สิ้น “หลี่ เติงฮุย” – วันที่ 31 ก.ค. เอเอฟพี รายงานว่า นายหลี่ เติงฮุย อดีตประธานาธิบดีไต้หวัน เจ้าของฉายา “บิดาประชาธิปไตย” ถึงแก่อสัญกรรมด้วยอายุ 97 ปี เมื่อวันที่ 30 ก.ค. หลังเกิดภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ และอวัยวะล้มเหลว นับตั้งแต่สำลักอาหารและนอนโรงพยาบาลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ อีกทั้ง มีประวัติป่วยเรื้อรังไม่กี่ปีที่ผ่านมา

EPA

น.ส.ไช่ อิงเหวิน ผู้นำไต้หวัน กล่าวถึงนายลีผู้ล่วงลับเป็นความสูญเสียใหญ่หลวงต่อไต้หวันและไม่มีอะไรทดแทนได้ ขณะที่ นายไมก์ พอมเพโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ แสดงความเสียใจว่า รัฐบาลวอชิงตันยังเสริมสร้างความสัมพันธ์และประชาธิปไตยมีชีวิตชีวาของไต้หวัน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจีนแผ่นดินใหญ่ น.ส.จู เฟิ่งเหลียง โฆษกสำนักกิจการไต้หวันแห่งจีน กล่าวว่า เอกราชไต้หวันถึงจุดจบแล้ว แนวโน้มประวัติศาสตร์ของการรวมชาติไม่มีใครหรือกองกำลังใดสามารถหยุดยั้งได้

นอกจากนี้ โกลเบิลไทมส์ หนังสือพิมพ์ชาตินิยมของทางการจีน รายงานว่า นายลีเป็น “เจ้าพ่อแห่งการแบ่งแยกดินแดน” การเสียชีวิตของนายลีไม่ใช่จึงข่าวน่าเศร้าต่อคนจีนแผ่นดินใหญ่ส่วนมาก

(FILES) In this file photo taken on August 29, 1997, Taiwanese President Lee Teng-hui toasts to ruling Kuomintang’s representives during lunch after the closing ceremony of the 15th party congress in Taipei. (AFP)

ทั้งนี้ นายลีเกิดเมื่อปี 2446 บนเกาะไต้หวัน และเดินทางไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น ซึ่งปกครองไต้หวันเป็นอาณานิคม ก่อนส่งไต้หวันคืนจีนภายใต้รัฐบาล จอมพลเจียง ไคเชก ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง เมื่อปี 2488

แต่อีก 4 ปีต่อมา จอมพลเจียงพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองกับกองกำลังคอมมิวนิสต์ จึงหนีไปจัดตั้งรัฐบาลไต้หวัน และปกครองเกาะแห่งนี้ด้วย ความน่าสะพรึงสีขาว ปราบปรามผู้เห็นต่างการเมือง กระทั่งจอมพลเจียงถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี 2518

นายลีได้รับการแนะนำและความวางใจจาก นายเจียง จิงกั๋ว บุตรจอมพลเจียง ประธานาธิบดีคนที่สามของไต้หวัน และเมื่อนายเจียงถึงแก่อสัญกรรม นายลีซึ่งเป็นรองประธานาธิบดีในเวลานั้น ได้รับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีเมื่อปี 2531 และดำรงตำแหน่ง 3 สมัย จนถึงปี 2543

(FILES) In this file photo taken on July 22, 2015, former Taiwan president Lee Teng-hui (C) gestures after he delivered a speech to Japanese legislators at the Diet members’ office building in Tokyo. (AFP)

นายลี สังกัดพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นประธานาธิบดีไต้หวันคนแรกที่เกิดบนเกาะไต้หวัน เป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสันติภาพไต้หวันจากเผด็จการสู่ประชาธิปไตยเต็มใบ ผลงานรัฐบาลคือการปฏิรูปการเมืองเป็นวงกว้าง รวมถึงการเลือกตั้งสภาใหม่ และ การเลือกตั้งประธานาธิบดีทางตรง ครั้งแรก

นายลีได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในสมัยที่สองเมื่อปี 2539 เป็นประธานาธิบดีไต้หวันคนแรกที่มาจากประชาชน ด้วยชัยชนะถล่มทลาย แม้จะถูกจีนแผ่นดินใหญ่ข่มขู่ยิงขีปนาวุธร่อนตกลงช่องแคบไต้หวัน หวังไม่ให้ประชาชนลงคะแนนให้นายลี จนสหรัฐต้องส่งเรือรบเข้ามาประจำการไต้หวัน

ระหว่างดำรงตำแหน่ง นายลีโน้มน้าวไม่ให้บริษัทไต้หวันขยายการลงทุนในจีน เพื่อแยกอัตลักษณ์วัฒนธรรมจากจีนแผ่นดินใหญ่ และถูกตีตราเป็น คนบาป และ ผู้แบ่งแยก

(FILES) In this file photo taken on January 13, 2012, former Taiwan president and former chairman of the Kuomintang Party (KMT) Lee Teng-hui (L) waves to supporters of Taiwan’s main opposition Democratic Progressive Party (DPP) presidential candidate Tsai Ing-wen during a rally in the Banciao District of New Taipei City. (AFP)

นายลีพ่ายแพ้ให้ นายเฉิน ฉุ่ยเปี่ยน สังกัดพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า เมื่อปี 2543 ถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของพรรคก๊กมินตั๋ง หลังลงจากตำแหน่ง นายลีแสดงจุดยืนประกาศเอกชนไต้หวันอย่างเป็นทางการ และช่วยเหลือ สหภาพรวมพลังไต้หวัน ซึ่งสนับสนุนการแยกตัวจากจีนแผ่นดินใหญ่ จนถูกขับออกจากพรรคก๊กมินตั๋ง

ต่อมา นายหม่า อิงจิ่ว สังกัดพรรคก๊กมินตั๋ง เข้ามาเป็นประธานาธิบดีไต้หวัน ต่อจาก นายเฉิน เมื่อปี 2551 มีท่าทีประนีประนอมกับจีนแผ่นดินใหญ่ ตกเป็นเป้าวิจารณ์ของนายลีถึงนโยบายเป็นมิตรกับปักกิ่ง

นายลีถูกฟ้องในคดีทุจริตเมื่อปี 2554 แต่ถูกตัดสินพ้นผิดในเวลาต่อมา และกล่าวหารัฐบาลของนายหม่ายัดข้อหาหวังดำเนินคดีกับตน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน