให้ใครเจ็บปวด

จูบสะท้านคาลวิน ไคลน์

แฟชั่นสุดพังแห่งปี 2019 อลวนการเมือง-ผิดคิว-เหยียด

Calvin Klein

โฆษณาจากคาลวิน ไคลน์ นางแบบดัง เบลลา ฮาดิด จุมพิตอย่างเนิ่นนานกับ ลิล มิเควลา ซึ่งไม่ได้เป็นมนุษย์ แต่สร้างขึ้นโดยใช้เทคนิคดิจิตอล ให้ดูเหมือนคนจริงๆ และโด่งดังมากในฐานะนักร้อง นักแสดงและแฟชั่นนิสตา ถูกวิจารณ์อย่างแรงว่า คาลวิน ไคลน์ เจตนาใช้ภาพ เลสเบี้ยนกันมาโฆษณาขายเสื้อผ้า ทั้งที่สาวฮาดิดก็ไม่ใช่หญิงรักหญิง งานนี้คาลวิน ไคลน์ รีบออกมาขอโทษผ่านทางทวิตเตอร์และอธิบายว่าใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสารคือการมีเสรีภาพในการแสดงออกของอัตลักษณ์

ฉกคำ ‘กิโมโน’ ตั้งชื่อแบรนด์ชั้นใน

Credit: Kim Kardashian/Twitter

ชุดชั้นในกระชับสัดส่วนแนบเนื้อและสีเหมือนเนื้อจริงๆ ของ คิม ดาร์เดเชียน ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “กิโมโน” ช็อกความรู้สึกชาวญี่ปุ่นอย่างแรงเพราะไม่มีอะไรเหมือนชุดกิโมโนของชาวญี่ปุ่นเสียเลย ผู้ว่ากรุงโตเกียวของญี่ปุ่นเรียกร้องให้คาร์เดเชียนเลิกใช้คำว่า “กิโมโน” เพราะทำให้เสื่อมเสียประวัติศาสตร์อันดีงามของบรรพบุรุษชาวญี่ปุ่น ขณะที่มีกระแสต่อต้านด้วยการติดแฮชแท็ก #KimOhNo ในทวิตเตอร์ ทำให้คิมยอมเปลี่ยนชื่อไลน์ชุดชั้นในเป็น Skims Solutionwear

เซอร์กลายเป็น‘ป่าเถื่อน’

แฟชั่นสุดพังแห่งปี 2019 อลวนการเมือง-ผิดคิว-เหยียด

Credit: Instagram/Dior

จอห์นนี เดปป์ ดาราดังนั่งอยู่ท่ามกลางทะเลทรายทางตะวันตกของรัฐยูทาห์ สหรัฐ มีเสียงเพลง Shawnee ของนักกีตาร์ ลิงก์ เวย์ ขับกล่อม และนักแสดง แคนคู วัน สตาร์ สวมชุดพื้นเมืองชาวอเมริกันเต้นรำ และเมื่อท้องฟ้ามืดมิด มีคำว่า “Sauvage” เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ป่าเถื่อน ปรากฏขึ้นหน้าจอโทรทัศน์ ปัญหาเกิดขึ้นเพราะความไม่เหมาะสมที่นำเสนอภาพชาวพื้นเมืองอเมริกันคู่กับคำว่า Sauvage ในภาษาฝรั่งเศส หรือตรงกับ savage ในภาษาอังกฤษซึ่งมีความหมายเหมือนกัน ทำให้ดิออร์ถอนโฆษณาออกพร้อมกับแสดงความเสียใจ ทั้งที่ตั้งใจเชิดชูเกียรติของชาวอเมริกันพื้นเมือง

รองเท้าผ้าใบรุ่นประท้วง

แฟชั่นสุดพังแห่งปี 2019 อลวนการเมือง-ผิดคิว-เหยียด

Credit: Vans

รองเท้ารุ่นนี้ของแบรนด์แวนส์เหมือนราดน้ำมันลงบนกองไฟ ท่ามกลางความคุกรุ่นของผู้ชุมนุมในฮ่องกง เนื่องจากมีภาพเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทั้งร่มสีเหลือง ผู้ชุมนุมใส่หน้ากากอนามัย หน้ากากกันแก๊สพิษ หมวกนิรภัยและดอกกาหลงแดง สัญลักษณ์ของฮ่องกง ผู้ประท้วงฮ่องกงเหยียดหยามรองเท้ารุ่นนี้มากเพราะแวนส์แสดงให้เห็นว่ายอมก้มหัวให้ ผู้บริโภคชาวจีน ส่วนแวนส์แจงแบบฟังไม่ค่อยขึ้นว่า ไม่เคยใช้เรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้อง

เสื้อยืดแยกดินแดนจีน

แฟชั่นสุดพังแห่งปี 2019 อลวนการเมือง-ผิดคิว-เหยียด : ต่างประเทศ

Weibo

3 แบรนด์ดังถูกกล่าวหาว่าไม่เคารพอธิปไตยจีนเพราะผลิตเสื้อยืดที่มีรายชื่อเมืองหลวงประเทศต่างๆ รวมทั้ง ฮ่องกง และยังมีชื่อ “ไทเป ไต้หวัน” ด้วย เนื่องจากจีนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจีน ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องให้คว่ำบาตรแบรนด์ดัง

ทั้ง 3 แบรนด์ยอมขอโทษในสื่อสังคมออนไลน์ของจีน และอินสตาแกรมส่วนตัวต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

ตัวย่อต่างหูผิดคิว

แฟชั่นสุดพังแห่งปี 2019 อลวนการเมือง-ผิดคิว-เหยียด

Credit: H&M

แบรนด์ H&M จับมือกับดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียน ฌัมบาติสตา วาลลี ออกแบบแฟชั่นที่มีสโลแกน I love GBV แม้ว่าตัวอักษร GBV เป็นตัวย่อของชื่อจริงดีไซเนอร์ แต่ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ย่อจากคำว่า “gender-based violence” หรือ “ความรุนแรงต่อผู้หญิง” ได้เช่นกัน แม้องค์กรสิทธิมนุษยชนอย่างฮิวแมน ไรต์ วอตช์ ออกมาตำหนิว่า ไม่เคารพสิทธิสตรี แต่สินค้ายังคงวางขายต่อไป

เสื้อรูกระสุนกราดยิง

ปิดท้ายด้วย เสื้อสเวตเตอร์ในงานนิวยอร์ก แฟชั่น วีก จากแบรนด์ Bstroy สะเทือนใจชาวอเมริกันมาก เพราะมีคำว่า “สโตนแมน ดักลาส” “แซนดี ฮุก” “เวอร์จิเนียร์ เทค” และ “โคลัมไบน์” ชื่อโรงเรียนและวิทยาลัยที่เกิดเหตุกราดยิงสะเทือนขวัญที่สุดของสหรัฐเมื่อ 20 ปีก่อน อยู่บนหน้าอกและมีรูตามตัวเสื้อ ยิ่งทำให้นึกถึงรูกระสุนปืน

Credit: From Instagram bstroy.us

ทำให้ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ประณามและรังเกียจเสื้อที่ไร้รสนิยมแบบนี้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน