แนะใช้แสงยูวีในอาคาร นักวิจัยอังกฤษชี้ลดการแพร่กระจายโควิด-19

แนะใช้แสงยูวีในอาคาร – ซินหัว รายงานผลการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีอิสราเอลเหนือ (Technion) ว่าทีมวิจัยนานาชาติแนะนำให้ใช้แสงอัลตราไวโอเลต (UV) ภายในอาคารเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ซึ่งก่อโรคโควิด-19

ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบทความการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารเอซีเอส นาโน (ACS Nano) เขียนโดยนักวิจัยจากสถาบันซึ่งสังกัดมหาวิทยาลัยเซาธ์แฮมตัน (University of Southampton) ที่สหราชอาณาจักร และสถาบันอีก 3 แห่ง ในสเปน

แนะใช้แสงยูวีในอาคาร

Xinhua

สถาบันเผยว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าวตรงตามโจทย์การใช้งานแบบรวดเร็ว ปรับขนาดได้ และประหยัด เพื่อตอบสนองความจำเป็นในการฆ่าเชื้อในพื้นที่ทำงาน อาทิ สำนักงาน โรงเรียน สถานพยาบาล และพื้นที่บริการขนส่งสาธารณะ

การศึกษาชี้ว่าการแพร่กระจายของไวรัสภายในอาคารมีอัตราที่สูงกว่ากลางแจ้งมาก แต่วิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้โดยใช้ตัวกรองและสารเคมีอาจมีค่าใช้จ่ายสูงและเปลืองเวลา อีกทั้งสารเคมีบางชนิดที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัส อาทิ โอโซน อาจเป็นอันตรายได้หากใช้ผิดวิธี

แนะใช้แสงยูวีในอาคาร

A police officer wearing a protective mask observes a classroom at a secondary school, as schools reopen amid the coronavirus disease (COVID-19) outbreak, in Shah Alam, Malaysia June 24, 2020. REUTERS/Lim Huey Teng

เพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ ทีมวิจัยนานาชาติซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา ศาสตร์เกี่ยวกับละอองลอย สถาปัตยกรรม และฟิสิกส์ ได้ร่วมกันศึกษาวิธีการต่างๆ ที่ใช้ป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสภายในตัวอาคาร

ทั้งนี้ ทีมงานจึงศึกษาแหล่งที่มาของรังสีอัลตราไวโอเลตซี (UVC) ที่มีความยาวคลื่นสั้น (อยู่ในช่วง 100-280 นาโนเมตร) เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หลอดพลาสมาช่องว่างขนาดเล็กเท่าความยาวคลื่น (microcavity plasmas) และหลอดแอลอีดี (LED)

แนะใช้แสงยูวีในอาคาร

NEW YORK, NY – JUNE 22: A person walks through an office building lobby on June 22, 2020 in the Midtown neighborhood in New York City. Stephanie Keith/Getty Images/AFP

ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่าการติดตั้งแสงประเภทดังกล่าวภายในระบบระบายอากาศของอาคารและพื้นที่ภายในอาคารที่ใช้งานร่วมกัน มีส่วนช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของทั้งไวรัสที่แพร่ทางอากาศและที่ตกค้างอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ

“วิธีนี้มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะ ใช้งานได้ง่าย และประหยัด” นักวิจัยระบุ

นอกจากนั้นทีมวิจัยยังศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการใช้เทคโนโลยีข้างต้น และได้ข้อสรุปว่าการลงทุนระดับโลกกับแหล่งยูวีซีเพียงไม่กี่พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น สามารถปกป้องบรรดาคนทำงานภายในอาคารได้มากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน