ไวรัสผสมกัน นิ่ม+ค้างคาว ผลศึกษาต้นตอโควิด-19 เล็งที่กรดอะมิโน

ไวรัสผสมกัน – ซินหัว รายงาน ผลการศึกษาจากคณะนักวิจัยของจีนที่ดำเนินการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมเชิงเปรียบเทียบ พบความเป็นไปได้ว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อาจมีต้นกำเนิดจากการผสมกันของไวรัสในตัวนิ่มและไวรัสในค้างคาว

ผลการศึกษาดังกล่าวก่อนการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ (Nature) เมื่อ 7 พ.ค. เป็นผลงานของคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เซาท์ไชน่า (SCAU) และห้องปฏิบัติการเพื่อการเกษตรสมัยใหม่หลิ่งหนาน กว่างตง

ไวรัสผสมกัน

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่ก่อให้เกิดการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน มีลำดับทางพันธุกรรมเหมือนกับไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคซาร์ส (SARS) ในปี 2546 ซึ่งมีต้นกำเนิดในสัตว์ และไวรัสโคโรนาในค้างคาว (RaTG13)

ขณะเดียวกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งคัดแยกมาจากตัวนิ่มในมาเลเซีย มีกรดอะมิโนเหมือนกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในยีนอี เอ็ม เอ็น และเอส (E, M, N และ S) ระดับร้อยละ 100, 98.6, 97.8 และ 90.7 ตามลำดับ

โควิด:WHOเตือน

Xinhua

ตำแหน่งตัวรับยึดเกาะ (receptor-binding domain) ภายในโปรตีนเอส (S protein) ของไวรัสโคโรนาในตัวนิ่ม มีลักษณะเหมือนกับของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แตกต่างกันตรงกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นตัวเดียวเท่านั้น

ไวรัสผสมกัน

Xinhua

ผลการศึกษาเสริมว่าไวรัสโคโรนาในตัวนิ่มถูกตรวจจับได้ในตัวนิ่มมาเลเซีย 17 ตัวจากทั้งหมด 25 ตัว ที่คณะนักวิทยาศาสตร์นำมาดำเนินการวิเคราะห์

การคัดแยกไวรัสโคโรนาที่มีความเกี่ยวพันกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างมากในตัวนิ่ม บ่งชี้ว่าตัวนิ่มอาจมีศักยภาพเป็นโฮสต์ตัวกลาง (intermediate host) ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

…………….

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ไวรัสโคโรนา : เชื้อโรคโควิด-19 อาจเป็น “ไคมีรา” มีพันธุกรรมไวรัสสองชนิดรวมกัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน