ญี่ปุ่นคว้าน้ำเหลว ขอให้สื่อเขียนนามสกุลนำหน้าชื่อ – ไม่มีใครเปลี่ยน!

ญี่ปุ่นคว้าน้ำเหลวซีเอ็นเอ็น รายงานว่า ความพยายามของรัฐบาลญี่ปุ่นที่จะเปลี่ยนวิธีการเขียนให้นามสกุล ขึ้นนำก่อนชื่อ กลับไม่เป็นผล ทุกวันนี้สื่อทั้งญี่ปุ่นและอินเตอร์ยังคงเรียกและเขียนชื่อชาวญี่ปุ่นแบบชาวตะวันตกเหมือนเดิม คือ ชื่อ มาก่อนนามสกุล

ญี่ปุ่นเคยเขียนชื่อแบบเดียวกันกับจีนและเกาหลี ที่ใช้แซ่หรือนามสกุลขึ้นนำก่อน เช่น สี จิ้นผิง คิม จองอึน หรือ มุน แจ-อิน ต่อมายุคเมจิ เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2411 จึงเริ่มเปลี่ยนมาเขียนตามแบบตะวันตก เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกับภาษาอังกฤษ

คิม จองอึน และ สี จิ้นผิง ต่างใช้ แซ่ หรือ นามสกุล ขึ้นก่อนชื่อตนเอง

กระทั่งเมื่อถึงยุคเรวะ เมื่อปี 2562 กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นอยากจะเปลี่ยนให้เป็นแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม คือ นามสกุลก่อน แล้วจึงเป็นชื่อ รัฐบาลเริ่มใช้ในเอกสารราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2563 เขียนชื่อนายกรัฐมนตรีว่า “อาเบะ ชินโซ” และขอให้สื่อเขียนแบบเดียวกัน แต่ไม่ได้บังคับ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสื่อแต่ละสำนัก

ญี่ปุ่นคว้าน้ำเหลว

คำบรรยายภาพของสำนักข่าวรอยเตอร์เขียนชื่อนายกฯ ญี่ปุ่นแบบตะวันตก ว่า Japan’s Prime Minister Shinzo Abe speaks during a news conference on Japan’s response to the coronavirus outbreak at his official residence in Tokyo, Japan March 14, 2020. REUTERS/Issei Kato

ปรากฏว่าสื่อส่วนใหญ่ยังเขียนตามแบบภาษาอังกฤษ คือ ชินโซ อาเบะ เพื่อไม่ให้คนอ่านหรือคนดูข่าวสับสน และอาจเกิดปัญหาเวลาที่ค้นหาคำในเว็บไซต์เสิร์ชเอ็นจินต่างๆ ขณะที่สื่อท้องถิ่นภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ยังเขียนว่า “ชินโซ อาเบะ” อยู่เช่นเดียวกัน

NHK ก็ยังเขียนชื่อท่านนายกฯ ตามแบบภาษาอังกฤษ

สำนักข่าวใหญ่ระดับโลกอย่าง เอพี และรอยเตอร์ รวมทั้ง สื่อดังของอังกฤษ อย่าง เดอะ การ์เดียน ไม่มีแผนเปลี่ยนวิธีการเขียนชื่อชาวญี่ปุ่น เพราะการเขียนแบบเดิมเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางและคุ้นตาผู้อ่านอยู่แล้ว

เช่นเดียวกับ การแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงโตเกียว ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการประกาศเลื่อนจัดมหกรรมออกไป เพราะผลกระทบโควิด-19 สื่อภาษาอังกฤษยังคงใช้การเขียนชื่อว่า “ชินโซ อาเบะ” เหมือนเดิม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน