ชาวโคลัมเบียประท้วงการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ ปัญหาเศรษฐกิจ และเรียกร้องให้หยุดโศกนาฎกรรมการลักพาตัวผู้หญิงไปค้าประเวณีพ่วงฆาตกรรมเกินร้อยคนทุกเดือน

Reuters

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2563 สำนักข่าว อัลจาซีรา รายงานว่า มีการรวมตัวกันของสมาชิกสหภาพแรงงาน ครู นักเรียนนักศึกษา และชนพื้นเมือง โดยเป็นการประท้วงระดับชาติในโคลัมเบีย เพื่อประท้วงต่อนโยบายสังคมและเศรษฐกิจของ อิบัน ดูเก มาร์เกซ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโคลัมเบียที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและการใช้ความรุนแรงของตำรวจต่อประชาชน

การประท้วงมีมาก่อนหน้านี้แล้วประปรายตั้งแต่ปี 2562 ทั้งในเดือนกันยายนที่ผ่านมาการชุมนุมเดินขบวนต่อต้านความโหดร้ายของตำรวจ กลับทำให้มีประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมเสียชีวิต 13 ราย

Columbia reports

รัฐบาลเตือนประชาชนว่าการชุมนุมจะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยโคลัมเบีย เป็นประเทศที่มีการล็อกดาวน์ประเทศมากกว่า 5 เดือน และมีการรายงานผู้ติดเชื้อหลักหนึ่งล้านคนในสัปดาห์นี้ แต่ผู้นำการประท้วงของชนพื้นเมืองกล่าวว่า “เราไม่มีหนทางอื่นแล้วนอกจากการสู้ต่อไป”

กลุ่มผู้ชุมนุมได้เรียกร้องต่อรัฐบาลในหลากหลายปัญหา เช่น ปัญหาการเยียวยาผู้สูญเสียงานเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเรียกร้องต่อปัญหาการกีดกันชนพื้นเมือง การสังหารนักสิทธิมนุษยชน การลงทุนในสาธารณสุขและการศึกษา และการหยุดปัญหาโศกนาฎกรรมในเพศหญิง

AFP

ปัญหาฆาตกรรมเพศหญิงเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วทวีปอเมริกาใต้ (ละตินอเมริกา) ผู้หญิงทุกวัยไม่เว้นแม้แต่เด็กอนุบาล โดยเพศหญิงถูกลักพาตัวไปขายบริการทางเพศ บังคับใช้สารเสพติด เมื่อหมดสภาพที่จะค้าประเวณีได้แล้วจึงถูกทำการฆาตกรรม

ขบวนการดังกล่าวมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการให้ความร่วมมือในขบวนการจากทั้ง ตำรวจ โรงเรียน และ รถโดยสารแท็กซี่ โดยได้รับค่าจ้างจากการร่วมมือ 1 หมื่นเปโซโคลัมเบีย (ประมาณ 81.75 บาท)

Vice

ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานในสังคมละตินอเมริกา ในทุก ๆ เดือน มีผู้หญิงที่ถูกฆาตกรรมจากขบวนการมากกว่า 100 คน และมีแนวโน้มจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่มีการล็อกดาวน์ แต่มีเพียงน้อยครั้งเท่านั้นที่จะมีการสืบสวนคดีในลักษณะนี้ต่อ แทบไม่เคยมีใครได้รับความเป็นธรรม

หลายครั้งผู้ประท้วงต้องออกมาชูป้ายชื่อผู้เสียชีวิตและจัดกิจกรรมรำลึกถึงผู้เสียชีวิต เช่นการนำรองเท้าของผู้เสียชีวิตมาทาสีแดงและวางไว้ที่จัตุรัสกลางเมือง เป็นต้น เพราะตำรวจและสื่อไม่ได้ให้ความสนใจกับปัญหาเพราะเห็นปัญหาว่าดังกล่าวเป็นเรื่องปกติของสังคม โดยกลุ่มผู้เรียกร้องในละตินอเมริการ่วมกันติดแฮชแท็ก #NiUnaMenos เพื่อให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

European Data Journalism Network

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน