ปลาเรนโบว์เทราต์ รอดแน่ เพาะสเต็มเซลล์ จากตัวเดียวได้1,700 ตัว

ปลาเรนโบว์เทราต์เกียวโด รายงานว่า มหาวิทยาลัยโตเกียวแห่งวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี หรือ TUMSAT ของญี่ปุ่น ประสบความสำเร้จในการขยายพันธุ์ปลาเรนโบว์เทราต์ หรือปลาเทราต์สายรุ้ง จากเซลล์ต้นกำเนิดถ่ายทอดสารพันธุกรรม (germline stem cells) หรือ GSC ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่ออนุรักษ์ปลาที่ใกล้สูญพันธุ์

วารสารการสื่อสารชีววิทยารายงานว่า TUMSAT เพาะปลาเรนโบว์เทราต์ได้ประมาณ 1,700 ตัว หลังผลิตอสุจิและไข่ด้วยวิธี GSC จากปลาตัวผู้ตัวเดียว

ปลาเรนโบว์เทราต์

โกโระ โยชิซากิ ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและทรัพยากร หัวหน้าคณะนักวิจัย กล่าวว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้ น่าจะใช้วิธีเดียวกันนี้เพาะพันธุ์ปลาในวงศ์แซลมอนได้เหมือนกับปลาเรนโบว์เทราต์ และตั้งเป้าว่าจะนำวิธีนี้ไปเพาะพันธุ์ปลาทูน่าครีบน้ำเงินภายใน 5 ปี

คณะวิจัยประสบความสำเร็จในการใช้อสุจิและไข่จาก GSC ของปลาเรนโบเทร้าท์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่ต้องจับปลาตัวแล้วตัวเล่ามาทำวิธี GSC อีกต่อไป

ปลาเรนโบว์เทราต์

การเพาะพันธุ์ด้วยวิธี GSC ใช้ ชั้นให้อาหาร (feeder layer) คือกลุ่มเซลล์ที่นำมาใช้เพาะเลี้ยงร่วมกับเซลล์ต้นตอเพื่อช่วยรักษาคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์จำเพาะชนิดใดก็ได้ จากเซอร์ทอร์ไล เซลล์ (sertoli cell) (เป็นเซลล์ที่ผลิตสารหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ) ที่เป็นอาหารเลี้ยงดู GSC ที่อยู่ภายในอัณฑะและเพาะตัวกลางที่มีพลาสมาของปลาเทราต์

จากนั้น เพาะ GSC ในจานเพาะเชื้อเป็นเวลา 28 วัน ในสภาวะที่เสถียร ก่อนที่จะปลูกถ่ายให้กับปลาเรนโบว์เทราต์ตัวผู้และตัวเมีย

เมื่ออสุจิและไข่ผสมกันสำเร็จ หลังจากใช้เวลา 2 ปี และการผสมพันธุ์ยังเป็นการสืบพันธุ์ตามปกติและออกลูกที่แข็งแรง ส่วนปลาเรนโบว์เทราต์ตัวเมียที่ได้รับการปลูกถ่าย GSC ออกไข่ตัวละประมาณ 2,500 ฟอง ผสมกับเซลล์อสุจิ 12,000 ตัวที่ได้จากปลาตัวผู้แต่ละตัว

การผสมพันธุ์ภายนอกประสบความสำเร็จร้อยละ 90 และวางไข่ร้อยละ 70

ก่อนหน้านี้ คณะวิจัยประสบความสำเร็จจากการเพาะพันธุ์ปลาแซลมอนมาซู หรือ ปลาแซลมอนจุดแดงมาแล้ว ขณะนี้ นักวิจัยกำลังศึกษาการนำปลาแมกเคอเรลมาเพาะปลาทูน่าครีบน้ำเงินที่มีราคาสูงเพราะแมกเคอเรลตัวเล็กกว่า โตเร็วกว่าและราคาต่ำกว่า

คณะนักวิจัยกล่าวว่าหากความคิดนี้ได้ผลก็อาจจะไม่มีการบริโภคปลาทูน่าครีบน้ำเงิน พร้อมกับเสริมว่าการแช่แข็ง GSC จะช่วยอนุรักษ์สปีชีส์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้

ด้านโยชิฟูมะ ซาวาดะ แห่งสถาบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากมหาวิทยาลัยคินได กล่าวว่าเป็นการประสบความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญเพื่อเปิดทางสู่การเพาะพันธุ์ปลาจำนวนมากด้วยการสังเคราะห์ไข่และอสุจิปลา

นอกจากนี้ ยังเป็นทางเลือกอื่น นอกจากการอนุรักษ์ตามธรรมชาติและฤดูปิดทะเลเพื่ออนุรักษ์ปลาใกล้สูญพันธุ์ อีกทั้ง อาจเป็นการเพาะสปีชีส์ปลาที่เลี้ยงดูยากในช่วงโตเต็มวัย

///////////

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน