ไซบีเรียนไทม์ รายงานปรากฏการณ์ หมีกินกันเอง ที่หมีสีน้ำตาลตัวใหญ่ยืนเหนือซากลูกหมีที่ถูกขย้ำเป็นเหยื่อ ริมทะเลสาบภูเขาไฟคูริลสโกเย บนแหลมคัมชัตคา ทางตะวันออกไกลของรัสเซีย ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า หมีหลายตัวฆ่ากินพวกเดียวกันเองเป็นเรื่องปกติมากขึ้นช่วงหลังนี้ เนื่องด้วยภาวะขาดแคลนแซลมอน

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟคูริลสโกเยเป็นที่อยู่อาศัยหมีสีน้ำตาลที่ได้รับการคุ้มครองในยุโรปและมีประชากรหมีสีน้ำตาลมากสุดในเอเชียราว 800 ตัว ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

ลีอานา วารัฟสกายา ผู้ตรวจสอบสัตว์ป่า โพสต์วิดีโอบันทึกจากเรือแล่นผ่าน กล่าวว่า หมีมีท่าทีห่วงเหยื่อเมื่อเห็นมนุษย์เข้าไปใกล้ วิดีโอแบบนี้จึงสามารถบันทึกได้จากเรือเท่านั้น นอกจากนี้ วิดีโออีกอันเผยหมีสองตัวต่อสู้เพื่อกินกันเองในทะเลสาบดังกล่าว

“หมีสีน้ำตาลตัวใหญ่เพศผู้ก้าวร้าวกับตัวอื่น สิ่งเดียวที่คุณคาดหวังได้จากพวกมันคือการต่อสู้ และลูกหมีจะตกเป็นอาหาร ปรากฏการณ์หมีกินกันเองกำลังเพิ่มขึ้น” วารัฟสกายาระบุ

Two female bears fight for fish at the Kurilskoye Lake / Liana Varavskaya

หมีสีน้ำตาลปกติจะอยู่ดีกินดี ด้วยแซลมอนชุกชุมในทะเลสาบ และกินเฉพาะ คาร์เวียร์ หรือไข่ปลาจากแซลมอนที่หลงเหลือและเน่าเปื่อย

แต่รายงานของปีนี้สะท้อนภาพแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องด้วยหมีตัวใหญ่ล่าลูกหมีช่วงหลายสัปดาห์นี้ หลังพยายามออกหาแซลมอนมาหลายสัปดาห์แล้ว เป็นปัญหาในหมู่ประชากรหมีสีน้ำตาลด้วยกันมาหลายปี ส่วนแซลมอนแดง อาหารโอชะของหมีสีน้ำตาล ที่มีจำนวนน้อย อพยพมาจากทะเลโอคอตสค์

Liana Varavskaya

อย่างไรก็ตาม หมีสีน้ำตาลไม่ค่อยขึ้นชื่อเรื่องการกินกันเองเท่ากับ หมีขั้วโลก หรือหมีขาว แถบอาร์กติก ซึ่ง วลาดีมีร์ โซโคลอฟ นักวิทยาศาสตร์รัสเซีย ตั้งข้อสังเกต หันมาสนใจกินหมีขั้วโลกด้วยกันมากขึ้น เนื่องจากน้ำแข็งละลายและการสกัดเชื้อเพลิงฟอสซิลไปทำลายถิ่นอาศัยของมัน

Brown bears fishing by the Kurilskoye Lake / Liana Varavskaya

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน