เปิดผลจัดอันดับเมืองอากาศแย่สุดในโลกซีเอ็นเอ็น รายงานผลการจัดอันดับคุณภาพอากาศโลกปี 2562 จัดโดย IQAir AirVisual ปรากฏว่าอินเดียครองแชมป์มีจำนวน เมืองที่อากาศแย่มากที่สุดในโลก กวาดไปถึง 21 แห่งจาก 30 อันดับทั่วโลก และมี 6 เมืองครองอันดับต้นๆ ของโลก เมื่อเทียบกับหลายๆ เมืองในจีน ปรับปรุงคุณภาพอากาศดีขึ้น

เมืองที่อากาศแย่ที่สุดในโลก คือ กาซิอาบาด ทางตอนเหนือของรัฐอุตตรประเทศ วัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน2.5ไมครอน หรือ พีเอ็ม 2.5 ทะลุระดับ 110.2 มากกว่าค่ามาตรฐานที่สำนักคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ กำหนดไว้ 9 เท่า

เมืองกาซิอาบาด / hindustantimes.com/

กรุงนิวเดลีของอินเดียวัดดัชนีคุณภาพอากาศหรือ เอคิวไอ เกินระดับ 800 ซึ่งเกินระดับ “อันตราย” 3 เท่า
องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่ามลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้คนประมาณ 7 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากอากาศพิษส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ มะเร็งและโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ

เมืองส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 วัดค่ามลพิษเกินกว่าระดับคุณภาพอากาศที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ซึ่งประเทศเหล่านี้มักเป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

เอเชียใต้ เป็นทวีปที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเมืองต่างๆ ที่มีอากาศย่ำแย่ 27 แห่งจาก 30 แห่งอยู่ในอินเดีย ปากีสถานหรือบังกลาเทศ เฉพาะปากีสถาน มี 3 เมือง ที่ติดโผ 10 อันดับแรกเมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดในโลก

กรุงละฮอร์ ปากีสถาน

ส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เร่งพัฒนาความเป็นเมืองอุตสาหกรรม ทำให้เกิดมลพิษและปล่อยพีเอ็ม 2.5 จำนวนมาก เป็นครั้งแรกที่เมืองของอาเซียน ได้แก่ กรุงจาการ์ตาในอินโดนีเซียและกรุงฮานอย เวียดนามแซงหน้า กรุงปักกิ่งของจีน ติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดในโลก

เมื่อจัดอันดับตามประเทศ อินโดนีเซีย รั้งอันดับ 6 จีนอันดับ 11 และเวียดนาม อันดับ 15 ขณะที่ไทยอยู่อันดับ 28 จากการสำรวจ 98 ประเทศ

CAKARTA, INDONESIA – SEPTEMBER 09: A general view of the Indonesian capital city of Jakarta as the smog covers the city on July 9, 2019. (Photo by Mahmut Atanur/Anadolu Agency via Getty Images)

แม้จีนมีการปรับปรุงแก้ไขในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้มลพิษในปี 2562 ลดลงร้อยละ 9 จากปี 2561 ลดค่าพีเอ็ม 2.5 มากกว่าครึ่งจากเมื่อ 10 กว่าปีก่อน แต่เมืองส่วนใหญ่ ร้อยละ 98 ในจีนยังมีค่ามลพิษสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ทำให้เมือง 47 แห่งของจีนติดอันดับ 100 เมืองแรกที่คุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก

มลพิษทางอากาศ

Reuters
มลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครเข้าขั้นวิกฤตเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว

รายงานดังกล่าวระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพอากาศ เช่น ทำให้เกิดสภาพการเป็นทะเลทราย เกิดไฟป่าและพายุทรายบ่อยครั้ง และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อากาศสกปรก

หลายประเทศยังต้องพึ่งพาพลังงานจากถ่านหิน เป็นต้นตอทำให้เกิดพีเอ็ม 2.5 รวมทั้ง จีนที่เป็นผู้ผลิตและบริโภคถ่านหินมากที่สุดในโลก

BEIJING, CHINA – JANUARY 23: A tourist and her daughter wearing the masks visit the Tiananmen Square at dangerous levels of air pollution on January 23, 2013 in Beijing. (Photo by Feng Li/Getty Images)

ยานน์ โบควิลลอด ผอ. IQAir มองในแง่ดีว่าประชาชนเริ่มตระหนักถึงภัยของมลพิษมากกว่าภาครัฐเสียอีก เช่น พลเมืองในกรุงฮานอย ที่ใส่ใจดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศทำให้รัฐบาลหันมาพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่วนชาวจาการ์ตาลุกขึ้นมาฟ้องรรัฐบาลที่ทำให้อากาศเสีย

สำหรับอินเดีย แชมป์อากาศแย่ เริ่มโครงการทำความสะอาดอากาศเป็นครั้งแรก ตั้งเป้าลดค่าพีเอ็ม 2.5 และพีเอ็ม 10 ในเมืองต่างๆ 102 แห่ง ให้ได้ร้อยละ 20-30 ภายในปี 2567 เมื่อเทียบกับคุณภาพอากาศในปี 2560

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน